กลยุทธ์การตลาดดิจิทัลธุรกิจอาหารเสริมเพื่อสุขภาพสำหรับกลุ่มสปอร์โนเซ็กชวลในเขตกรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • ถิรวุฒิ แสงมณีเดช คณะรัฐประศาสนศาสตร์และสังคมศึกษา มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด ประเทศไทย
  • บำเพ็ญ ไมตรีโสภณ คณะรัฐประศาสนศาสตร์และสังคมศึกษา มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด ประเทศไทย

คำสำคัญ:

การตลาดดิจิทัล, อาหารเสริมเพื่อสุขภาพ, กลุ่มสปอร์โนเซ็กชวล

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาทัศนคติและพฤติกรรมผู้บริโภคอาหารเสริมเพื่อสุขภาพสำหรับกลุ่มสปอร์โนเซ็กชวลในเขตกรุงเทพมหานคร (2) วิเคราะห์สภาพการณ์ปัจจุบัน โอกาสและอุปสรรคของธุรกิจอาหารเสริมเพื่อสุขภาพสำหรับกลุ่มสปอร์โนเซ็กชวลในเขตกรุงเทพมหานคร และ (3) นำเสนอกลยุทธ์การตลาดดิจิทัลธุรกิจอาหารเสริมเพื่อสุขภาพสำหรับกลุ่มสปอร์โนเซ็กชวลในเขตกรุงเทพมหานคร ในปัจจุบัน ผู้บริโภคในประเทศไทยจำนวนมากหันมาให้ความสำคัญกับการดูแลสุขภาพของตนเองมากขึ้นทำให้ธุรกิจอาหารเสริมมีมูลค่าเติบโตอย่างรวดเร็วในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ขณะเดียวกันกลุ่มสปอร์โนเซ็กชวลให้ความสำคัญกับการดูแลใบหน้าและผิวพรรณ และสุขภาพของตนเองก็ถือว่าเป็นกลุ่มผู้บริโภคเป้าหมายของธุรกิจอาหารเสริมเพื่อสุขภาพ ผู้วิจัยจึงเก็บข้อมูลแบบสัมภาษณ์เชิงลึกจากกลุ่มตัวอย่างประชากรกลุ่มสปอร์โนเซ็กชวลในเขตกรุงเทพมหานครจำนวน 15 ท่าน ผลการศึกษาพบว่ากลุ่มสปอร์โนเซ็กชวลให้ความสำคัญกับการดูแลสุขภาพของตนเองและสนใจที่จะซื้อผลิตภัณฑ์อาหารเสริมเพื่อสุขภาพโดยคำนึงถึงคุณภาพของผลิตภัณฑ์เป็นปัจจัยสำคัญในการตัดสินใจซื้อ   และนิยมซื้อผ่านทั้งช่องทางออนไลน์และออฟไลน์ โดยพวกเขารู้จักแบรนด์ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมเพื่อสุขภาพจากช่องทางหรือบุคคลที่แตกต่างกันไป จากผลการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในและภายนอก กลยุทธ์การตลาดดิจิทัลจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อธุรกิจอาหารเสริมเพื่อสุขภาพ โดยกลยุทธ์การตลาดดิจิทัลที่เหมาะสมประกอบด้วยการใช้การตลาดอินฟลูเอนเซอร์ การยิงโฆษณาในโซเชียลมีเดีย การจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ผ่านแพลตฟอร์มซื้อ-ขายออนไลน์ต่าง ๆ การประชาสัมพันธ์ให้ผู้บริโภครับรู้ถึงช่องทางที่ผลิตภัณฑ์แท้ของตนเองวางจำหน่าย และควรโฆษณาผลิตภัณฑ์โดยนำเสนอคุณภาพของผลิตภัณฑ์เป็นจุดขายผ่านช่องทางออนไลน์ต่าง ๆ  ผลการศึกษานี้สร้างองค์ความรู้เกี่ยวกับพฤติกรรมผู้บริโภคกลุ่มสปอร์โนเซ็กชวล ผู้วิจัยแนะนำให้มีการศึกษาเพื่อวิเคราะห์สภาพแวดล้อมรวมถึงสภาพการณ์ปัจจุบัน โอกาสและอุปสรรคในการดำเนินธุรกิจอาหารเสริมเพื่อสุขภาพสำหรับกลุ่มสปอร์โนเซ็กชวลในประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง

References

กระทรวงการคลัง. (2566). ประมาณการเศรษฐกิจไทยปี 2566. สืบค้นจาก

https://www.mof.go.th/th/view/attachment/file/3138373236/ข่าวแถลงกระทรวงการคลัง

ฉบับที่%2077-2566%20%28ประมาณการเศรษฐกิจไทยปี%202566%29.pdf

คมชัดลึก. (2566). จับทางธุรกิจปี 66 สินค้า 'เทรนด์สุขภาพ'ยืนหนึ่ง ผลิตภัณฑ์ด้านเส้นผมมาแรง. สืบค้นจาก https://www.komchadluek.net/kom-lifestyle/beauty/544294

มหาวิทยาลัยสวนดุสิต. (2565). การดูแลสุขภาพของคนไทย ณ วันนี้. สืบค้นจาก

https://suandusitpoll.dusit.ac.th/UPLOAD_FILES/POLL/2565/PS-2565-1659232900.pdf

ศิริวรรณ เสรีรัตน์และคณะ. (2538). การบริหารการตลาดยุคใหม่. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์บริษัทธรรมสาร จำกัด.

รัตติยา อังกุลานนท์. (2559). “ดิจิทัล” ตอบทุกโจทย์สื่อสารแบรนด์. สืบค้นจาก

https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/694947.

ธนาคารกรุงเทพ. (2563). หลังโควิด-19 ตลาดอาหารเสริมพุ่งกว่า 2 หมื่นล้านบาท. สืบค้นจาก

https://www.bangkokbanksme.com/en/supplement-food-after-growth-covid-19

Accenture. (2022). Consumers See Health and Well-being as “Essential” Spend Category,

Accenture Survey Finds. Retrieved from

https://newsroom.accenture.com/news/consumers-see-health-and-well-being-as-

essential-spend-category-accenture-survey-finds.htm

Assael, H. (1995). Consumer Behavior and Marketing Action (5th ed). Cincinnati, Ohio : South-

Western College.

Barone, A. (2023). Digital Marketing Overview: Types, Challenges, and Required Skills.

Retrieved from https://www.investopedia.com/terms/d/digital-marketing.asp

Bowstead, (2022). Refashioning the Male Body: Contemporary Media Representations of the

Spornosexual and the Waif, In The Male Body in Representation. London: Palgrave Macmillan.

EFinanceThai. (2565). ใครคือผู้นำธุรกิจอาหารเสริม. สืบค้นจาก https://www.efinancethai.com/efinReview/efinReviewMain.aspx?release=y&name=er_202206171744

GG Thailand. (2559). Metrosexuality Is Dead Long Live Spornosexuality. สืบค้นจาก

https://www.gqthailand.com/style/article/spornosexual

Hakim, J. (2015). The Spornosexual’: the affective contradictions of male body-work in

neoliberal digital culture. Journal of Gender Studies, 27(2), 231-241.

Marketeer Online. (2564). Internet User ในประเทศไทย 2564 ผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตไทยมากแค่ไหนเมื่อเทียบกับโลก. สืบค้นจากhttps://marketeeronline.co/archives/208372

Mowen, J. C. (1993). Consumer Behavior (3rd ed). London: Macmillan

Patoli, Z. (2021). Why Digital Marketing Is Important For Business Owners. Retrieved from

https://www.forbes.com/sites/forbesagencycouncil/2021/08/02/why-digital-marketing-

is-important-for-business-owners/?sh=85f94a6f8662

Schiffman, L., & L. Kanuk, (1991). Consumer Behavior. Singapore: Prentice-Hall.

Scott, J. (1990). A Matter of Record, Documentary Sources in Social Research. Cambridge:

Polity Press.

Scott, J. (2006). Documentary Research. London: Sage Publications Ltd.

Supanonth, P. (2021). Digital Marketing Communication that Affects Online Purchase

Decision Health and Beauty Supplements. International conference on Management Science, Innovation and Technology, 81-91.

Vautier, M. (2021). EY Future Consumer Index: consumers more concerned one year into the

pandemic. Retrieved from https://www.ey.com/en_gl/news/2021/03/ey-future-

consumer-index-consumers-more-concerned-one-year-into-the-pandemic

Walters, C. G. (1974). Consumer Behavior: theory and practice. Washington: R. D. Irwin.

Wertime, K., & Fenwick, L. (2008). Digital Marketing the Essential Guide to New Media &

Digital Marketing. New Jersey: Wiley & Son.

Additional Files

เผยแพร่แล้ว

2023-12-22