ศึกษาบทบาทงานสาธารณสงเคราะห์ของพระครูปริยัติกิจธำรง (สมหวัง อคฺคเสโน)

ผู้แต่ง

  • พระพยุง คุณธมฺโม พุทธศาสตรมหาบัณฑิต วิชาพระพุทธศาสนา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตสุรินทร์
  • ภัฏชวัชร์ สุขเสน พุทธศาสตรมหาบัณฑิต วิชาพระพุทธศาสนา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตสุรินทร์
  • พระปลัดกิตติ ยุตฺติธโร พุทธศาสตรมหาบัณฑิต วิชาพระพุทธศาสนา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตสุรินทร์

บทคัดย่อ

     งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาเกี่ยวกับบทบาทงานสาธารณสงเคราะห์ในสังคมไทย 2) เพื่อศึกษาบทบาทงานสาธารณสงเคราะห์ของพระสงฆ์ไทย และ 3) เพื่อวิเคราะห์บทบาทงานสาธารณสงเคราะห์ของพระครูปริยัติกิจธำรง (สมหวัง อคฺคเสโน) เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยศึกษาภาคสนาม สัมภาษณ์เชิงลึกแล้วนำเสนอแบบเชิงพรรณนาวิเคราะห์
     ผลการวิจัยพบว่า สภาพปัญหาเกี่ยวกับบทบาทงานสาธารณสงเคราะห์ในสังคมไทย พบว่า 1) สภาพปัญหาการดำเนินการ ยังขาดการจัดทำแผนงานนโยบายและงบประมาณอย่างต่อเนื่อง 2) ปัญหาการช่วยเหลือเกื้อกูลกิจการของผู้อื่น งานตกอยู่พัฒนากรอำเภอส่วนปกครอง แต่ความไม่ต่อเนื่องทำให้หยุดกิจการไป 3) ปัญหาการสนับสนุนเกื้อกูลสาธารณสมบัติ ซึ่งส่วนใหญ่ขาดผู้รับผิดชอบในการประสานงาน และขาดการมีส่วนร่วม และ 4) ปัญหาการเกื้อกูลประชาชน สงเคราะห์ผู้ยากไร้โดยร่วมบริจาคเงินสมทบ แต่ยังไม่ต่อเนื่องเพราะปัญหาจากขาดการสนับสนุน บทบาทงานสาธารณสงเคราะห์ของพระสงฆ์ไทย พบว่า มีบทบาทงาน 4 ด้าน คือ 1) ด้านการสงเคราะห์ช่วยเหลือ เช่น มีสถานที่หรือศูนย์สาธารณสงเคราะห์ประจำจังหวัด 2) ด้านการสนับสนุนเกื้อกูล เช่น โครงการวัดช่วยวัด 3) ด้านการมีส่วนร่วมพัฒนา เช่น โครงการบวช บ้าน วัด หรือราชการ เข้าไปมีส่วนพัฒนา เช่น เรื่องหมู่บ้านรักษาศีล 5 และ 4) ด้านการบูรณาการเครือข่าย เช่น การติดต่อประสานงานบุคคลอื่น ในทางคณะสงฆ์ ราชการ เอกชนและประชาชน ส่วนบทบาทงานสาธารณสงเคราะห์ของพระครูปริยัติกิจธำรง (สมหวัง อคฺคเสโน) พบว่าบทบาทงาน 4 ด้าน 1) ด้านการสงเคราะห์วัดและคณะสงฆ์ เช่น โครงการดูแลพระภิกษุอาพาธ 2) ด้านการเกื้อกูลชุมชน เช่น การจัดสถานที่ช่วยเหลือผู้ป่วยโควิด รวมกับคณะสงฆ์และบ้านเมือง ช่วยเหลือผู้สูงอายุ 3) ด้านการพัฒนาชุมชน เช่น การอบรมคุณธรรมฝ่ายปกครองท้องถิ่นและส่งเสริมเกษตรอินทรีย์ 4) ด้านการบูรณาการกับภาครัฐ เอกชน และชุมชน เช่น ร่วมกับวัดชาวบ้านราชการสมทบทุนสร้างบ้านให้กับผู้ยากไร้ และช่วยเหลือผู้ประสบภัย เป็นต้น

Downloads

Download data is not yet available.

References

ณัชพล ศิริสวัสดิ์. (2564, กรกฎาคม - กันยายน). “การศึกษาเครือข่ายงานสาธารณสงเคราะห์ของคณะสงฆ์ไทยในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19).” วารสารมจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์. 10(3) : 268-270.

พระครูกิตติวรานุวัตร พระฉัตรชัย อธิปญฺโญ และพระอุดมสิทธินายก. (2561, กันยายน – ธันวาคม). “บทบาทพระสงฆ์ในการสืบสานวัฒนธรรมไทย.” วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์. 5(3) : 468-487.

พระครูใบฎีกาสุรพล อาสโภ (แย้มชุ่ม). (2557). การพัฒนารูปแบบงานสาธารณสงเคราะห์ตามกระบวนทัศน์วิถีพุทธ. วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการเชิงพุทธ บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระครูประภัสร์สิทธิคุณ (ประสิทธ์ ปภสฺสโร). (2555). บทบาทของพระสงฆ์ด้านงานสาธารณสงเคราะห์ของคณะสงฆ์ อำเภอจตุรพักตรพิมาน จังหวัดร้อยเอ็ด. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระครูปราโมทย์ปัญญาวัฒน์. (2563). “การจัดการสาธารณสงเคราะห์ของพระสังฆาธิการในอำเภอบางคนที จังหวัดสมุทรสงคราม.” วารสารศิลปะศาสตร์ราชมงคลสุวรรณภูมิ. 2(1) : 390.

พระครูวิริยศาสนกิจ และคณะ. (2562). “การพัฒนาการบริหารจัดการงานสาธารณสงเคราะห์ของคณะสงฆ์จังหวัดสุพรรณบุรี.” วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์. 8(1) : 36-39.

พระครูอาทรกิจจาภิรักษ์. (2562). “บทบาทของพระสงฆ์กับงานสาธารณสงเคราะห์.” วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์. 6(10) : 4719.

พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต). (2542). มองสันติภาพโลกผ่านภูมิหลังอารยธรรมโลกาภิวัตน์. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์บริษัทสหธรรมิก.

พระธีรพันธุ์ ฐิตธมฺโม และคณะ. (2565). “การศึกษางานสาธารณสงเคราะห์ของคณะสงฆ์จังหวัดนครสวรรค์ที่มีต่อการพัฒนาสังคม.” วารสารวิจัยวิชาการ. 5(2) : 28-30.

พินิจ ลาภธนานนท์. (2562). อดีต ปัจจุบัน และอนาคต งานสาธารณสงเคราะห์วิถีพุทธของคณะสงฆ์ไทย. นนทบุรี : นิติธรรมการพิมพ์.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-29

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research Articles)