การวิเคราะห์ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อการตั้งใจใช้บริการซ้ำในโรงพยาบาลเอกชนที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์และโรงพยาบาลที่ก่อตั้งจากมูลนิธิองค์กรการกุศลในกรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • รุจิภาส โพธิ์ทองแสงอรุณ RMUTP

คำสำคัญ:

คุณภาพบริการโลจิสติกส์, คุณภาพบริการ, คุณค่าตราสินค้า, ความพึงพอใจ, การตั้งใจใช้บริการซ้ำ

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาโครงสร้างความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตั้งใจใช้บริการซ้ำ โดยใช้แบบสอบถามเก็บข้อมูลจำนวน 400 ชุด จากผู้ใช้บริการโรงพยาบาลเอกชนที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์และโรงพยาบาลเอกชนที่ก่อตั้งขึ้นจากมูลนิธิองค์กรการกุศลในกรุงเทพมหานครมากกว่า 1 ครั้ง จำนวน 6 แห่ง สุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน สถิติที่ใช้ ได้แก่ การวิเคราะห์องค์ประกอบ การวิเคราะห์เส้นทาง ผลการศึกษาพบว่า 1) โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุที่พัฒนาขึ้นมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (c2=42.180,df=30,c2/df =1.406, p-value= 0.069, CFI=0.998, GFI=0.986, RMSEA=0.032, RMR=0.010, NFI=0.992) โดยมีประสิทธิภาพในการพยากรณ์ความพึงพอใจและการตั้งใจในการใช้บริการซ้ำร้อยละ 92แล ร้อยละ72 ตามลำดับ  2)คุณภาพบริการ  โลจิสติกส์มีความสัมพันธ์เชิงบวกและมีอิทธิพลทางตรงกับคุณภาพบริการทั้ง 5 ด้านและความพึงพอใจ โดยมีอิทธิพลทางอ้อมต่อการตั้งใจใช้บริการซ้ำผ่านคุณภาพบริการและความพึงพอใจของผู้ใช้บริการ ในขณะที่การตั้งใจในการใช้บริการซ้ำไม่ได้รับอิทธิพลจากคุณค่าตราสินค้า ซึ่งผลการวิจัยสะท้อนให้เห็นถึงการเชื่อมโยงระหว่างคุณภาพบริการโลจิสติกส์และคุณภาพบริการ ทำให้ผู้มาใช้บริการด้านสุขภาพเกิดความพึงพอใจและเชื่อมั่นว่าได้รับบริการที่มีคุณภาพ

References

กรณฐพรครองภพ สท้านไตรภพ.(2560) “ความสัมพันธ์ของคุณภาพบริการ การรับรู้คุณค่าภาพลักษณ์สายการบินและความพึงพอใจของลูกค้าที่ที่ส่งผลต่อการตั้งใจซื้อ บริการสายการบินต้นทุนต่ำ”. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฎยะลา
จุฬาดา ธนาบดินทร์.(2559). “รูปแบบความความสัมพันธ์ของคุณภาพการบริการ คุณค่าตราสินค้าและความพึงพอใจต่อความจงรักภักดีของผู้ป่วยที่มารับบริการหน่วยบริการรูปแบบพิเศษโรงพยาบาล มหาวิทยาลัยในประเทศไทย” วารสารบริการธุรกิจ เศรษฐศาสตร์และการสื่อสาร ปีที่ 11(1) : มกราคม – มิถุนายน 2559.
ณรงค์ฤทธิ์ กาละพุฒ (2553). “Healthcare Logistic” วารสารโลหิตและเวชศาสตร์บริการโลหิต:165-168 ; 2553.
ดวงพรรณ กริชชาญชัย และคณะ.(2557). “โลจิสติกส์ภายในโรงพยาบาล” โครงการ การวิจัยเพื่อพัฒนาระบบโลจิสติกส์โรงพยาบาลชุมชน.
ธัชกุล กัลยาธุวานนท์และคณะ . (2552). “การปรับปรุงการวัดประสิทธิภาพด้านคุณภาพของช่องทางโลจิติกส์ กรณีศึกษา บริษัท เจริญศิลป์พลาสติก พริ้นติ้ง จำกัด” การประชุมสัมมนาวิชาการด้านการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน: 106-116:19-21 พฤศจิกายน 2552.
ภาวิณี ทองแย้ม. “ความสำคัญของคุณภาพการบริการต่อความสำเร็จของธุรกิจ” วารสารเกษบัณฑิต : 219 - 232: 2560.
นงนุช กันธะชัย.(2557) “ความตั้งใจเชิงพฤติกรรมในการใช้บริการของนักท่องเที่ยวภายในประเทศ กรณีศึกษานักท่องเที่ยงจังหวัดเชียงราย “Journal of Management Sciences, Vol.32. 2 July –December 2016.
บุญมี ยอมพันธ์.(2561) “บุพพปัจจัยที่ส่งผลต่อการตั้งใจเลือกใช้บริการของผู้ใช้บริการโรงพยาบาลที่จดทะเบียนกับตลาดหลักทรัพย์ในเขตกรุงเทพมหานคร” วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาบริหารธุรกิจ. คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ ,2561.
พูลสุข นิลกิจศรานนท์.(2560) “แนวโน้มธุรกิจ/อุตสาหกรรม ปี 2561-2563 ธุรกิจโรงพยาบาลเอกชน”. วิจัยกรุงศรี. พฤศจิกายน 2560.
วิภาวัลย์ แซ่โง้ว.(2557) “ปัจจัยของคุณภาพโลจิสติกส์ต่อความพึงพอใจและความจงรักภักดีของผู้ใช้บริการโรงพยาบาลโรงเรียนแพทย์ศาสตร์โดยใช้โมเดลสมการโครงสร้าง”. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาบริหารธุรกิจ. คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจธุรกิจและเศรษฐกิจฐานราก ธนาคารออมสิน.(2559). “ธุรกิจ โรงพยาบาลเอกชน”.รายงานสถานการณ์ และแนวโน้มธุรกิจ/อุตสาหกรรมไตรมาส
สมฤดี ธรรมสุรัติ.(2554) “ปัจจัยคุณภาพบริการที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการและความภักดีต่อตราสินค้าของโรงพยาบาล เอกชน ในเขตกรุงเทพมหานคร”. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
สิริวิมล คำวงศ์.(2559). “ปัจจัยคุณภาพบริการที่ ส่งผลต่อความพึงพอใจ ความไว้เนื้อเชื่อใจ และความภักดีต่อบริษัทจัดท่องเที่ยวไปต่างประเทศของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร” การค้นคว้าอิสระ บริหารธุรกิจมหาบัณทิต.สาขา บริหารธุรกิจ. คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
อมรรัตน์ แย้มรส (2561) “ความสัมพันธ์ของคุณภาพบริการ คุณค่าตราสินค้าต่อความจงรักภักดีเชิงทัศนคติและเชิงพฤติกรรม ของผู้ใช้บริการโรงพยาบาลเอกชนที่ไม่ได้มุ่งแสวงหากำไรในเขตกรุงเทพมหานคร”วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาบริหารธุรกิจ. คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ
Aaker.(1996) D. A. Building strong brand. New York: Free.
Barney, J. B. (1991). Firm resources and sustainable competitive advantage. Journal of Management, 17, 99-120.
Cordupleski, Rust; & Zahorik. (1993). Customer satisfaction, customer retention, and market share. Journal of Retailing.
Parasuraman, A., Zeithaml, V. A. & Berry, L. L. Communication and control process in delivery of service quality. Journal of Marketing, 52 (April),1988
Oliver, R. L. Whence consumer loyalty. Journal of Marketing, 63 (1999) : 33-44.
Kulthakornsate, N. (2015). The Structural Equation Model of Causal. Journal of Business, Economics and Communications, 10 (2), 145-165.
Kotler, P. (1994). Marketing management: Analysis planning
Schiffman, Leon G; & Kanuk, Leslie Lazar. 1994) Consumer Behavior. 5thed. New Jersey: implementation and control (8th ed.). Engle Cliffs, NJ: Prentice-Hall.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-09-29