การศึกษาเปรียบเทียบผลิตภัณฑ์สินเชื่อเพื่อการอุปโภคบริโภคและเพื่อธุรกิจ กรณีศึกษา ธนาคารออมสิน

ผู้แต่ง

  • จิตชนัย คณะบุตร TU

คำสำคัญ:

ผลิตภัณฑ์สินเชื่อ, หนี้ค้างชำระ, การให้สินเชื่อ, สินเชื่อเพื่อการอุปโภคบริโภค, สินเชื่อเพื่อธุรกิจ

บทคัดย่อ

การศึกษาเกี่ยวกับ ผลิตภัณฑ์สินเชื่อเพื่อการอุปโภคบริโภค และเพื่อธุรกิจ กรณีศึกษา ธนาคารออมสิน จำนวน 4 ผลิตภัณฑ์ ได้แก่ สินเชื่อโครงการธนาคารประชาชน สินเชื่อเพื่อพัฒนาชนบท สินเชื่อไทรทองเพื่อการศึกษา และสินเชื่อไทรทองเพื่อไปทำงานต่างประเทศ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบลักษณะผลิตภัณฑ์สินเชื่อเพื่อการอุปโภคบริโภคและเพื่อธุรกิจ ตลอดจนศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการเกิดหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPLs) ซึ่งกระทบต่อความสำเร็จในการให้สินเชื่อเพื่อการอุปโภคบริโภคและเพื่อธุรกิจ

การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาวิจัยเชิงผสมผสานระหว่างการวิจัยเชิงคุณภาพและ       การวิจัยเชิงปริมาณ (Combine Qualitative and Quantitative Methodology Design)                โดยการศึกษาเชิงคุณภาพ ใช้การวิเคราะห์เชิงพรรณาเปรียบเทียบเพื่ออธิบายลักษณะผลิตภัณฑ์สินเชื่อรูปแบบใด ที่ธนาคารควรจะออกผลิตภัณฑ์ (Documentary Research) ตลอดจนบทสัมภาษณ์ของพนักงานธนาคาร (In-Depth Interview) จำนวน 3 ท่าน เพื่ออธิบายกระบวนการให้สินเชื่อของธนาคาร และวิธีพิจารณาการให้สินเชื่อ สำหรับการศึกษาเชิงปริมาณ ใช้วิธีการวิเคราะห์ความถดถอยโลจิสติค (Logistic Regression Analysis) แบบ Binary Logistic เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการเกิดหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPLs) ส่งผลกระทบต่อความสำเร็จดังกล่าว

ผลการศึกษาพบว่า ลักษณะผลิตภัณฑ์สินเชื่อ จำแนกได้ 8 ด้าน ดังนี้ 1) คุณสมบัติผู้กู้     2) วัตถุประสงค์การขอกู้ 3) จำนวนเงินให้กู้ 4) ระยะเวลาชำระคืน 5) อัตราดอกเบี้ยเงินกู้   6) หลักประกันการกู้เงิน 7) เงื่อนไขอื่น 8) วิธีปฏิบัติการพิจารณาสินเชื่อ สำหรับปัจจัยที่ส่งผลต่อการ


เกิดหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPLs) จำแนกตัวแปร 3 กลุ่ม ดังนี้ 1) ตัวแปรเงื่อนไขสินเชื่อ ได้แก่ วงเงินกู้ และจำนวนเงินงวดที่มีปริมาณน้อย ระยะเวลาผ่อนชำระหนี้ยาว การมีหลักทรัพย์ค้ำประกัน ส่งผลต่อโอกาสที่ลูกค้าเกิดหนี้ค้างชำระน้อยลง อย่างไรก็ตามวัตถุประสงค์การกู้เพื่อประกอบธุรกิจ ส่งผลต่อโอกาสที่ลูกค้าเกิดหนี้ค้างชำระเพิ่มขึ้น 2) ตัวแปรอาชีพ ได้แก่ พนักงานและลูกจ้างในบริษัท อาชีพอิสระ ผู้รับจ้างทั่วไป/ผู้ใช้แรงงาน วิชาชีพเฉพาะ และอาชีพว่างงาน ส่งผลต่อโอกาสที่ลูกค้าเกิดหนี้ค้างชำระเพิ่มขึ้น เมื่อเปรียบเทียบกับข้าราชการและลูกจ้างในหน่วยงานของรัฐ อย่างไรก็ตามผู้ประกอบธุรกิจ ส่งผลต่อโอกาสที่ลูกค้าเกิดหนี้ค้างชำระลดลง 3) ตัวแปรปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ วงเงินกู้ จำนวนเงินงวดที่มีปริมาณน้อย ระยะเวลาผ่อนชำระหนี้ยาว การมีหลักทรัพย์ค้ำประกัน และวัตถุประสงค์การกู้เพื่ออุปโภคบริโภค ส่งผลต่อโอกาสที่ลูกค้าเกิดหนี้ค้างชำระลดลง สำหรับช่วงวัยกลางคนก่อหนี้สินมากกว่าวัยอื่น อย่างไรก็ตามวัยเริ่มต้นทำงาน ส่งผลต่อโอกาสเกิดหนี้ค้างชำระมากกว่าวัยอื่น

References

หนังสือและบทความ
รัชนีกร วงศ์จันทร์. (2555). การบริหารการเงินส่วนบุคคล. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย.
สมาคมสถาบันการศึกษาการธนาคารและการเงินไทย. (2552). คู่มือการเงินการธนาคารสำหรับนักการธนาคารไทย. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: เอราวัณการพิมพ์.
ชนินทร์ พิทยาวิวิธ. (2550). การบริหารสินเชื่อสถาบันการเงินครบวงจร. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ: อักษรโสภณ.
ภิเษก ชัยนิรันดร์. (2544). การบริหารสินเชื่อ. กรุงเทพฯ: สายธาร.
ยูนุส, มูฮัมหมัด. (2553). นายธนาคารเพื่อคนจน: VERS UN MONDE SANS PAUVRETE (สฤณี อาชวานันทกุล ผู้แปล). พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มติชน. (ต้นฉบับพิพม์ปี 2542).
รายงานการวิจัย
ขนิษฐา วนะสุข. จุฬารัตน์ โฆษะโก. ภาวนิศร์ ชัววัลลี. (2557). สัมนาเศรษฐกิจภาคใต้. หนี้ครัวเรือนกับเศรษฐกิจภาคใต้, 2557, 4.
สุนันทา กาบกว้ง , สิรินาฎ พรศิริประทาน , พีรพงษ์ ตรีชะฏา , วัชรัศมิ์ ลีละวัฒน์ , ปังปอนด์ รักอำนวยกิจ และพิริยะ ผลพิรุฬห์. (2552). สถาบันการเงินในระดับจุลภาค : กรณีศึกษาเปรียบเทียบระหว่างบังคลาเทศ มองโกเลีย และไทย. กรุงเทพฯ: สถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและการพัฒนา (องค์การมหาชน)
วิทยานิพนธ์และสารนิพนธ์
กาญจนา ไฝ่ศรี. (2556). ปัจจัยที่มีผลต่อหนี้ค้างชำระสินเชื่อสวัสดิการของธนาคารออมสิน สาขาเชียงแสน จังหวัดเชียงราย. (สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. คณะเศรษฐศาสตร์, สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์.
จิราภรณ์ ธิยะสืบ. (2552). การบริหารสินเชื่อเพื่อลดปัญหาหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ของธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) สำนักงานเขตลำปาง. (สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. คณะเศรษฐศาสตร์, สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์.
ดัชนีกร มีภาษี. (2556). ปัจจัยที่มีผลต่อการอนุมัติสินเชื่อและแนวทางในการแก้ไขหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPLs) ของธนาคารออมสินในจังหวัดสุพรรณบุรี. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. คณะบริหารธุรกิจ, สาขาวิชาบริหารธุรกิจ.
ตะวัน ทิพย์พรหมมา. (2547). ปัจจัยที่มีผลต่อการเป็นหนี้ค้างชำระบัตรเครดิต ของธนาคารพาณิชย์แห่งหนึ่ง ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่. (สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. คณะเศรษฐศาสตร์, สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์.
เบ็ญจวรรณ ลีลาเชี่ยวชาญกุล. (2556). การวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อปริมาณการปล่อยสินเชื่อและยอดคงค้างเงินให้สินเชื่อด้อยคุณภาพของธนาคารพาณิชย์ในประเทศไทย:กรณีศึกษาสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. คณะเศรษฐศาสตร์, สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ธุรกิจ.
พิเชต ศรีสืบ. (2547). ปัจจัยที่ทำให้เกิดหนี้เสียเงินกู้ประเภทมีกำหนดระยะเวลาใช้คืน. (สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. คณะเศรษฐศาสตร์, สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์.
ฤทัยรัตน์ บุญจันทร์. (2558). วิเคราห์ผลการดำเนินงานโครงการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำเพื่อเป็นเงินทุนหมุนเวียนให้แก่ผู้ประกอบการ SMEs: กรณีโครงการย่อยของธนาคารออมสิน. (สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. คณะเศรษฐศาสตร์, สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ธุรกิจ.
วิกรานต์ พืชพันธ์ไพศาล. (2548). ปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดหนี้ค้างชำระเงินกู้ เช่าซื้อรถยนต์ ของบริษัทเงินทุนแห่งหนึ่ง ในอำเภอเมืองนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์. (สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. คณะสังคมศาสตร์, สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์การเมือง.
ศิขริน ศิริอ่อน. (2554). ปัจจัยที่ทําให้เกิดการค้างชําระหนี้เงินกู้เพื่อที่อยู่อาศัยของลูกค้าธนาคารกรุงไทย จํากัด (มหาชน). สาขารามอินทรา กม.10 กรุงเทพมหานคร. (สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. คณะเศรษฐศาสตร์, สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์พัฒนามนุษย์.
สินธนา พลภักดี. (2551). การประเมินผลการติดตามหนี้ค้างชำระสินเชื่อโครงการธนาคารประชาชนของธนาคารออมสิน เขตเชียงใหม่ 1. (สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. คณะเศรษฐศาสตร์, สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์.
สุประพล พาฬิโพธิ์. (2554). ปัญหาการค้างชำระหนี้กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) กรณีศึกษาผู้กู้ยืมที่ค้างชำระ. (สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเกริก. คณะศิลปศาสตร์, สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์.
สมฤทัย บัวกึ่ง และอรจันทร์ ศิริโชติ. (2555). ปัจจัยที่มีผลต่อการชําระคืนเงินก้ของสมาชิกสหกรณ์การเกษตรเมืองสงขลา จํากัด. (สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเกริก. คณะเศรษฐศาสตร์และบริหารธุรกิจ, สาขาวิชาการจัดการธุรกิจ.
หัสดิน อัครพงษ์สวัสดิ์. (2550). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเกิดหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ ของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร สาขาดอยหล่อ จังหวัดเชียงใหม่. (สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. คณะเกษตรศาสตร์, สาขาวิชาธุรกิจการเกษตร.
ชุดข้อมูล
ธนาคารออมสิน. (2561). ข้อมูลลูกค้าสินเชื่อโครงการธนาคารประชาชน สินเชื่อเพื่อพัฒนาชนบท สินเชื่อไทรทองเพื่อการศึกษา และสินเชื่อไทรทองเพื่อไปทำงานต่างประเทศ. กรุงเทพฯ: ฝ่ายบริหารข้อมูลลูกค้า ธนาคารออมสิน.
สัมภาษณ์
ดวงใจ จ้อยศิริ. พนักงานธุรกิจสาขา 7 ธนาคารออมสิน สาขาคลอง 10 ธัญบุรี.
(11 พฤษภาคม 2561). สัมภาษณ์.
ปาริฉัตตก์ เสงี่ยมงาม. พนักงานธุรกิจสาขา 5 ธนาคารออมสิน สาขาโลตัส คลอง 7.
(1 กุมภาพันธ์ 2561). สัมภาษณ์.
สิริพร อยู่เอี่ยม. พนักงานวิเคราะห์สินเชื่อ 6 ธนาคารออมสิน เขตปทุมธานี 2.
(11 พฤษภาคม 2561). สัมภาษณ์.
สื่ออิเล็กทรอนิกส์
ธนาคารกรุงเทพ. (2560). งบการเงินไตรมาส 2 ประจำปี 2560. สืบค้นจาก http://www.bangkokbank.com/DocumentsFinancial/FS2Q_TH2017.pdf
ธนาคารกรุงไทย. (2560). งบการเงินไตรมาส 2 ประจำปี 2560. สืบค้นจาก http://www.ktb.co.th/Download/investorrelations/InvestorRelationsDownload_115FS_2Q2017_th.pdf
ธนาคารกสิกรไทย. (2560). งบการเงินไตรมาส 2 ประจำปี 2560. สืบค้นจาก https://www.kasikornbank.com/th/IR/FinanInfoReports/financialReports/2Q17_audited-th.pdf
ธนาคารไทยพาณิชย์. (2560). งบการเงินไตรมาส 2 ประจำปี 2560. สืบค้นจาก http://www.scb.co.th/th/getfile/76/fr
ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์. (2560). งบการเงินไตรมาส 2 ประจำปี 2560. สืบค้นจาก https://www.baac.or.th/file-upload/000171-0-FS-report30.06.60.pdf
ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย. (2560). งบการเงินไตรมาส 2 ประจำปี 2560. สืบค้นจากhttp://www.exim.go.th/doc/th/about_exim/EXIM_FIN_Q22017_REVIEWED_TH.pdf
ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจ ขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย. (2560). งบการเงินไตรมาส 2 ประจำปี 2560. สืบค้นจาก https://www.smebank.co.th/assets/th/pdf/STMreport-2-2560.pdf
ธนาคารแห่งประเทศไทย. (2560). รายงานฐานะการเงินของธนาคารพาณิชย์ทั้งระบบ. สืบค้นจาก http://www2.bot.or.th/statistics/BOTWEBSTAT.aspx?reportID=779&language=TH
ธนาคารอาคารสงเคราะห์. (2560). งบการเงินไตรมาส 2 ประจำปี 2560. สืบค้นจาก https://www.ghbank.co.th/assets/about/financial-Information/document/operational-results/6676-7208.pdf
ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย. (2560). งบการเงินไตรมาส 2 ประจำปี 2560. สืบค้นจาก http://www.ibank.co.th/2010/FileUpload/About/annual/FileTh62.pdf%B9%80%E0%B8%87%E0%B8%99%E0%B9%84%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%AA-3-%E0%B8%9B-2560.aspx
ธนาคารออมสิน. (2560). งบการเงินไตรมาส 2 ประจำปี 2560. สืบค้นจาก https://www.gsb.or.th/getattachment/7b63dc53-3ecf-462c-88e3-d0ed88ff68ca/%E0%B8%87%E0%B8%9A%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%87%E0%B8%99%E0%B9%84%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%AA-3-%E0%B8%9B-2560.aspx
ธนาคารออมสิน. (2553 - 2559). รายงานประจำปี. สืบค้นจาก https://www.gsb.or.th/about-us/corporate-governance/report/annualreport.aspx
ธนาคารออมสิน. สินเชื่อโครงการธนาคารประชาชน. สืบค้นจากhttps://www.gsb.or.th/freelance/products/loan/government/%E0%B8%AA%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%8A%E0%B8%AD%E0%B9%82%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%98%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%84%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%99-(1).aspx
ธนาคารออมสิน. สินเชื่อเพื่อพัฒนาชนบท. สืบค้นจาก https://www.gsb.or.th/freelance/%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B8%8A%E0%B8%99%E0%B8%82%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%94%E0%B9%83%E0%B8%AB%E0%B8%8D/%E0%B8%AA%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%8A%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%81%E0%B8%A3/%E0%B8%AA%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%8A%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%8A%E0%B8%A1%E0%B8%8A%E0%B8%99/%E0%B8%AA%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%8A%E0%B8%AD%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B8%AD%E0%B8%9E%E0%B8%92%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%99%E0%B8%9A%E0%B8%97.aspx
Books and Articles
Ando and Modigliani. (1963). The "Life Cycle" Hypothesis of Saving: Aggregate Implications and Tests. The American Economic Review, Vol. 53, No. 1, Part 1 (Mar., 1963), 55-84.
Joseph French Johnson. (1905). Money and Currency: In Relation to Industry, Prices and the Rate of Interest (Revise Edition). in Boston - New York - Chicago - London: Ginn and Co.
Stiglitz and Weiss. (1981). Credit Rationing in Markets with Imperfect Information. The American Economic Review, Vol71, Issue 3 (Jun., 1981), 393-410.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-09-29

How to Cite

จิตชนัย คณะบุตร. (2020). การศึกษาเปรียบเทียบผลิตภัณฑ์สินเชื่อเพื่อการอุปโภคบริโภคและเพื่อธุรกิจ กรณีศึกษา ธนาคารออมสิน. วารสารนวัตกรรมธุรกิจ การจัดการ และสังคมศาสตร์, 1(1), 95–135. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jibim/article/view/242630