กระบวนการสร้างสรรค์รูปแบบการฟ้อนนกกิงกะหล่า

Main Article Content

ศรินประภา ภัทรจินดา
ชนัย วรรณะลี
อัควิทย์ เรืองรอง

บทคัดย่อ

งานวิจัยฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาบริบททางสังคมและวัฒนธรรม
ของการฟ้อนนกกิงกะหล่าของชาวไทใหญ่ 2. ศึกษารูปแบบ โครงสร้าง แนวคิดการ
สร้างสรรค์และองค์ประกอบการฟ้อนนกกิงกะหล่า และ 3. วิเคราะห์กระบวนท่าฟ้อน
นกกิงกะหล่า ตามแนวทางครูส่างคา จางยอด โดยใช้การวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วย
การศึกษาเอกสาร การลงภาคสนาม การสัมภาษณ์เชิงลึก รวมทั้งการสังเกตแบบมี
ส่วนร่วมและไม่มีส่วนร่วมในพื้นที่ข้างต้น ผลการศึกษาพบว่า บริบททางสังคมและ
วัฒนธรรมของการฟ้อนนกกิงกะหล่ามีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับศิลปะการฟ้อน
โดยเฉพาะในงานออกพรรษา ถือเป็นประเพณีสาคัญของชาวไตหรือชาวไทใหญ่ 2.
รูปแบบและโครงสร้างท่าในการฟ้อนนกกิงกะหล่า มีแนวคิดมาจากการนาศิลปะการ
ต่อสู้ของชาวไทใหญ่เข้ามาผสมผสานในลีลาการฟ้อน 3. องค์ประกอบการฟ้อนนกกิง
กะหล่าของเดิมและที่สร้างสรรค์ใหม่พบว่า มีความแตกต่างกันทั้งในเรื่อง กระบวนท่า
ฟ้อน และลีลาผู้ฟ้อน ด้วยเหตุปัจจัยทั้งของโอกาส การนาเสนอ แนวคิด หรือ
จุดมุ่งหมายของการฟ้อน ตัวผู้ฟ้อน ผู้ชม เวลา และสถานที่ ปัจจัยเหล่านี้มีส่วน
สร้างสรรค์กระบวนท่าฟ้อน และวิธีการถ่ายทอดที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biographies

ศรินประภา ภัทรจินดา

นักศึกษาระดับปริญญาโท สาขาวิชานาฏศิลป์ไทย สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์

ชนัย วรรณะลี

อาจารย์ ดร. ประจำสาขาวิชานาฏศิลป์ไทย สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์

อัควิทย์ เรืองรอง

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ประจำสาขาวิชาภาษาไทยคณะมนุษย์ศาสตร์และสังคม ศาสตร์
มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

References

จิรากัน รัตนทัศนีย์. ครูชานาญการพิเศษนาฏศิลป์ละคร วิทยาลัยนาฏศิลปเชียงใหม่
สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ (สัมภาษณ์. 22 ธันวาคม 2561)
พิชญาภัค ทองเซ. ศิลปินเชื้อสายไทใหญ่ นักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
คณะครุศาสตร์ สาขานาฏศิลป์ (สัมภาษณ์. 16 มีนาคม 2561)
ประเสริฐ ประดิษฐ์. ประธานสภาวัฒนธรรมจังหวัดแม่ฮ่องสอน ที่ปรึกษาศูนย์ไทใหญ่
วิทยาลัยชุมชนจังหวัดแม่ฮ่องสอน (สัมภาษณ์, 23 มกราคม 2561)
ส่างคา จางยอด. ศิลปินพื้นบ้านชาติพันธุ์ไทใหญ่ ผู้เชี่ยวชาญการฟ้อนนกกิงกะหล่า
(สัมภาษณ์. 1 มีนาคม 2561)
เสมอชัย พูลสุวรรณ. (2560). รัฐฉาน(เมืองไต) พลวัตชาติพันธุ์ ในบริบท
ประวัติศาสตร์และสังคมการเมืองร่วมสมัย. กรุงเทพฯ: ศูนย์มานุษยวิทยา
สิรินธร (องค์การมหาชน).
อุดม รุ่งเรืองศรี. (2542). สารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคเหนือ. เล่มที่ 9 กรุงเทพฯ
: มูลนิธิสารานุกรมวัฒนธรรมไทย ธนาคารไทยพาณิชย์.