การพัฒนาแอปพลิเคชันดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อมในการดำรงชีวิตประจำวัน

Main Article Content

สิทธิพร พรอุดมทรัพย์*
ชันยนันต์ สมถวิลผ่องใส
พฤทธ์ พิพิธภักดี

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยที่ช่วยในการดำเนินชีวิตของผู้ป่วยภาวะสมองเสื่อมในผู้สูงอายุภายในจังหวัดอุตรดิตถ์ 2) สร้างแอปพลิเคชันในการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อมเกี่ยวกับระบบช่วยเตือนกิจกรรมในชีวิตประจำวัน 3) ประเมินประสิทธิภาพของแอปพลิเคชัน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาวัตถุประสงค์ข้อที่ 1 คือ ผู้เกี่ยวข้องกับผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อม ได้แก่ ผู้ดูแล 24 คน ญาติ 27 คน และบุคลากรทางการแพทย์ 22 คน รวมทั้งสิ้น 73 คน โดยสุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจงจากประชากรกลุ่มดังกล่าวจำนวน 9 อำเภอ ในจังหวัดอุตรดิตถ์ และกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาวัตถุประสงค์ข้อที่ 3 คือ ผู้ดูแลและญาติผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อมภายในจังหวัดอุตรดิตถ์ จำนวนทั้งสิ้น 34 คน 


ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยที่ช่วยในการดำเนินชีวิตของผู้ป่วยภาวะสมองเสื่อมในผู้สูงอายุ ได้แก่ สภาพโดยรวมของครอบครัว การยอมรับและเข้าใจความเจ็บป่วยของผู้สูงอายุ การดูแลให้ได้รับยาตามแผนการรักษา  ดังนั้นงานวิจัยนี้ได้พัฒนาแอปพลิเคชันในรูปแบบ System Development Life Cycle (SDLC) เพื่อดูแลผู้สูงอายุในภาวะสมองเสื่อม ประกอบด้วย 7 ขั้นตอน โดยผลการประเมินของผู้ใช้ที่มีต่อแอปพลิเคชัน พบว่า เมื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพการดูแลผู้ป่วยรูปแบบเดิมและหลังการใช้แอปพลิเคชัน “Alzheimer Help” การแจ้งเตือนการกินยา การติดตามผู้สูงอายุเพื่อป้องกันการหลงทาง และการสร้างความรู้ความเข้าใจในชีวิตประจำวัน มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ p < 0.001 นอกจากนี้ พบว่า ผลความพึงพอใจของผู้ใช้งานมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด (4.38 ± 0.57)  การพัฒนาแอปพลิเคชัน “Alzheimer Help” เกี่ยวกับระบบช่วยเตือนกิจกรรมในชีวิตประจำวันมีคุณภาพสามารถนำไปใช้ในการช่วยในการดำเนินชีวิตของผู้ป่วยภาวะสมองเสื่อมในผู้สูงอายุอย่างมีประสิทธิภาพ

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Article)

References

กรมกิจการผู้สูงอายุ. (2563). สถิติผู้สูงอายุของประเทศไทย 77 จังหวัด. สืบค้นเมื่อ 24 มิถุนายน 2564, จาก https://www.dop.go.th/download/knowledge/th1610815306-335_0.pdf

กฤษณาพร ทิพย์กาญจนเรขา, ศิริธร ยิ่งเรงเริง, จันทิมา เขียวแก้ว, กันยารัตน์ อุบลวรรณ, เนติยา แจ่มทิม, และ วรนาถ พรหมศวร. (2560). พฤติกรรมการแสวงหาข้อมูลสุขภาพจากสื่อออนไลน์และสื่อสังคมของผู้สูงอายุตามระดับการรับรู้ภาวะสุขภาพ. วารสารวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ, 11(ฉบับพิเศษ), 12-22.

กลุ่มงานยุทธศาสตร์และข้อมูลเพื่อการพัฒนาจังหวัด. (2561). วิสัยทัศน์และยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดอุตรดิตถ์ 2561. อุตรดิตถ์: สำนักงานจังหวัดอุตรดิตถ์.

จิราภา แสนเกษม และคณะ. (2545). การวิจัยทางธุรกิจ. กรุงเทพฯ: พิทักษ์อักษร.

จุไรรัตน์ ดวงจันทร์, ดวงหทัย ยอดทอง, และพิศสมร เดชดวง. (2563). ความชุกและปัจจัยทำนายภาวะสมองเสื่อมของผู้สูงอายุในชุมชน จังหวัดเพชรบุรี. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี, 3(2),133-148.

ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2551). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS. กรุงเทพฯ: บิสซิเนสอาร์แอนด์ดี.

นงนุช แย้มวงษ์. (2557). คุณภาพชีวิตและความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวันของผู้สูงอายุที่มารับบริการในโรงพยาบาลศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพฯ. วารสารการแพทย์และวิทยาศาสตร์สุขภาพ, 21(1), 37-44.

นันทพร ศรีนิ่ม และ ธารินี นนทพุทธ. (2560). ดูแลผู้มีภาวะสมองเสื่อมที่บ้านอย่างมืออาชีพ. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์เอเชีย. ฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 11(2), 82-89.

พร้อมเลิศ หล่อวิจิตร. (2558). คู่มือเขียนแอป Android ฉบับรวมโค้ด ปรับปรุงใหม่. กรุงเทพฯ: โปรวิชั่น.

พาวุฒิ เมฆวิชัย และ สุรินทร์ แซ่ตัง. (2556). ผลกระทบจากการดูแลผู้ป่วยภาวะสมองเสื่อมในประเทศไทย. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย, 58(1), 101-110.

แพรสแมน, อาร์ เอส. (2549). วิศวกรรมซอฟต์แวร์ (พรฤดี เนติโสภากุล, ผู้แปล). กรุงเทพฯ: ท็อป. 290.

ภาวดี เหมทานนท์. (2562). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับมุมมองเชิงบวกต่อการดูแลของผู้ดูแลในครอบครัวของผู้ป่วยสมองเสื่อม.วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้, 6(2), 163-175.

มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุ. (2563). รายงานสถานการณ์ผู้สูงอายุไทย 2562 ตอนที่ 2 : ประวัติศาสตร์ใหม่ จำนวนผู้สูงอายุมากกว่าเด็กเป็นปีแรก. สืบค้นเมื่อ 27 มิถุนายน 2564, จาก https://thaitgri.org/?p=39457

วิชัย เอกพลากร (บรรณาธิการ). (2559). รายงานการสำรวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกาย ครั้งที่ 5 พ.ศ. 2557. กรุงเทพฯ: อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์.

วิไล กุศลวิศิษฏ์กุล. (2535). ข้อพิจารณาในการหาขนาดตัวอย่างสำหรับงานสำรวจจากตัวอย่าง. วารสารวิจัยวิทยาศาสตร์การแพทย์, 6(2), 129-133.

วิษณุ จันทร์สด. (2561). การพยาบาลผู้สูงอายุเพื่อป้องกันภาวะสมองเสื่อมในชุมชน. วารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์, 2(2), 1-13.

วีรศักดิ์ เมืองไพศาล (บรรณาธิการ). (2556). การป้องกัน การประเมินและการดูแลผู้ป่วยสมองเสื่อม= Dementia: Prevention, Assessment and Care. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: ภาควิชาเวชศาสตร์ป้องกันสังคม คณะแพทย์ศาสตร์ศิริราชพยาบาล. มหาวิทยาลัยมหิดล.

ศิริกุล การุณเจริญพาณิชย์. (2560). ผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อมและการพยาบาล :บทบาทที่ท้าทายของพยาบาล. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข, 25(1), 1-12.

ศุภชัย สมพานิช. (2559). คู่มือพัฒนาแอปพลิเคชันด้วย Android Studio. กรุงเทพฯ: Infopress.

ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (2559). HDC DASHBoard แบบคัดกรองสภาสมองในผู้สูงอายุ (AMT). สืบค้นเมื่อ 27 มิถุนายน 2564, จาก https://hdcservice.moph.go.th/hdc/main/index.php

สำนักข่าวกรมประชาสัมพันธ์. (2561). กรมสุขภาพจิตเผยขณะนี้พบผู้สูงวัยไทยสมองเสื่อมกว่า 8 แสนคน จำนวนร้อยละ 90 มีปัญหาพฤติกรรมและจิตใจผิดปกติ. สืบค้นเมื่อ 27 มิถุนายน 2564, จาก

http://thainews.prd.go.th/th/website_th/news/news_detail/TNSOC6106170010011/2/29350

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2561). แผนฯ 12 ฉบับประชาชน นวัตกรรมคือหัวใจของการพัฒนา. สืบค้นเมื่อ 27 มิถุนายน 2564, จาก http://planning.dld.go.th/th/images/stories/section-5/2561/strategy09.pdf

สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข จังหวัดอุตรดิตถ์. (2563). ข้อมูลทั่วไปและบริบทสุขภาพจังหวัดอุตรดิตถ์. สืบค้นเมื่อ 27 มิถุนายน 2564, จาก http://utoapp3.moph.go.th/app2/inspector/views/uploads/5e424dfa9cc81-9439768a932bd3415d21f0046f7e6b93-3.pdf

อนุชา จันทร์เต็ม, สรัญญา เชื้อทอง, และ ปกรณ์ สุปินานนท์. (2561). การพัฒนาแอปพลิเคชันโดยใช้การเรียนรู้ร่วมกัน เรื่อง การออกกำลังกายเพื่อสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุ. Veridian E-Journal,Silpakorn ฉบับภาษาไทยสาขามนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์ และศิลปะ, 11(1), 1371-1385.

อาทิตยา สุวรรณ์ และ สุทธิศรี ตระกูลสิทธิโชค. (2559). ความชุกของภาวะสมองเสื่อมและปัจจัยที่สัมพันธ์กับภาวะสมองเสื่อมในผู้สูงอายุ ตำบลหลักหก อำเภอเมือง จังหวัดปทุมธานี. วารสารวิชาการสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย, 5(2), 21-32.

โอภาส เอี่ยมสิริวงศ์. (2554). ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.

Abu-Dalbouh, H., Al-Habeeb, A., Al-Kholifi, A., Al-Motiry, I., & Al-Buhairy, M. (2015). A mobile reminder system for elderly and Alzheimer’s patients. IJCSI International Journal of Computer Science Issues, 12(5), 95-101.

Habash, Z. A., Ishak, W., & Omar, M. (2013, August). Android-based application to assist doctor with azheimer's patient. In Proceedings of the 4th International Conference on Computing and Informatics, ICOCI 2013 (pp. 511-516). Universiti Utara Malaysia.

Lenca, M., Fabrice, J., Elger, B., Caon, M., Pappagallo, A. S., Kressig, R. W., & Wangmo, T. (2017). Intelligent assistive technology for Alzheimer's disease and other dementias: A systematic review. Journal of Alzheimer's disease, 56(4), 1301–1340.

Pirani, E. Z., Bulakiwala, F., Kagalwala, M., Kalolwala, M., & Raina, S. (2016). Android based assistive toolkit for Alzheimer. Procedia Computer Science, 79, 143-151.

Polzer, N., & Gewald, H. (2017). A structured analysis of smartphone applications to early diagnose Alzheimer´s disease or dementia. Procedia Computer Science, 113, 448-453.

Population Division. (2020). World Family Planning 2020 Highlights: Accelerating action to ensure universal access to family planning. New York: United Nations.

Shaikh, A. A., Gupta, N. S., Khan, A. D. M., & Artist, H. T. (2017). Android and internet of things (IoT) based Alzheimer care/ rehabilitation system to monitor and progress patient health condition. International Journal of Innovative Research in Computer and Communication Engineering, 5(3), 5531-5539.

Software Park. (2016). แผนภาพวงจรการพัฒนาระบบ. สืบค้นเมื่อ 24 มิถุนายน 2564, จาก http://jeeranangm301.blogspot.com/2015/11/sdlc-sdlc-systemsdevelopment-life-cycle.html

World Health Organization. (2019). Risk reduction of cognitive decline and dementia: WHO guidelines. Geneva: Department of Mental Health and Substance Abuse.

Yamagata, C., Coppola, J. F., Kowtko, M., & Joyce S. (2013). Mobile app development and usability research to help dementia and Alzheimer patients. In IEEE Long Island Systems, Applications and Technology Conference (LISAT) (pp. 1-6), Farmingdale, NY, USA.