แฮกึม : เครื่องสายในวัฒนธรรมดนตรีเกาหลี

Main Article Content

ณัฐพงษ์ ประทุมชัน
เฉลิมศักดิ์ พิกุลศรี

บทคัดย่อ

แฮกึม (Haegeum) เครื่องดนตรีประเภทเครื่องสีที่มีสองสายและใช้ใน
วัฒนธรรมทางดนตรีเกาหลี เป็นเครื่องดนตรีที่มีบทบาทสาคัญซึ่งถูกนามาใช้บรรเลง
ร่วมกับวงดนตรีเกาหลีในรูปแบบต่างๆ เช่น วงดนตรีราชสานัก วงดนตรีพื้นบ้าน
และวงดนตรีแบบสมัยนิยม โดยแฮกึมมีเอกลักษณ์และความโดดเด่นของเสียงที่
สามารถช่วยให้บทเพลงเกาหลีมีความพลิ้วไหวและต่อเนื่อง รวมถึงสามารถสร้าง
ความรู้สึกให้กับบทเพลงได้หลายรูปแบบตั้งแต่อารมณ์โศกเศร้าไปจนกระทั่งถึงอารมณ์
แบบสนุกสนาน ดังนั้นแฮกึมจึงเป็นเครื่องดนตรีที่ถูกนามาใช้บรรเลงอย่างกว้างขวางใน
เกาหลี
โดยบทความเรื่องนี้จะนาเสนอเกี่ยวกับ 1. ภูมิหลังของแฮกึม 2. ลักษณะ
กายภาพและเสียงของแฮกึม และ 3. สุนทรียศาสตร์การบรรเลงแฮกึม เพื่อให้ทราบ
ถึงประวัติความเป็นมา ลักษณะทางกายภาพและเสียง รวมถึงสุนทรียศาสตร์ในการ
บรรเลงแฮกึม ซึ่งจากภูมิหลังของแฮกึมที่ปรากฎการถูกนาเข้ามาสู่เกาหลีอย่างน้อย
ในช่วงยุคของราชวงศ์โครยอ โดยนาเข้ามาจากราชวงศ์ซ่งของจีน และในช่วง
ราชวงศ์โชซอนมีการพัฒนาและปรับใช้แฮกึมในวงดนตรีแบบราชสานักเกาหลีและสืบ
ทอดกันมาจนถึงปัจจุบัน และสุนทรียศาสตร์แห่งการบรรเลงมีการยึดถือตามแบบ
แผนการบรรเลงแบบดั้งเดิมจนถึงปัจจุบันและมีการพัฒนาวิธีการบรรเลงให้สามารถ
บรรเลงในบทเพลงซึ่งประพันธ์ขึ้นใหม่ตามสมัยนิยมเพื่อให้มีความทันสมัยและสามารถ
สร้างความบันเทิงให้คนทุกเพศวัย

Article Details

บท
บทความวิชาการ
Author Biographies

ณัฐพงษ์ ประทุมชัน

นักศึกษาหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาดุริยางคศิลป์ คณะศิลปกรรมศาสตร์
มหาวิทยาลัยขอนแก่น

เฉลิมศักดิ์ พิกุลศรี

รองศาสตราจารย์ประจาหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาดุริยางคศิลป์ คณะศิลปกรรมศาสตร์
มหาวิทยาลัยขอนแก่น

References

ภาษาไทย
เฉลิมศักดิ์ พิกุลศรี. (2555). ดนตรีเกาหลี. ขอนแก่น: โรงพิมพ์
มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ภาษาอังกฤษ
Cho Bok Rae. (2003). Haegeum Sarang. Seoul : Han Seo lee Publishing.
Kayla Haiju Shu. (1995). The Haegeum : The Vanishing violin of
Korea. USA: University of Miamy.
Moon, Jae Suk. (2009). Learning and Loving Korean Music. Seoul: Min
Sok Won Publishing.
Sejong Center. (2019). Seoul Metropolitan Traditional Music
Orchestra. Retrieved February 27, 2019, from
http://www.sejongpac.or.kr/eng/artgroups/art_groups.asp#art0.