การใช้บริการธุรกรรมทางการเงินผ่าน A-Mobile ของลูกค้า ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร จังหวัดพิษณุโลก

ผู้แต่ง

  • พิณรัตน์ นุชโพธิ์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
  • คุณธรรม สิทธิศักดิ์ นักศึกษาสาขาวิชาการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศทางธุรกิจคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม

คำสำคัญ:

สมาร์ทโฟน, อินเทอร์เน็ตแบงกิ้ง, โมบายแบงกิ้ง, ระบบการชำระเงินแบบอิเล็กทรอนิกส์, การให้บริการทางการเงินบนสมาร์ทโฟนจากธ.ก.ส., เกษตรกรลูกค้ารุ่นใหม่

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมและความพึงพอใจการใช้บริการธุรกรรมทางการเงินผ่าน     A-Mobile ของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร เนื่องจากธนาคารได้เห็นความสำคัญของ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานระบบการชำระเงินแบบอิเล็กทรอนิกส์แห่งชาติ (National e-Payment Master Plan) จึงมีการพัฒนา แอปพลิเคชันให้ตอบโจทย์รูปแบบการใช้งานของกลุ่มเกษตรกรลูกค้ารุ่นใหม่ หรือ Young Smart Farmer ที่ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการทำธุรกรรมทางการเงินจากรูปแบบเดิมสู่การทำธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ผ่านสมาร์ทโฟน การศึกษานี้เก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 307 คน และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามใช้บริการธุรกรรมทางการเงินด้านการโอนเงินผ่านระบบพร้อมเพย์ (PromptPay) และโอนเงินในประเทศและต่างประเทศมากที่สุด รวมถึงประโยชน์ที่ได้รับจากการใช้บริการผ่าน A-Mobile ทำให้รู้สึกสะดวกรวดเร็วและประหยัดค่าใช้จ่าย ส่วนปัจจัยที่ส่งผลต่อการใช้บริการธุรกรรมทางการเงินผ่าน A-Mobile พบว่า การใช้บริการธุรกรรมการเงินผ่าน A-Mobile ช่วยทุ่นแรงในการเดินทางไปทำธุรกรรมที่ธนาคารหรือ ตู้ ATM รวมถึงระบบมีรหัสผ่านก่อนเข้าใช้บริการในแต่ละครั้งทำให้ผู้ใช้งานรู้สึกมีความปลอดภัยในข้อมูล ซึ่งผลจากการวิจัยดังกล่าวสามารถนำไปใช้ประโยชน์เพื่อพัฒนาและปรับปรุงแอปพลิเคชั่น A-Mobile ให้สอดคล้องและรองรับความต้องการในการทำธุรกรรมทางการเงินรูปแบบดิจิทัลที่กำลังจะเติบโตเพิ่มมากยิ่งขึ้นในอนาคต

References

กรุงเทพธุรกิจ. (2561). 'ธ.ก.ส.' เปิดตัวธุรกรรมบนมือถือ. สืบค้นจาก https://www.bangkokbiznews.com/

ขวัญใจ อุณหวัฒนไพบูลย์. (2560). ความพึงพอใจผู้ใช้บริการโมบายแบงกิ้งของธนาคารออมสินในกรุงเทพมหานคร(ฝั่งธนบุรี). วารสารวิชาการอุตสาหกรรมศึกษา, 11(2), 46-58.

ณัฐคูณค์ ดองยังไพร. (2556). ส่วนประสมทางการตลาดโทรศัพท์เคลื่อนที่ M-Commerce ที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้า. (นิเศศาสตร์มหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, กรุงเทพมหานคร.

นพพร พลายวงษ์. (2544). ความพึงพอใจของลูกค้าที่มีต่อส่วนบริการลูกค้า ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) สาขาสำนักงานใหญ่สีลม. (บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพมหานคร.

พรพรรณ ช้างงาเนียม. (2553). ลักษณะบุคคล ความพึงพอใจและพฤติกรรมการใช้บริการธุรกรรมทางการเงินผ่านโทรศัพท์มือถือ (Mobile Banking) ของลูกค้าธนาคารในกรุงเทพมหานคร. (สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, กรุงเทพมหานคร.

วรรณพร หวลมานพ. (2558). พฤติกรรมและความพึงพอใจของผู้ใช้แอปพลิเคชั่นเคโมบายแบงก์กิ้งพลัสของธนาครกสิกรไทย ในเขตกรุงเทพมหานคร. (วารสารศาสตร์มหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, กรุงเทพมหานคร.

ศูนย์วิจัยกสิกร. (2559). แผน National e-Payment. สืบค้นจาก https://www.kasikornresearch.com/

สุชาดา พลาชัยภิรมย์ศิล. (2556). แนวโน้มการใช้โมบายแอพพลิเคชั่น. วารสารนักบริหาร, 31(4), 110-115.

Jon, A. (1996). Customer relationship management: Making hard decisions with soft numbers. Journal of Leisure Research, 29(3), 355-358.

Mangozero. (2017). The Future of Mobkle Banking. Retrieved from https://www.mangozero.com/the-future-of-mobile-banking-in-thailand-by-kbank/

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-01-15

How to Cite