ความต้องการใช้น้ำและแนวทางการจัดสรรน้ำที่คำนึงถึงมิติทางเศรษฐกิจ: กรณีศึกษากลุ่มลุ่มน้ำภาคตะวันออกของประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • ปาณิศา วิชุพงษ์ วิทยาลัยสหวิทยาการ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • ศุภวัฒน์ สุขะปรเมษฐ วิทยาลัยนวัตกรรมการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์
  • ศรัณย์ ประวิตรางกูร ศูนย์วิจัยนโยบายด้านเศรษฐกิจสีเขียว คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

คำสำคัญ:

การจัดสรรน้ำ, ตารางปัจจัยการผลิตและผลผลิต, รอยเท้าน้ำ, ผลิตภาพการใช้น้ำ

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อประมาณความต้องการใช้น้ำของพื้นที่ลุ่มน้ำภาคตะวันออกและ (2) ศึกษาแนวทางการจัดสรรทรัพยากรน้ำไปยังภาคส่วนต่าง ๆ โดยคำนึงถึงมิติทางเศรษฐกิจของลุ่มน้ำชายฝั่งทะเลตะวันออก เพื่อนำไปสู่ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายอันจะเป็นประโยชน์ในการกำหนดนโยบายการจัดการน้ำของประเทศ การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กรอบแนวคิดและเครื่องมือวิเคราะห์ข้อมูลที่ใช้ในการวิจัยนี้คือ (1) ตารางปัจจัยการผลิตระดับลุ่มน้ำที่มีบัญชีน้ำ (2) ตัวชี้วัดปริมาณความต้องการใช้น้ำ ซึ่งประกอบด้วย 3 ตัวชี้วัด ได้แก่รอยเท้าน้ำ หรือ Water Footprint (WF) ค่าสัมประสิทธิ์การใช้น้ำของแต่ละสาขา หรือ Water Input Content (WIC) และ ผลิตภาพการใช้น้ำ หรือ Water Intensity (WI) และ (3) แบบจำลองการประมาณการเปลี่ยนแปลง ผลการศึกษาพบว่า (1) สาขาการผลิตที่มี Water Footprint หรือความต้องการใช้น้ำทั้งทางตรงและทางอ้อมสูงที่สุดคือ สาขาอุตสาหกรรม แต่สาขาอุตสาหกรรมเป็นสาขาที่มีประสิทธิภาพการใช้น้ำมากเมื่อเปรียบเทียบกับมูลค่าที่ผลิตได้ (2) ภาคเกษตรนั้นมีปริมาณความต้องการใช้น้ำทั้งทางตรงและทางอ้อมค่อนข้างสูง และมีประสิทธิภาพการใช้น้ำที่น้อยกว่าสาขาการผลิตอื่น (3) ภาคบริการมีความต้องการใช้น้ำทั้งทางตรงและทางอ้อมน้อยกว่าสาขาการผลิตอื่น ๆ และเป็นสาขาที่มีประสิทธิภาพการใช้น้ำมากเมื่อเปรียบเทียบกับมูลค่าที่ผลิตได้ (4) สำหรับแนวทางการจัดสรรน้ำของลุ่มน้ำชายฝั่งทะเลตะวันออก แนวทางการจัดสรรน้ำโดยให้ความสำคัญกับอุตสาหกรรมและบริการ (จัดสรรน้ำให้ภาคอุตสาหกรรมและบริการก่อน เมื่อเหลือจึงจัดสรรให้กับภาคเกษตร) เป็นแนวทางที่เหมาะสมเมื่อพิจารณาถึงผลกระทบในมิติทางเศรษฐกิจ

References

Fleskens, L., Nainggolan, D., Temansen, M., Hubacek, K., & Reed, M. S. (2013). Regional consequences of the way land users respond to future water availability in Murcia, Spain. Regional Environmental Change, 13(3), 615-632. https://doi.org/10.1007/s10113-012-0283-8

Ghosh, A. (1958). Input-Output Approach to an Allocation System. Economica, 25, 58-64.

Guan, D. & Hubacek, K. (2007). Assessment of regional trade and virtual water flows in China. Ecological Economics, 61(1), 159-170. 10.1016/j.ecolecon.2006.02.022.

Han, M., Chen, G., Mustafa, M., Hayata, T., Shao, L., Li, J., . . . Ji, X. (2015). Embodied water for urban economy: A three-scale input–output analysis for Beijing 2010. Ecological Modelling, 318, 19-25.

Miller, R.E. (1998). Regional and Interregional Input-Output Analysis. In Isard, W., Azis, I.J., Drennan, M.P., Miller, R.E., Saltzman, S., & Thorbecke, E. (1998). Methods of Interregional and Regional Analysis. Routledge. https://doi.org/10.4324/9781315249056

Morrissey, K. (2014). Producing regional production multipliers for Irish marine sector policy: A location quotient approach. Ocean & coastal management, 91, 58-64.

Pahlow, M., Van Oel, M., Mekonnen, M.M., Hoekstra, A.Y. (2015). Increasing pressure on freshwater resources due to terrestrial feed ingredients for aquaculture production. Science of The Total Environment, 536, 847-857. https://doi.org/10.1016/j.scitotenv.2015.07.124

Shi, C., & Zhan, J. (2015). An input-output table based analysis on the virtual water by sectors with the five northwest provinces in China. Physics and Chemistry of the Earth, 79, 47-53.

Spörria, C., Borsuk, M., Peters, I., & Reichert, P. (2007). The economic impacts of river rehabilitation: A regional Input–Output analysis. Ecological Economics, 62(2), 341-351.

Sukhaparamate, S. (2014). National Water Footprint of Thailand and Tax Simulation. The International Journal of Economic Policy Studies, 8, 67-87.

Suttinon, P. (2008). Water Demand Management Model in Lower Chao Phraya River Basin, Thailand. Kochi: Kochi University of Technology.

เฟิลแคร์, มาร์ก, ธีรนงค์ สกุลศรี, และ ธีรนุช ก้อนแก้ว. (2562). โครงการแนวโน้มประชากรและความต้องการน้ำประปาในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล. กรุงเทพฯ: สํานักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม.

กระทรวงอุตสาหกรรม. (2559). ยุทธศาสตร์การพัฒนาอุตสาหกรรมไทย 4.0 ระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2560-2579). สืบค้นจาก: https://waa.inter.nstda.or.th/stks/pub/2017/20171114-oie.pdf

ชัยยุทธ สุขศรี และคณะ. (2553). รูปแบบการจัดการทรัพยากรน้ำโดยการนำระบบสารสนเทศทรัพยากรน้ำเชิงพื้นที่ร่วมกับกระบวนการมีส่วนร่วมทางสังคมไปประยุกต์ใช้ในพื้นที่จังหวัดระยอง. กรุงเทพ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

ณิชา สุภาพิมพ์ และ สุเมธ แก่นมณี. (2555). การพยากรณ์ความต้องการใช้นํ้าเพื่อการอุปโภคบริโภคในอนาคต โดยใช้แบบจำลองอารีมาและแบบจำลองการ์ช. วารสารวิจัย มข. (ฉบับบัณฑิตศึกษา), 11(1), 45-55.

นิพนธ์ พัวพงศกร และคณะ (2561) การพัฒนาโครงการชลประทานและการบริหารจัดการน้ำเพื่อให้เกิดประโยชน์เศรษฐกิจสูงสุด. กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย.

บัญชา ขวัญยืน และคณะ. (2563) การบริหารและการประมวลผลการศึกษาโครงการวิจัย เพื่อจัดทำข้อเสนอแนะสมดุลน้ำและมาตรการลดการใช้น้ำ เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนในการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษ ภาคตะวันออก (EEC). กรุงเทพฯ: สํานักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม.

ปาณิศา วิชุพงษ์ และ ศุภวัฒน์ สุขะปรเมษฐ. (2560). การพัฒนาเครื่องมือในการประเมินความต้องการใช้น้ำของกลุ่มลุ่มน้ำภาคกลาง: รายงานฉบับสมบูรณ์. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม.

ภาวิณี ศักดิ์สุนทรศิริ และคณะ. (2555). การจัดทำตารางปัจจัยการผลิตและผลผลิตเพื่อการศึกษาผลกระทบเชิงเศรษฐกิจ ความต้องการน้ำ และพลังงานของจังหวัดระยอง. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

วันชัย สุขขี. (2542). ความต้องการใช้น้ำเพื่อการอุตสาหกรรมในนิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบัง (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต). ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.

ศุภวัจน์ รุ่งสุริยะวิบูลย์ , รุ่งนภา โอภาสปัญญาสาร และ เพ็ชรธรินทร์ วงศ์เจริญ. (2563). การพยากรณ์ความต้องการใช้น้ำของไทยด้วยวิธีมูลค่าส่วนเพิ่มจากการใช้น้ำ. Discussion Paper No.54 สืบค้นจาก: https://www.econ.tu.ac.th/uploads/discussion_paper/file/20200805/acfghjprtv69.pdf

สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย สถาบันน้ำและสิ่งแวดล้อมเพื่อความยั่งยืน. (2561). แนวทางการประเมินการใช้น้ำภาคอุตสาหกรรมสำหรับประเทศไทย. กรุงเทพฯ: บริษัท นีโอ ดิจิตอล จำกัด.

สํานักบริหารจัดการน้ำ. (ม.ป.ป.). การประเมินความต้องการน้ำอุปโภค บริโภค และอุตสาหกรรม. สืบค้นจาก: http://water.rid.go.th/wrd/const14/images/KL/KL4.pdf

สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก. (2561). แผนภาพรวมเพื่อการพัฒนาเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก พ.ศ. 2560-2565. สืบค้นจาก: https://eeco.or.th/th/filedownload/1478/cf4092afd2456bb1f03995574db27a75.pdf

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2559). แผนงานพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (พ.ศ. 2560-2564). สืบค้นจาก: https://www.nesdc.go.th/ewt_dl_link.php?nid=6381

สุจริต คูณธนกุลวงศ์ และคณะ. (2550). โครงการผลการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลกต่อปริมาณน้ำฝน/น้ำท่วมรายเดือนของประเทศไทย และผลกระทบต่อการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ภาคตะวันออก. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

สุจริต คูณธนกุลวงศ์ และคณะ. (2557). โครงการศูนย์วิจัยระบบการวางแผนจัดการทรัพยากรน้ำ เพื่อความมั่นคงระดับจังหวัด ระยะที่ 3. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

สุจริต คูณธนกุลวงศ์, โชคชัย สุทธิธรรมจิต, และ วรรณวลี วงศ์เกษมสันต์. (2550). แนวทางการสํารวจการใช้น้ำและการประมาณความต้องการใช้น้ำภาคอุตสาหกรรม. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุภารัตน์ พิลางาม และ อรรจน์ เศรษฐบุตร. (2561). การใช้น้ำประปาและการคาดการณ์การใช้น้ำของโรงแรมในกรุงเทพมหานคร. การประชุมวิชาการ BETAC ครั้งที่ 5. 29 มิถุนายน 2561, หน้า 1-12. ขอนแก่น: คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

Additional Files

เผยแพร่แล้ว

2023-12-22