ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้คุณค่าตราสินค้าสุดยอดผลิตภัณฑ์โอทอป (OPC) กับการตัดสินใจซื้อของนักท่องเที่ยวไทย ในจังหวัดพิษณุโลก
คำสำคัญ:
คุณค่าตราสินค้า, สินค้าสุดยอดหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์, การตัดสินใจซื้อบทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อเปรียบเทียบการรับรู้คุณค่าตราสินค้าสุดยอดผลิตภัณฑ์โอทอป (OPC) ของจังหวัดพิษณุโลกของนักท่องเที่ยวไทยเพศชายและเพศหญิงที่เดินทางมาจังหวัดพิษณุโลก 2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของการรับรู้คุณค่าตราสินค้าสุดยอดผลิตภัณฑ์ โอทอป (OPC) ของจังหวัดพิษณุโลก ซึ่งได้แก่ การรู้จักตราสินค้า การรับรู้คุณภาพ ตราสินค้า ความเชื่อมโยงตราสินค้า และความภักดีต่อตราสินค้ากับการตัดสินใจซื้อของนักท่องเที่ยวไทยที่เดินทางมาจังหวัดพิษณุโลก โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูลจากนักท่องเที่ยวไทยที่ซื้อ สุดยอดผลิตภัณฑ์โอทอป (OPC) ของจังหวัดพิษณุโลกจำนวน 385 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ สถิติพรรณนา ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติอ้างอิงที่ใช้ในการทดสอบสมมติฐาน ได้แก่ การวิเคราะห์ความแตกต่างของค่าเฉลี่ยที่เป็นอิสระต่อกัน (Independent t-test) และการวิเคราะห์สหสัมพันธ์ (Correlation) ผลการวิจัยพบว่า 1) นักท่องเที่ยวไทยเพศชายและเพศหญิงมีการรับรู้คุณค่าตราสินค้าสุดยอดผลิตภัณฑ์โอทอป (OPC) ของจังหวัดพิษณุโลกไม่แตกต่างกัน และ 2) การรู้จักตราสินค้า และความภักดีต่อตราสินค้าสุดยอดผลิตภัณฑ์โอทอป (OPC) ของจังหวัดพิษณุโลกกับการตัดสินใจซื้อของนักท่องเที่ยวไทยที่เดินทางมาจังหวัดพิษณุโลกมีความสัมพันธ์กันในระดับปานกลางสูง โดยมีค่า Pearson Correlation เท่ากับ 0.492 และ 0.415 ตามลำดับ และการรับรู้คุณภาพตราสินค้า และความเชื่อมโยงตราสินค้าสุดยอดผลิตภัณฑ์โอทอป (OPC) ของจังหวัดพิษณุโลกกับการตัดสินใจซื้อของนักท่องเที่ยวไทยที่เดินทางมาจังหวัดพิษณุโลกมีความสัมพันธ์ในระดับปานกลางต่ำ โดยมีค่า Pearson Correlation เท่ากับ 0.274 และ 0.253 ตามลำดับ
References
กรมการพัฒนา กระทรวงมหาดไทย. (2545). การดำเนินงานหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์. กรุงเทพฯ: บพิธการพิมพ์.
ชินวุฒิ สุขอ้วน. (2555). การเปรียบเทียบความเชื่อมโยงต่อตราสินค้าผลิตภัณฑ์ที่มาจากเนื้อสัตว์ของผู้บริโภค. ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการตลาด. มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ไทยตำบลดอดคอม. (2559). สินค้าโอทอป 5 ดาว. สืบค้นเมื่อ 15 กันยายน 2559,http://www.thaitambon.com
นพปฎล เอกผักนาก. (2552). ปัจจัยและการตัดสินใจซื้อของลูกค้าที่มีต่อการบริหารจัดการมีดอรัญญิกโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์. ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการทั่วไป. มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.
ปราถนา รุกขชาติ. (2559). ภาพลักษณ์ตราสินค้า OTOP และการสร้างตราสินค้าน้ำพริกกุ้งกรอบที่มีอิทธิพลต่อปัจจัยทางการตลาดของผู้ประกอบการในจังหวัดชลบุรี. ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการธุรกิจโลก. มหาวิทยาลัยบูรพา.
ปิติพงษ์ ศิริพันธุ์. (2548). ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ผ้าไหมไทยของผู้บริโภค. ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการตลาด. มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร.
พจนียา ศรีตะวัน. (2549). การรู้จักตราสินค้าและทัศนคติของกลุ่มเป้าหมายเพศชายที่มีต่อการตัดสินใจเลือกตราสินค้าเครื่องสำอางสำหรับผู้ชาย. ปริญญาบริหารธุรกิจ มหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจ. มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.
ยุทธ ไกยวรรณ์. (2555). หลักสิถิติวิจัยและการใช้โปรแกรม. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุภาพร เพชรรัตน์กูล. (2555). การศึกษาและพัฒนากลยุทธ์ทางการตลาดของสินค้า OTOP จังหวัดประจวบคีรีขันธ์. คณะบริหารธุรกิจ. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์.
Aaker, D. (1991). Managing Brand Equity: Capitalizing on the Value of a Brand Name. Free Press: New York.
De Chernatony, L. & McDonald, M. (2003). Creating Powerful Brands in Consumer, Service and Industrial Markets. (3rd ed.). Butterworth-Heinemann: Oxford.
Keller, K.L. (1998). Strategic Brand Management, Building, Measuring and Managing Brand Equity. Upper Saddle River, NJ.: Prentice Hall.
Kotler, P. (1997). Marketing Management: Analysis, Planning Implementation and Control. (9th ed). New Jersey: Asimmon & Schuster.
Pride, William M & Ferrell, O. C. (2003). Marketing: concepts and strategies. (12th ed). Boston : Houghton Mifflin Co.
Schiffman, L.G. & Kanuk, L.L. (1991). Consumer behavior. (4th ed). Engelwood Cliffs, New Jersey : Prentice-Hall International, Inc.
Wilson, R.M.S., Gilligan, C. & Pearson, D.J. (1995). Strategic Marketing Management. Butterworth-Heinemann: Oxford.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิทยาการจัดการมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม เป็นลิขสิทธิ์ของ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎพิบูลสงคราม บทความที่ลงพิมพ์ใน วารสารวิทยาการจัดการมหาวิทยาลัยราชภัฎพิบูลสงคราม ถือว่าเป็นความเห็นส่วนตัวของผู้เขียน คณะบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย ผู้เขียนต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง