จากฟ้อนเจิงสู่ฟ้อนผาง : อัตลักษณ์และลีลาการฟ้อนแบบล้านนาของพ่อ ครูมานพ ยาระณะ

Main Article Content

กิติพงษ์ อาธิพรม
นิวัฒน์ สุขประเสริฐ
อัควิทย์ เรืองรอง

บทคัดย่อ

การแสดงฟ้อนเจิง และฟ้อนผาง ของพ่อครูมานพ ยาระณะ เป็นกระบวนท่า
ฟ้อนที่แสดงออกถึงชั้นเชิงการต่อสู้และลีลาการฟ้อนที่งดงามเพื่อถวายเป็นพุทธบูชา
อันเป็นนาฏกรรมที่สะท้อนรูปแบบศิลปวัฒนธรรมอย่างหนึ่งของชาวล้านนาได้เป็นอย่าง
ดี
บทความนี้มุ่งศึกษาอัตลักษณ์และลีลาการฟ้อนแบบล้านนาของพ่อครูมานพ
ยาระณ ะ ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง ประจาปี 2548 ผู้มีความรู้
ความสามารถในการฟ้อนแบบล้านนา โดยเฉพาะฟ้อนเจิง และฟ้อนผาง ท่านมีแนวคิด
ในการประดิษฐ์การฟ้อนจากศิลปะการต่อสู้ผสมผสานกับความเชื่อ ความศรัทธาใน
พระพุทธศาสนา แล้วนามาประยุกต์กับลีลาการฟ้อนในแบบฉบับของตนเอง ทั้งยังเป็น
ศิลปินต้นแบบด้านการฟ้อนล้านนาในปัจจุบัน ทาให้ผลงานของท่านได้รับการสืบทอด
อนุรักษ์ ต่อยอดแนวความคิด และได้รับการยกย่องให้เป็นบรมครูด้านการฟ้อนล้านนา
ผลการศึกษาพบว่า พ่อครูมานพ ยาระณะ ได้รื้อฟื้นฟ้อนเจิงขึ้นมาใหม่ โดย
ได้จัดวางท่าฟ้อนให้เป็นระเบียบตามหลักนาฏยศาสตร์ และประดิษฐ์ฟ้อนผางขึ้นโดยนา
แม่ท่าฟ้อนเจิงมาเป็นแม่ท่าหลัก ทั้งใช้ภูมิปัญญาและความสามารถด้านการฟ้อนเจิงมา
เชื่อมโยงกันกับการฟ้อนผาง เพื่อสื่อถึงความเชื่อและความศรัทธาต่อพระพุทธศาสนา
ของชาวล้านนา ต่อมาวิทยาลัยนาฏศิลปเชียงใหม่ได้ประดิษฐ์ฟ้อนผางขึ้นใหม่ โดยมีพ่อ
ครูมานพ ยาระณะ เป็นผู้ให้แนวความคิดและรูปแบบการฟ้อน จึงกล่าวได้ว่าทั้งฟ้อนเจิง
และฟ้อนผางของพ่อครูมานพ ยาระณะ มีอิทธิพลอย่างสาคัญยิ่งต่อการประดิษฐ์ฟ้อน
ผางของวิทยาลัยนาฏศิลปเชียงใหม่

Article Details

บท
บทความวิชาการ
Author Biographies

กิติพงษ์ อาธิพรม

นักศึกษาศิลปมหาบัณฑิต สาขาวิชานาฏศิลป์ไทย บัณฑิตวิทยาลัย สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์

นิวัฒน์ สุขประเสริฐ

ดร.ประจาสาขาวิชานาฏศิลป์ไทย คณะศิลปนาฏดุริยางค์ สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์

อัควิทย์ เรืองรอง

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ประจาสาขาวิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัย
ราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

References

คณิเทพ ปิตุภูมินาค. (2558). อัตลักษณ์ครูดนตรีพื้นเมืองภาคเหนือ กรณีศึกษา พ่อ
ครูมานพ ยาระณะ พ่อครูอุ่นเรือน หงส์ทอง และครูบุญยิ่ง กันธวงศ์.
วารสารคณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 6(2), 138-169.
จิตรลดา สอนไทยและคณะ. (2548). ฟ้อนผาง. ศิลปนิพนธ์ คณะศิลปศึกษา สถาบัน
บัณฑิตพัฒนศิลป์.
จิรากัน รัตนทัศนีย์. ผู้เชี่ยวชาญด้านนาฏศิลป์ไทย วิทยาลัยนาฏศิลปเชียงใหม่ สถาบัน
บัณฑิตพัฒนศิลป์. สัมภาษณ์ 3 มีนาคม 2561.
ดิษฐ์ โพธิยารมย์ (2553). องค์ความรู้ศิลปินแห่งชาติ : นายมานพ ยาระณะ.
กรุงเทพฯ : สานักงาน คณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวง
วัฒนธรรม.
ทรงศักดิ์ ปรางค์วัฒนากุล. (2531). เพลงและการละเล่นพื้นบ้านล้านนา:
ความสัมพันธ์กับความเชื่อและพิธีกรรม ฟ้อนเชิง : อิทธิพลที่มีต่อการฟ้อน
ในล้านนา. เชียงใหม่ : สันติภาพปริ้นท์.
ธีรยุทธ ยวงศรี. (2540). การดนตรี การขับ การฟ้อน ล้านนา. เชียงใหม่. มิ่งเมือง
นวรัตน์.
มงคล เสียงชารี. ข้าราชการบานาญ วิทยาลัยนาฏศิลปเชียงใหม่ สถาบันบัณฑิตพัฒน
ศิลป์. สัมภาษณ์ 3 มีนาคม 2561.
วัฒนา กราซุย. (2557). ฟ้อนเจิง กรณีศึกษา พ่อครูมานพ ยาระณะ ศิลปินแห่งชาติ.
กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.
วิบูลลักษณ์ คุณยศยิ่ง. ครูชานาญการพิเศษ วิทยาลัยนาฏศิลปเชียงใหม่ สถาบันบัณฑิต
พัฒนศิลป์.
สัมภาษณ์ 3 มีนาคม 2561.
สุรพล ดาริห์กุล. (2542). ล้านนา สิ่งแวดล้อม สังคม และวัฒนธรรม. กรุงเทพฯ:
คอมแพคท์พริ้นท์ จากัด.