ผู้บริโภคชาวไทยในโลกดิจิทัล: การทำความเข้าใจการมีส่วนร่วมของผู้บริโภคในจักรวาลนฤมิต
คำสำคัญ:
จักรวาลนฤมิต, การยอมรับทางเทคโนโลยี, นวัตกรรมบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อระบุถึงปัจจัยที่ส่งผลต่อการรับรู้และยอมรับการใช้งานจักรวาลนฤมิตของผู้บริโภค ในประเทศไทย โดยมีกรอบแนวคิดของงานวิจัยประยุกต์จากการศึกษาทฤษฎีการยอมรับทางเทคโนโลยี วิธีการสำรวจ เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ จำนวน 463 คน จากผู้ใช้งานจักรวาลนฤมิตในประเทศไทย เพื่อตอบแบบสอบถามและวิเคราะห์ข้อมูลด้วยแบบจำลองสมการถดถอยเชิงเส้นตรง ผลการวิจัย พบว่า ปัจจัยที่ส่งผลต่อการรับรู้และยอมรับการใช้งานจักรวาลนฤมิตของผู้บริโภค ในประเทศไทย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ประกอบด้วย มุมมองจำนวนผู้ใช้ มุมมองการใช้งานข้ามแพลตฟอร์ม มุมมองผลประโยชน์ที่ได้รับ มุมมองว่าใช้งานง่าย มุมมองว่ามีประโยชน์ มุมมองความปลอดภัย บรรทัดฐานจากบุคคลใกล้ชิด บรรทัดฐานจากบุคคลที่ติดต่อด้วย บรรทัดฐานทางสังคม และ ความตั้งใจที่จะใช้งาน
References
เทวัญ อุทัยวัฒน์. (25 พฤษภาคม, 2565). จักรวาลนฤมิตคือตัวเร่งความเหลื่อมล้ำทางสังคม. เข้าถึงได้จาก: http://www.thaipost.net/articles-news/148375/.
ธาดาธิเบศร์ ภูทอง และนัทธมน มั่งสูงเนิน. (2560). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจในการยอมรับบริการสุขภาพผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ของผู้สูงอายุ. วารสารวิชาการ Veridian E-Journal, 10(3), 548-562.
Ajzen, I., & Fishbein, M. (1975). A Bayesian analysis of attribution processes. Psychological Bulletin, 82(2), 261–277.
Davis, F. (1989). Perceived Usefulness, Perceived Ease of Use, and User Acceptance of Information Technology. MIS Quarterly, 13, 319-340.
Matthew Sparkes. (2021). “What is a metaverse” NewScientist, 251(3348), 18.
Huntington, S. & Nelson, S. (1975). “No easy choice: political participation in developing countries”. New York: Harvard University Press.
Koufman, F. (1949). H.F. Participation Organized Activities in Selected Kentucky Localities. Agricultural Experiment Station Bulletins, 4(2). 5-50.
Sherry R. Arnstein. (1969). “A Ladder Of Citizen Participation”. Journal of the American Institute of Planners, 35, 216-224.