ปัจจัยที่ส่งผลต่อความถี่ของการซื้อสินค้าเข้าบ้านจากซุปเปอร์มาร์เก็ตและซุปเปอร์เซ็นเตอร์ของครัวเรือนในกรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • รัตนาภรณ์ นวรัตน์

คำสำคัญ:

การซื้อสินค้า พฤติกรรม ซุปเปอร์มาร์เก็ต

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความถี่ของการซื้อสินค้าเข้าบ้านจากซุปเปอร์มาร์เก็ตและซุปเปอร์เซ็นเตอร์ของครัวเรือนในกรุงเทพมหานคร โดยมีระเบียบวิธีวิจัยทั้งที่เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพและการวิจัยเชิงปริมาณภายใต้ทฤษฎีปริมาณการสั่งซื้อที่ประหยัด (EOQ) และแนวคิดช่วงวัยของประชากร ซึ่งกลุ่มตัวอย่างเป็นกลุ่มที่ทำหน้าที่หลักในการซื้อสินค้าเข้าบ้านจากซุปเปอร์มาร์เก็ตและซุปเปอร์เซ็นเตอร์ในกรุงเทพมหานครจำนวนทั้งสิ้น 469 ราย

ผลการวิเคราะห์ด้วยแบบจำลองโพรบิตแบบเรียงลำดับ (Ordered Probit) พบว่า ปัจจัยด้านต้นทุนในการเดินทาง อันได้แก่ระยะเวลาในการเดินทางไปซื้อสินค้าเข้าบ้าน และสถานะอาชีพที่ไม่ใช่พนักงานประจำหรือพ่อบ้านแม่บ้าน ปัจจัยด้านต้นทุนในการเก็บรักษาวัตถุดิบ ได้แก่ ช่วงอายุ และระดับการศึกษา ปัจจัยด้านความต้องการบริโภค ได้แก่รายได้ครัวเรือน ขนาดครัวเรือน 2 คนขึ้นไปและมีจำนวนบุตรหรือมีสมาชิกที่เป็นวัยรุ่นอาศัยในครัวเรือน ปัจจัยด้านทัศนคติ ได้แก่ทัศนคติที่มีต่อการซื้อสินค้า ทัศนคติที่มีต่อการทำอาหาร ปัจจัยด้านพฤติกรรม ได้แก่ความถี่ของการทานอาหารที่ทำเองที่บ้าน ความถี่ของการทานอาหารปรุงสำเร็จพร้อมทาน และความถี่ของการซื้อสินค้าเข้าบ้านผ่านช่องทางออนไลน์ ส่งผลต่อความถี่ของการซื้อสินค้าเข้าบ้านของครัวเรือนจากซุปเปอร์มาร์เก็ตและซุปเปอร์เซ็นเตอร์ในกรุงเทพมหานครอย่างมีนัยสำคัญ

References

Bawa, K., & Ghosh , A. (1999). A model of household grocery shopping behavior.
Marketing Letters, 10(2), p 149-160.
Blaylock, J.R. (1989). An economic model of grocery shopping frequency. Applied
Economics, 21(6), p 843-852.
Clifton, K., Muhs, D., Morrissey, T.,& Currans., M. (2014). Consumer behavior and travel
mode: An exploration of restaurant, drinking establishment, and convenience store patrons. International journal of sustainable transportation, 10(3), p 260-270.
Gorton, M., Sauer, J. and P. Supatpongku. (2009). Wet markets, supermarkets and the
“big middle” for food retailing in developing countries: evidence from Thailand. World Development 39, p 1624-1637.
Jiao, J., Vernez, A., & Drewnowski, A. (2016). Does urban form grocery shopping
frequency? A study from Seattle, Washington, USA. International Journal of Retail & Distribution Management 44(9), p 903-922.
Meneely, L., Strugnell, C., Burns, A., (2009). Elderly consumers and their food
store experiences. Journal of Retailing and Consumer Services, 16(6), p 458-465.
Nambiar, P.M., W.J. Florkowski, M. S. Chinnan , and A.V.A Ressurreccion. (2015). Shopping
outlet choice and frequency in urban areas of the republic of Ugenda. Paper
presented at yhe Southern Agricultural Economics Association (SAEA) Annua
meeting, Alanta, Gorgia, January 31-February 3, 2015.
Yoo, S., Baranowski, T., Missaghian M., Baranowski, J., Cullen, KW., Fisher, JO., Watson, K.,
Zakeri, I., Nicklas, T. (2005). Food-purchasing patterns for home: a grocery store-
intercept survey. Public health nutrition, 9(3), p 384-393.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-04-30

How to Cite

นวรัตน์ ร. . (2021). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความถี่ของการซื้อสินค้าเข้าบ้านจากซุปเปอร์มาร์เก็ตและซุปเปอร์เซ็นเตอร์ของครัวเรือนในกรุงเทพมหานคร. วารสารนวัตกรรมธุรกิจ การจัดการ และสังคมศาสตร์, 2(1), 75–91. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jibim/article/view/251324