เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน เพื่อส่งบทความ

ในขั้นตอนการส่งบทความ ผู้แต่งต้องตรวจสอบและปฏิบัติตามข้อกำหนดรายการตรวจสอบการส่งทุกข้อ ดังต่อไปนี้ และบทความอาจถูกส่งคืนให้กับผู้แต่งกรณีที่ไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดทั้งหมด

  • บทความที่ส่งต้องยังไม่เคยเผยแพร่ หรืออยู่ระหว่างการตีพิมพ์ในวารสารใด (หากมีข้อสงสัยสามารถฝากคำถามได้ในข้อความถึงบรรณาธิการ)
  • ไฟล์บทความต้องอยู่ในรูปแบบ Microsoft Word
  • เอกสารอ้างอิงควรมีการให้รายการอ้างอิงแบบมี URLs
  • บทความอยู่ในรูปแบบระยะพิมพ์เดี่ยว (single-space) ขนาดแบบอักษร 14 พอยด์ ภาพวาด ภาพประกอบ และตารางทั้งหมด ให้แสดงในตำแหน่งที่ปรากฏในบทความ
  • รูปแบบบทความเป็นไปตามคำแนะนำที่กำหนด และการเขียนบรรณานุกรมตามที่ระบุไว้ในคำแนะนำสำหรับผู้แต่ง

การจัดเตรียมบทความ

  1. การจัดรูปแบบบทความ
    • จัดหน้ากระดาษให้ได้ขนาด A4 โดยตั้งค่าหน้ากระดาษขอบบน 2.5 เซนติเมตร  ขอบล่าง 2.5  เซนติเมตร  ขอบซ้าย  3 เซนติเมตร  และขอบขวา 2.5 เซนติเมตร  ตั้งค่าแท็บเริ่มต้นที่ 1.5 เซนติเมตร ตามด้วย 2  และ 2.5 ตามลำดับ
    • จัดบทความให้อยู่ในลักษณะเว้นบรรทัด (1 เท่า)
    • ใส่เลขหน้ากำกับทุกหน้าตรงกึ่งกลางด้านล่างของหน้ากระดาษ A4

 

  1. บทความภาษาไทย

ชื่อเรื่อง: ให้มีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ไม่ควรเกิน 100 ตัวอักษร รวมเว้นวรรค ให้ใช้ตัวอักษร Cordia New ขนาด 18 ตัวหนา

ชื่อผู้เขียน: ให้มีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ อยู่ถัดลงมาจากชื่อเรื่อง ใช้ตัวอักษร Cordia New ขนาด 14 ตัวตรง ใส่เครื่องหมายดอกจันในรูปแบบเชิงอรรถด้านหลังชื่อสำหรับผู้เขียนหลัก (Corresponding Author) หากมีผู้เขียนหลายคนและหลายสังกัด ให้ใส่ตัวเลข ขนาด 14 ตัวยก ด้านหน้าชื่อของผู้เขียน ตรงตามสังกัดของแต่ละท่าน

ที่อยู่สำหรับติดต่อ : ระบุอีเมล์ของผู้เขียนหลัก (Corresponding Author) ที่สามารถติดต่อได้ในระหว่างดำเนินการ ใช้ตัวอักษร Cordia New ขนาด 12 ตัวเอน

บทคัดย่อ ให้มีบทคัดย่อทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ  ให้จัดหัวเรื่องบทคัดย่อ ไว้ชิดขอบซ้ายของหน้ากระดาษ  ใช้ตัวอักษร Cordia New ขนาด 16 ตัวหนา เนื้อความในบทคัดย่อ  ใช้ตัวอักษร Cordia New ขนาด 14 ตัวธรรมดา  หัวข้อคำสำคัญ (keywords) จัดไว้ชิดด้านซ้ายโดยใช้ตัวอักษร Cordia New ขนาด 14 ตัวหนา  เนื้อหาในคำสำคัญใช้ตัวอักษรขนาด 14 ตัวธรรมดา  สำหรับคำสำคัญแต่ละคำ  ให้ใช้เครื่องหมายจุลภาคคั่นระหว่างคำสำคัญแต่ละคำ

เนื้อหาในบทความ :  หัวข้อหลัก ให้ใช้ตัวอักษร Cordia New ขนาด 16 ตัวหนา ตัวตรง จัดชิดขอบด้านซ้ายของหน้ากระดาษ  สำหรับเนื้อหาให้ใช้ตัวอักษร Cordia New ขนาด 14 ตัวธรรมดา ตัวตรง

ตาราง และรูปภาพ :  ให้ใช้ตัวอักษร Cordia New ขนาด 14 ตัวหนา สำหรับหัวตาราง และหัวรูปภาพสำหรับคำอธิบายตารางหรือรูปภาพ ให้ใช้ตัวอักษรขนาดเดียวกันแต่เป็นตัวธรรมดา ตารางต้องไม่มีเส้นสดมภ์ตัวอักษร หรือตัวเลขที่นำเสนในรูปกราฟหรือตารางต้องเป็นตัวอักษร Cordia New ขนาด 14 ตัวธรรมดา สำหรับคำอธิบายเชิงอรรถให้ใช้ตัวอักษรขนาด 12

 

  1. บทความภาษาอังกฤษ

จัดพิมพ์เป็นภาษาอังกฤษทั้งหมด ประกอบด้วยหัวข้อ ดังนี้

ชื่อเรื่อง: ไม่ควรเกิน 100 ตัวอักษรรวมเว้นวรรค ในชื่อเรื่องให้ใช้ตัวอักษร Cordia New ขนาด 18 ตัวหนา

ชื่อผู้เขียน: อยู่ถัดลงมาจากชื่อเรื่อง ใช้ตัวอักษร Cordia New ขนาด 14 ตัวตรง ใส่เครื่องหมายดอกจันในรูปแบบเชิงอรรถด้านหลังชื่อสำหรับผู้เขียนหลัก (Corresponding Author) หากมีผู้เขียนหลายคนและหลายสังกัด ให้ใส่ตัวเลข ขนาด 14 ตัวยก ด้านหน้าชื่อของผู้เขียน ตรงตามสังกัดของแต่ละท่าน

ที่อยู่สำหรับติดต่อ : ระบุอีเมล์ของผู้เขียนหลัก (Corresponding Author) ที่สามารถติดต่อได้ในระหว่างดำเนินการ ใช้ตัวอักษร Cordia New ขนาด 12 ตัวเอน

บทคัดย่อ :  ให้จัดหัวเรื่องบทคัดย่อ ชิดขอบซ้ายของหน้ากระดาษ  ใช้ตัวอักษร Cordia New ขนาด 16 ตัวหนา ตัวตรง เนื้อความในบทคัดย่อ  ใช้ตัวอักษร Cordia New ขนาด  14  ตัวธรรมดา ตัวตรง  คำสำคัญ (Keywords) ให้จัดไว้ชิดด้านซ้ายโดยใช้ตัวอักษร Cordia New ขนาด 14 ตัวหนา  เนื้อหาในคำสำคัญใช้ตัวอักษรขนาด 14 ตัวธรรมดา  สำหรับคำสำคัญแต่ละคำ ให้ใช้เครื่องหมายจุลภาคคั่นระหว่างคำสำคัญแต่ละคำ

เนื้อหาในบทความ :  หัวข้อหลัก ให้ใช้ตัวอักษร Cordia New ขนาด 16 ตัวหนา ตัวตรง จัดชิดขอบด้านซ้ายของหน้ากระดาษ  สำหรับเนื้อหาให้ใช้ตัวอักษร Cordia New ขนาด 14 ตัวธรรมดา ตัวตรง

ตาราง และรูปภาพ :  หัวตารางและหัวรูปภาพ ให้ใช้ตัวอักษร Cordia New ขนาด 14 ตัวหนา สำหรับคำอธิบายตารางหรือรูปภาพ ให้ใช้ตัวอักษรขนาดเดียวกันแต่เป็นตัวธรรมดา ตารางต้องไม่มีเส้นสดมภ์ตัวอักษร หรือตัวเลขที่นำเสนอในรูปกราฟหรือตารางต้องเป็นตัวอักษร Cordia New ขนาด 14 ตัวธรรมดา สำหรับคำอธิบายเชิงอรรถให้ใช้ตัวอักษรขนาด 12

 

  1. การอ้างอิงเอกสาร

          เอกสารที่นำมาอ้างอิงควรได้มาจากแหล่งที่มีการตีพิมพ์ชัดเจน  อาจเป็นวารสาร หนังสือ หรือข้อมูลจากอินเทอร์เน็ต  ทั้งนี้ผู้เขียนเป็นผู้รับผิดชอบต่อความถูกต้องของเอกสารอ้างอิงทั้งหมด

          การอ้างอิงแบบแทรกในเนื้อหาเป็นแบบนาม-ปี ทั้งนี้ มี 2 รูปแบบ

  1. การอ้างอิงก่อนข้อความ ให้พิมพ์ ชื่อผู้แต่ง (ปีพิมพ์) ตามด้วยข้อความที่อ้างอิง หากมีผู้แต่ง 2 คน ให้ใช้คำว่า “และ” คั่นกลางระหว่างชื่อ ในกรณีเป็นเอกสารภาษาไทย และใช้คำว่า “and” กรณีเป็นงานภาษาต่างประเทศ ทั้งนี้ ปีพิมพ์และชื่อผู้แต่งสามารถสลับที่กันได้ เช่น

สมร สุขโสภา (2558) ได้กล่าวถึง.........

Einstein (1955) studied……………….

สมบัติ ศรีสมบูรณ์ และ วารี ชุ่มชื่น (2556) ได้ทำการศึกษาเรื่อง.........................

Anderson and Mether (2005) mentioned..................

ในปี 2558 สมร สุขโสภา ได้กล่าวถึง.........................

In 1955, Einstein studied……………………………..

  1. การอ้างอิงท้ายข้อความ ให้พิมพ์ในรูปแบบ (ชื่อผู้แต่ง, ปีพิมพ์) ไว้ท้ายข้อความที่อ้างอิง หากมีผู้แต่ง 2 คน ให้ใช้คำว่า “และ” คั่นกลางระหว่างชื่อ ในกรณีเป็นเอกสารภาษาไทย และใช้คำว่า “&” กรณีเป็นงานภาษาต่างประเทศ เช่น

                              ................. (สมร สุขโสภา, 2558)

                              ................ (Einstein, 1955)

                              ……………. (สมบัติ ศรีสมบูรณ์ และ วารี ชุ่มชื่น)

                              ……………. (Anderson & Mether, 2005)

 

  1. หลักเกณฑ์การเขียนชื่อผู้แต่ง สำหรับการอ้างอิงในเนื้อหา
  2. ผู้แต่งชาวไทย ให้พิมพ์ชื่อและชื่อสกุล โดยไม่ต้องมีเครื่องหมาย”,” คั่น ทั้งงานเขียนภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ กรณีผู้แต่งใส่ทั้งชื่อสกุลชองตนเองและของสามี  ให้พิมพ์ต่อกันโดยเว้นวรรค 1 คำ

                    สมร สุขโสภา    

                    อรอนงค์ พันธุมา พร้อมตั้งใจ

                    Samorn Suksopha

                    Onanong Phantuma Promjai

  1. ผู้แต่งชาวต่างประเทศ ให้พิมพ์ชื่อสกุลเท่านั้น ไม่ว่างานเขียนจะเป็นภาษาไทยหรือภาษาต่างประเทศ

                    Albert Einstein พิมพ์ Einstein

                    อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ พิมพ์ ไอน์สไตน์

  1. ผู้แต่ง 2 คน ใช้ “และ” คั่นระหว่างชื่อกรณีเป็นผู้แต่งชาวไทย ใช้ “and” สำหรับผู้แต่งชาวต่างประเทศ ถ้าชื่อผู้แต่งอยู่ในวงเล็บ ให้ใช้เครื่องหมาย “&” แทนคำว่า “and”

                    สมบัติ ศรีสมบูรณ์ และ วารี ชุ่มชื่น (2560)

                    (สมบัติ ศรีสมบูรณ์ และ วารี ชุ่มชื่น, 2560)

                    Anderson and Mether (2005)

                    (Anderson & Mether, 2005)

  1. 4. ผู้แต่ง 3-6 คน ในการอ้างอิงครั้งแรก ให้พิมพ์ชื่อทุกคน ในการอ้างอิงครั้งแรก โดยใส่เครื่องหมาย “,” คั่นแต่ละชื่อ นำหน้าชื่อคนสุดท้ายด้วยคำว่า “และ” หรือ “and” หรือ “&”

                    เกรียงไกร สวัสดี, บังอร ศรีสวัสดิ์ และ สมหมาย สนิทวงศ์ (2557)

                    (เกรียงไกร สวัสดี, บังอร ศรีสวัสดิ์ และ สมหมาย สนิทวงศ์, 2557)

                    Anderson, Mether and Demon (2015)

                    (Anderson, Mether & Demon, 2015)

              ในการอ้างซ้ำครั้งต่อๆ ไป ให้พิมพ์เฉพาะชื่อผู้แต่งคนแรก ตามด้วยคำว่า “และคณะ” สำหรับงานเขียนภาษาไทย หรือคำว่า “et al.” สำหรับงานเขียนภาษาต่างประเทศ

                    เกรียงไกร สวัสดี และคณะ (2557)

                    (เกรียงไกร สวัสดี และคณะ, 2557)

                    Anderson et al. (2015)

                    (Anderson et al, 2015)

  1. ผู้แต่งมากกว่า 6 คน ให้พิมพ์เฉพาะชื่อผู้แต่งคนแรก ตามด้วยคำว่า “และคณะ” หรือ“et al.”
  2. ผลงานที่ไม่ปรากฏชื่อผู้แต่ง ให้พิมพ์ชื่อเรื่อง ตามด้วย ปีพิมพ์

                    ย้อนรอยวิถีไทย (2559)

                    (ย้อนรอยวิถีไทย, 2559)

                    How to publish an article (2001)

                    (How to publish an article, 2001)

  1. ให้เรียงลำดับการอ้างอิงตามลำดับพยัญชนะตัวแรกของชื่อผู้แต่ง เช่นเดียวกับลำดับการอ้างอิงในส่วนรายการอ้างอิง

 

  1. หลักเกณฑ์การเขียนรายการอ้างอิง (ท้ายบทความ)

          ผู้เขียนเขียนรายการอ้างอิงตามรูปแบบของ The American Psychological Association (APA Style) ดังแสดงในรายละเอียดด้านล่าง

  1. การพิมพ์รายการชื่อผู้แต่ง

                    1.1 ผู้แต่ง 1-7 คน ให้พิมพ์ชื่อผู้แต่งทุกคน ใส่เครื่องหมาย “,” คั่นทุกชื่อ และพิมพ์คำว่า “และ” สำหรับงานเขียนภาษาไทย และคำว่า “&” สำหรับงานเขียนภาษาต่างประเทศ นำหน้าชื่อผู้แต่งคนสุดท้าย

                    1.2 ผู้แต่งเกินกว่า 7 คน พิมพ์เฉพาะผู้แต่ง 6 คนแรก ตามด้วยเครื่องหมาย “,” ตามด้วยมหัพภาค 3 จุด (. . .) โดยเว้นวรรคระหว่างจุด 1 ระยะ และพิมพ์ชื่อผู้แต่งคนสุดท้าย

                              กาญจนา แก้วเทพ, สมสุข หินวิมาน, กระสินธุ์ หังสพฤกษ์, เทพรัตน์ อึ้งเศรษฐพันธ์, ประจวบ ฉายบุ, นิวุฒิ์ หวังชัย, . . . สุภัทรา อุไรวรรณ

                    1.3 ผู้แต่งชาวไทย  ให้พิมพ์ชื่อตามด้วยชื่อสกุล ไม่ต้องมีเครื่องหมาย “,” คั่น ไม่ว่าจะเป็นงานเขียนภาษาไทยหรือภาษาต่างประเทศ

                              สมบัติ ศรีสมบูรณ์

                              สมบัติ ศรีสมบูรณ์ และ วารี ชุ่มชื่น

                              Sombat Srisomboon

                              Sombat Srisomboon & Waree Chumchuen

                    1.4 ผู้แต่งชาวต่างประเทศ ให้พิมพ์ชื่อสกุล ตามด้วยอักษรย่อของชื่อแรก ชื่อกลาง (ถ้ามี)  โดยเว้น 1 วรรค และใส่เครื่องหมาย “,” ระหว่างชื่อสกุล ชื่อแรก และชื่อกลาง (ถ้ามี)  ถ้างานเขียนเป็นภาษาไทย ให้เขียนชื่อผู้แต่งเป็นภาษาไทย

                              Einstein, A.

                              Anderson, P., & Mether, C.

                              แอนเดอร์สัน, พี.

                    1.5 กรณีไม่มีชื่อผู้แต่ง ให้พิมพ์ชื่อเรื่อง ด้วยตัวเอน  ตามด้วยปีพิมพ์ในวงเล็บ

                              ย้อนรอยวิถีไทย. (2559).

 

  1. หลักเกณฑ์การพิมพ์ชื่อรายการอ้างอิง (ท้ายบทความ) ตามประเภทของเอกสาร

หนังสือ

พิมพ์ชื่อเรื่องเป็นตัวเอน กรณีเป็นงานเขียนภาษาต่างประเทศ อักษรตัวแรกของแต่ละคำให้เป็นอักษรตัวใหญ่

ชื่อผู้แต่ง. (ปีที่พิมพ์). ชื่อหนังสือ. เมืองที่พิมพ์ : สำนักพิมพ์.  เช่น

ปรีชา มุมานะ. (2564). การละเล่นไทย. กรุงเทพ: สามย่านพริ๊นติ้ง.

Einstein, A. (1955). The Momentum. New York: Copy Print Inc.

         

บทความในหนังสือ หรือ บทในหนังสือ

ชื่อผู้แต่งบทความหรือบท. (ปีพิมพ์). ชื่อบทความหรือชื่อบท. ใน ชื่อหนังสือ/ (เลชหน้า ใช้คำว่า น. นำหน้าสำหรับภาษาไทย และ p. หรือ pp. สำหรับภาษาอังกฤษ). สถานที่พิมพ์: สำนักพิมพ์.

Scapp, R. (2016). The product: Education. In Reclaiming Education. New York: Palgrave Macmillan.

          *กรณีไม่ปรากฏเลขหน้า ให้ใส่เฉพาะชื่อผู้แต่ง ปีที่พิมพ์ ชื่อการประชุม สถานที่พิมพ์ และ สำนักพิมพ์ ตามรูปแบบข้างต้น

 

          วารสารวิชาการ

                    พิมพ์ชื่อบทความเป็นตัวตรง  กรณีเป็นงานเขียนภาษาต่างประเทศ พิมพ์ชื่อเรื่องโดยให้อักษรตัวแรกเป็นตัวพิมพ์ใหญ่ หลังจากนั้นตามด้วยตัวพิมพ์เล็ก  พิมพ์ชื่อวารสารโดยอักษรตัวแรกของแต่ละคำให้เป็นอักษรตัวใหญ่ ตัวเอน เช่น

                    ชื่อผู้แต่ง. (ปีที่พิมพ์). ชื่อบทความ. ชื่อวารสาร, ปีที่พิมพ์ (ฉบับที่พิมพ์), เลขหน้าแรก-หน้าสุดท้าย.

                    *กรณีบทความไม่ปรากฏหมายเลขหน้า ให้ระบุหมายเลข DOI ของบทความแทนหมายเลขหน้า หากไม่มีทั้งหมายเลขหน้า และหมายเลข DOI ให้ระบุ link ของข้อมูลบทความในวารสารที่ใช้อ้างอิง

                    *กรณีอ้างอิงข้อมูลจากเว็บไซต์ ให้พิมพ์คำว่า “สืบค้นเมื่อ” สำหรับงานภาษาไทย หรือ “Retrieved” สำหรับงานภาษาต่างประเทศ ลงวันที่ที่สืบค้นข้อมูล ตามด้วยคำว่า “จาก” สำหรับงานภาษาไทย และ “from” สำหรับงานภาษาต่างประเทศ ใส่ลิงค์แหล่งข้อมูลที่อ้างอิง เช่น

สมร สุขโสภา. (2558). การผลิตสื่อสิ่งพิมพ์ที่มีมาตรฐาน. วารสารก้าวหน้าเทคโนโลยี, 12(2), 45-55.

      Anderson, P., & Mether, C. (2005). How to publish an article in international journal. Research Information, 30(2), 100-115.

ปรีชา มะมานะ. (2564). หลักและวิธีการทางบัญชีบริหาร. วารสารบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัย
อุบลราชธานี
. สืบค้นเมื่อ 8 กุมภาพันธ์ 2561, จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jms_ubu

                    Gomez, K., Mawhinney, T., & Betts, K. (2020). Welcome to generation Z. Deloitte. Retrieved May 1, 2020, from https://www2.deloitte.com/content/dam/Deloitte/us/Documents/consumer-business/welcome-to-gen-z.pdf

                              Mursidah, S., & Fauzi, A. M. (2022). Sustainable sugarcane supply chain performance assessment: A review and research agenda. IOC Conference Series: Earth and Environmental Science, 1063, DOI:10.1088/1755-1315/1063/1/012039

 

รายงานวิจัย

ชื่อผู้แต่ง. (ปีที่พิมพ์). ชื่อเรื่อง (รายงานวิจัย).  เมืองที่พิมพ์ : หน่วยงานที่เผยแพร่.

          สมบัติ ทรัพย์สมบูรณ์. (2559). การผลิตผลผลิตทางการเกษตรแบบครบวงจร (รายงานวิจัย). กรุงเทพ:
                        สำนักงานพัฒนาการเกษตร.

 

วิทยานิพนธ์

ชื่อผู้แต่ง. (ปีที่พิมพ์). ชื่อวิทยานิพนธ์. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต/วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). ชื่อมหาวิทยาลัย, ชื่อคณะ.

แสวง สมภพ. (2562). คุณภาพบรรจุภัณฑ์ที่ผลิตจากวัสดุทางการเกษตร. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต).
              มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, คณะเกษตรศาสตร์.

 

เอกสารประกอบการประขุมวิชาการ

ชื่อผู้แต่ง. (ปีที่พิมพ์). ชื่อเรื่อง. ใน ชื่อการประชุม (เลชหน้า ใช้คำว่า น. นำหน้าสำหรับภาษาไทย และ p.
หรือ pp. สำหรับภาษาอังกฤษ). สถานที่พิมพ์: สำนักพิมพ์. 

รัชตพล ชัยเกียรติธรรม. (2557). การวิเคราะห์และเปรียบเทียบคำยืมภาษาอังกฤษที่ปรากฏในภาษาไทยและภาษาจีน. ใน การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ มหาวิทยาลัยพายัพ (น. 117-134). เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยพายัพ.

          *กรณีไม่ปรากฏเลขหน้า ให้ใส่เฉพาะชื่อผู้แต่ง ปีที่พิมพ์ ชื่อการประชุม สถานที่พิมพ์ และ สำนักพิมพ์ ตามรูปแบบข้างต้น