ส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อเครื่องสำอางสมุนไพรของผู้บริโภคในอำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก
คำสำคัญ:
ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด, เครื่องสำอางสมุนไพร, การตัดสินใจซื้อบทคัดย่อ
การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อเครื่องสำอางสมุนไพรของผู้บริโภคในจังหวัดพิษณุโลก และเปรียบเทียบการตัดสินใจซื้อเครื่องสำอางสมุนไพรจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล โดยใช้แบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากลุ่มตัวอย่างจำนวน 400 ราย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ความเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ สถิติอนุมาน คือ One-way ANOVA ผลการวิจัยพบว่า ส่วนประสมทางการตลาดมีผลต่อการตัดสินใจซื้อเครื่องสำอางสมุนไพรของผู้บริโภคในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = 3.85, S.D. = 0.64) โดยจำแนกเป็นรายด้านที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อเครื่องสำอางสมุนไพร คือ ด้านผลิตภัณฑ์ อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.32, S.D. = 0.48) ด้านราคาผลิตภัณฑ์ อยู่ในระดับมาก ( = 3.96, S.D. = 0.62) ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย อยู่ในระดับมาก ( = 3.78, S.D. = 0.56) และด้านการส่งเสริมการตลาด อยู่ในระดับปานกลาง ( = 3.34, S.D. = 0.44) ผู้บริโภคที่มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนต่างกันมีการตัดสินใจซื้อเครื่องสำอางสมุนไพรแตกต่างกันที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.01
References
K.L. Kotler P. & Keller. (2012). Marketing Management. Englewood Cliffs: NJ: Prentice-Hall.
Schiffman, L. & Wisenblit, J. (2015). Comsumer Behavior. New York: Pearson Education Limited.
กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม. (20 กันยายน 2559). เร่งเครื่องลุยอุตฯ เครื่องสำอางไทย ผงาดเบอร์ 3 ของเอเชีย. ผู้จัดการออนไลน์. เข้าถึงได้จาก http://www.manager.co.th/iBizChannel/ViewNews.
กัลยา วานิชย์บัญชา. (2560). หลักสถิติ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ฐนิดา ตู้จินดา. (2559). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อเครื่องสำอางนำเข้าจากประเทศกลุ่มอาเซียนของนักศึกษามหาวิทยาลัยบูรพา. วิทยาลัยพาณิชยศาสตร์, สาขาวิชาการจัดการธุรกิจโลก. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.
ณิชาภา บุญสังข์. (2556). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์บำรุงผิวหน้า นีเวียวิซาจ. คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
นวลพรรณี วัฒนเสถียรสินธุ์. (2555). ทัศนคติของผู้บริโภคต่อส่วนประสมทางการตลาดของร้าน Eve and Boy Beauty Store และความตั้งใจซื้อสินค้าของผู้บริโภค. คณะพาณิชยศาสตร์ และการบัญชี, สาขาการบริหารการตลาด. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ปิติวัฒน์ สะสม. (2553). ความคิดเห็นของผู้บริโภคในจังหวัดนครศรีธรรมราชที่มีต่อผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางสมุนไพรจากธรรมชาติยี่ห้อพีรมณฑ์. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทร- วิโรฒ.
ปุญญิสา สมฟองทอง. (2558). ปัจจัยส่วนประสมการตลาด การคำนึงต่อการบำรุงสุขภาพ ด้านความงามและการรับรู้ความความแตกต่างที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อครีมบำรุงผิวหน้า. บัณฑิตวิทยาลัย, สาขาวิชาบริหารธุรกิจ. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
ภัทรพร ธนสารโสภิณ. (2558). การศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความพึงพอใจในการใช้ผลิตภัณฑ์ ออร์แกนิค. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
มนสิกาญจน์ ศรีรัตนสมบูรณ์. (2555). พฤติกรรมการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์บำรุงผิวหน้าของสตรี วัยทอง. คณะวิทยาศาสตร์เครื่องสำอาง. เชียงราย: มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง.
ยศสวดี อยู่สนิท. (2554). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์สมุนไพรบํารุงผิวหน้า โครงการหนึ่งตําบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
ศิริวรรณ เสรีรัตน์. (2550). พฤติกรรมผู้บริโภค (ฉบับมาตรฐาน). กรุงเทพฯ: เอ อาร์ บิซิเนส.
ศิริวรรณ เสรีรัตน์. (2560). การบริหารการตลาดยุคใหม่. กรุงเทพฯ: Diamond In Business World.
ศิวพร ดอกยี่สุ่น. (2555). ส่วนประสมทางการตลาดและคุณค่าตราสินค้า (Brand) ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อกล่องความงาม (Beauty Box). คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี, สาขาการบริหารการตลาด. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ. (2560). 10 อันดับธุรกิจเด่น 2561. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.
สิน พันธุ์พินิจ. (2554). เทคนิคการวิจัยทางสังคมศาสตร์ = Research techniques in social science. กรุงเทพฯ: วิทยพัฒน์.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิทยาการจัดการมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม เป็นลิขสิทธิ์ของ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎพิบูลสงคราม บทความที่ลงพิมพ์ใน วารสารวิทยาการจัดการมหาวิทยาลัยราชภัฎพิบูลสงคราม ถือว่าเป็นความเห็นส่วนตัวของผู้เขียน คณะบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย ผู้เขียนต้องรับผิดชอบต่อบทความของตนเอง