แนวทางการพัฒนาการให้บริการเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตคนพิการ ตำบลบางกระบือ อำเภอบางคนที จังหวัดสมุทรสงคราม
คำสำคัญ:
การพัฒนาการให้บริการ การยกระดับคุณภาพชีวิต คนพิการ ตำบลบางกระบือบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ (1) เพื่อพรรณนาลักษณะการให้บริการเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตคนพิการ ตำบลบางกระบือ อำเภอบางคนที จังหวัดสมุทรสงคราม (2) เพื่อระบุปัญหาอุปสรรคการให้บริการเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตคนพิการ ตำบลบางกระบือ อำเภอบางคนที จังหวัดสมุทรสงคราม และ (3) เพื่อนำเสนอแนวทางการพัฒนาการให้บริการเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตคนพิการ ตำบลบางกระบือ อำเภอบางคนที จังหวัดสมุทรสงคราม
การวิจัยนี้เป็นการวิจัยคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูล จำนวน 28 คน ได้แก่ ผู้บริหารและเจ้าหน้าที่เทศบาลตำบลบางกระบือ ผู้บริหารและเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบางกระบือ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ผู้นำชุมชน ครู กศน. และผู้ดูแลคนพิการ เก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสาร หลักฐาน การสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม และการสัมภาษณ์เชิงลึก วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการอุปนัย
ผลการวิจัย (1) ด้านลักษณะการให้บริการเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตคนพิการ ตำบลบางกระบือ อำเภอบางคนที จังหวัดสมุทรสงคราม ประกอบด้วย (ก) การให้บริการที่สามารถตอบสนองความต้องการของคนพิการ โดยการจัดระบบสวัสดิการให้ทั่วถึง เหมาะสม และเป็นธรรม (ข) การให้บริการอย่างสม่ำเสมอ ดำเนินการติดตามช่วยเหลือครอบคลุมทุกด้านตามแผนปฏิบัติการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการในระดับท้องถิ่น (ค) การให้บริการโดยยึดหลักความเสมอภาค ดำเนินการตามขั้นตอน ระเบียบวิธีปฏิบัติที่ชัดเจนไม่เลือกปฏิบัติ (ง) การให้บริการโดยยึดหลักความประหยัดค่าใช้จ่าย ขออุดหนุนงบประมาณจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและภาคเอกชน และ (จ) การให้บริการโดยยึดหลักความสะดวก มีขั้นตอนปฏิบัติที่ชัดเจน เพิ่มการใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย (2) ด้านปัญหาและอุปสรรคการให้บริการเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตคนพิการ ประกอบด้วย (ก) บุคลากรที่ให้บริการแก่คนพิการ ขาดความรู้และเข้าใจในระบบงาน (ข) มีความยุ่งยากซับซ้อนของการนำงบประมาณไปใช้ และไม่ทันต่อสถานการณ์ และ (ค) การกระจายเสียงสู่ชุมชนขัดข้อง และกายอุปกรณ์มีไม่เพียงพอ และ (3) ด้านแนวทางการพัฒนาการให้บริการเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตคนพิการ ประกอบด้วย (ก) การให้บริการที่สามารถตอบสนองความต้องการของคนพิการ (ข) การให้บริการเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตคนพิการอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ ส่งเสริมการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ (ค) การให้บริการโดยยึดหลักความเสมอภาค ดำเนินการตามกฎ ระเบียบ แนวทางปฏิบัติและมาตรฐานทางจริยธรรม (ง) การให้บริการโดยยึดหลักความประหยัดคุ้มค่า ประสานงานกับหน่วยงานทั้งภายในและภายนอกของบประมาณสนับสนุน และ (จ) การให้บริการโดยยึดหลักความสะดวกและรวดเร็ว
References
ตำบลตาจั่น อำเภอคง จังหวัดนครราชสีมา. สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.):
กรุงเทพฯ.
กลุ่มงานยุทธศาสตร์และข้อมูลเพื่อการพัฒนาจังหวัด. (2562). การจัดทำแผนพัฒนาจังหวัดสมุทรสงคราม
พ.ศ. 2561 – 2565.
กุลธน ธนาพงศธร. (2528). การบริหารงานบุคคล. (พิมพ์ครั้งที่ 2). นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมมาธิราช.
คณะกรรมการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ. (2559). แผนพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ
ฉบับที่ 5 พ.ศ. 2560 – 2564 ส่วนที่ 2 ทิศทางยุทธศาสตร์แผนพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ.
ชูวงศ์ ฉายะบุตร. (2536). การให้บริการแบบครบวงจรแนวทางการให้บริการเชิงรุกของกรมการปกครอง.
กรุงเทพฯ:บริษัทพิฆเนศพริ้นท์ติ้งเซ็นเตอร์ จำกัด.
เทศบาลตำบลบางกระบือ. แผนพัฒนาท้องถิ่น พ.ศ.2561 – 2565. (2561). ส่วนที่ 1 สภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐาน.
งานพัฒนาชุมชนเทศบาลตำบลบางกระบือ. (2563). ข้อมูลคนพิการตำบลบางกระบือ
ปริญัติ เพชรรัตน์. (2563). การส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ ในเขตเทศบาลเมืองกำแพงเพชร อำเภอเมือง
กำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชร. พัฒนวารสาร ปีที่ 7 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2563.
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2560. (2560). หมวด 1 บททั่วไป ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 134 ตอนที่ 40 ก หน้า 4
หมวด 3 สิทธิและเสรีภาพของปวงชนชาวไทย. เล่ม 134 ตอนที่ 40 ก หน้า 8
พระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2556. (2556).
การส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิต.สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา 2556 หน้า 2
สมิต สัชฌุกร. (2542). การต้อนรับและบริการที่เป็นเลิศ. กรุงเทพฯ: วิญญูชน.
สันติ์ ศรียา. (2559). ประสิทธิภาพในการบริการสาธารณะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตภาคเหนือตอนบน.
วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต. สาขาวิชายุทธศาสตร์การพัฒนาภูมิภาค, มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
สุกัญญา มาลาอี. (2547). คุณภาพชีวิตการทำงานของข้าราชการครู สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสระแก้ว เขต 2.
วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยบูรพา.
สุวัฒน์ บุญเรือง. (2545). ความพึงพอใจของประชาชนต่อการให้บริการของเทศบาลตำบลสุนทรภู่
ศึกษาเฉพาะด้านการจัดเก็บรายได้. ปัญหาพิเศษรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานโยบายสาธารณะ,
บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยบูรพา.
อภิศักดิ์ กัลยาณมิตร, เอก ศรีเชลียง, ดรุณศักดิ์ ตติยะลาภะ และไททัศน์ มาลา. (2561). การพัฒนาระบบการให้บริการของ
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดปทุมธานี. มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์. วารสาร
บัณฑิตศึกษา ปีที่ 12 ฉบับที่ 2 พฤษภาคม – สิงหาคม 2561
Weber, M. (1966). The Theory of Social and Economic Organization. Trans. By A.M. Henderson and Talcott Person. (4th ed.). New York: The Free Press.
Frederickson, George. (2004). Toward a New Public Administration in Shafritz, Jay M &Hyde, Albert C. (2004). Classics of Public Administration. Wadswort: Cengage Learning, pp.315-326.