การศึกษาทักษะทางการเงินของนักศึกษา คณะบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

ผู้แต่ง

  • ปวีณา คำพุกกะ คณะบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
  • อรุณรัตน์ เศวตธรรม คณะบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
  • ปดิวรดา ล้อมลาย คณะบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
  • สุภัตราภรณ์ สายสมบูรณ์ คณะบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
  • รินทร์ลภัส ชัยหิรัญกิตติ์ คณะบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

คำสำคัญ:

การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ, ทักษะทางการเงิน, นักศึกษา, คณะบริหารศาสตร์, มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

บทคัดย่อ

     เศรษฐกิจโลกที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วเน้นย้ำถึงความสำคัญของทักษะทางการเงิน โดยเฉพาะสำหรับนักศึกษาที่จะเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศในอนาคต ทักษะทางการเงินซึ่งครอบคลุมความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมในการตัดสินใจทางการเงิน มีความสำคัญต่อเสถียรภาพทางเศรษฐกิจส่วนบุคคลและระดับประเทศ การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบทักษะทางการเงินของนักศึกษา คณะบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี จำแนกตามลักษณะส่วนบุคคล และ 2) เปรียบเทียบวิธีการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจทักษะทางการเงินของนักศึกษา คณะบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ประชากร คือ นักศึกษาของคณะบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี จำนวน 2,723 คน กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาของคณะบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี จำนวน 675 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบสะดวก (Convenient Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามที่มีค่าความเชื่อมั่นของทักษะทางการเงินทั้งฉบับเท่ากับ 0.935 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ
     ผลการวิจัยพบว่า 1) นักศึกษาชายของคณะบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี มีทักษะการเงินในภาพรวม และแยกองค์ประกอบเป็น ด้านความรู้ทางการเงิน ด้านพฤติกรรมทางการเงิน และด้านทัศนคติทางการเงินดีกว่านักศึกษาหญิง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และ 2) วิธีการวิเคราะห์องค์ประกอบหลัก (Principal Components) ให้ค่าร้อยละของความแปรปรวนสะสมได้สูงที่สุด 67.335 โดยทักษะทางการเงินสามารถแบ่งได้ 5 องค์ประกอบ ได้แก่ องค์ประกอบที่ 1 การก่อหนี้เกินตัว สามารถอธิบายทักษะทางการเงินได้ร้อยละ 16.308 องค์ประกอบที่ 2 การใช้จ่ายอย่างรอบคอบ สามารถอธิบายทักษะทางการเงินได้ร้อยละ 15.028 องค์ประกอบที่ 3 การออมและการลงทุน สามารถอธิบายทักษะทางการเงินได้ร้อยละ 13.124 องค์ประกอบที่ 4 การวางแผนการเงิน สามารถอธิบายทักษะทางการเงินได้ร้อยละ 11.923 และองค์ประกอบที่ 5 การปรับตัวทางการเงิน สามารถอธิบายทักษะทางการเงินได้ร้อยละ 10.951
     สรุปผลการวิจัย การเปรียบเทียบทักษะทางการเงินของนักศึกษา คณะบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี โดยรวมนักศึกษาชายมีทักษะทางการเงินดีกว่านักศึกษาหญิงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และการวิเคราะห์องค์ประกอบหลักพบว่าทักษะทางการเงินสามารถแบ่งออกเป็น 5 องค์ประกอบหลัก ได้แก่ การก่อหนี้เกินตัว การใช้จ่ายอย่างรอบคอบ การออมและการลงทุน การวางแผนการเงิน และการปรับตัวทางการเงิน ซึ่งอธิบายความแปรปรวนสะสมได้ร้อยละ 67.335

Downloads

Download data is not yet available.

References

ธนาคารแห่งประเทศไทย. (2563). “รายงานผลการสำรวจทักษะทางการเงินของไทย ปี 2563.” [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : https://www.bot.or.th/content/dam/bot/image/research-and-publications/2563ThaiFLsurvey.pdf สืบค้น 9 สิงหาคม 2567.

ปวีณา คำพุกกะ. (2557). เอกสารประกอบการสอนวิชา วิจัยธุรกิจ. อุบลราชธานี : สาขาวิชาการจัดการธุรกิจ คณะบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.

____. (2566). เอกสารประกอบการสอนวิชา สถิติและการวิเคราะห์เชิงปริมาณทางธุรกิจ. สาขาวิชาการจัดการธุรกิจ คณะบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.

ปวีณา คำพุกกะ และคณะ. (2567). การศึกษาทักษะทางการเงินของนักศึกษา คณะบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. อุบลราชธานี : คณะบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.

พิจิตรา ทองสา, อรุณรัตน์ เศวตธรรม และปวีณา คําพุกกะ. (2567, มกราคม-มิถุนายน). “ความตั้งใจในการใช้บริการสินเชื่อที่อยู่อาศัยผู้สูงอายุ.” วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์. 26(1) : 203 - 220.

ยุทธ ไกยวรรณ์. (2556). การวิเคราะห์สถิติหลายตัวแปรสำหรับงานวิจัย. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ศรัญญา ศึกสงคราม และอนงค์นุช เทียนทอง. (2563). "อิทธิพลของความรู้และทัศนคติทางการเงินต่อการก่อหนี้ส่วนบุคคลในวัยเริ่มทำงาน:หลักฐานการศึกษาในจังหวัดชัยภูมิ." วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี. 2(5) : 73-87.

ศศิวิมล ว่องวิไล, ธนินทร์ รัตนโอฬาร และกฤษณา คิดดี. (2558, กันยายน – ธันวาคม). “การวิเคราะห์องค์ประกอบของกระบวนการจัดการความรู้ของมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ.” Veridian E-Journal, Slipakorn University. 8(3) : 811 - 829.

สุภมาส อังศุโชติ, สมถวิล วิจิตวรรณา และรัชนีกูล ภิญโญภานุวัฒน์. (2552). สถิติวิเคราะห์สำหรับการวิจัยทางสังคมศาสตร์และพฤติกรรมการศาสตร์ เทคนิคการใช้โปรแกรม Lisrel. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ : เจริญดีมั่นคงการพิมพ์.

ELifneh, Y. W. (2021). “Financial literacy among high school teenagers in a developing country context-an empirical study with reference to high school students in Addis Ababa, Ethiopia.” Independent Journal of Management & Production. 12(5) : 1436-1452.

Gudjonsson, S., Minelgaite, I., Kristinsson, K., & Pálsdóttir, S. (2022). “Financial Literacy and Gender Differences: Women Choose People While Men Choose Things?.” Administrative Sciences. 12(4) : 179.

Huston, S. J. (2010). “Measuring Financial Literacy.” The Journal of Consumer Affairs. 44(2) : 296-316.

Lopez-Agudo, L. A., & Marcenaro-Gutierrez, O. D. (2023). “Financial Education in Secondary Education : A Cross-Country Analysis.” CESifo Economic Studies. 69(1) : 21-60.

Lusardi, A. ( 2014). “Financial literacy : Do people know the ABCs of finance?.” Public Understanding of Science. 24(3) : 260-271.

Mändmaa, S. (2020). “Personal financial literacy among university students studying engineering.” International Journal for Innovation Education and Research. 8(8) : 669-692.

Mukan, M., Malik, G., & Mukametkaliyeva, M. A. (2023). “The impact of financial literacy among Kazakhstani students on volume of micro loans.” Central Asian Economic Review. (2) : 129-140.

Remund, D. (2010). “Financial literacy explicated : The case for a clearer definition in an increasingly complex economy.” Journal of Consumer Affairs. 44(2) : 276-295.

Reznik, S.D., Chernikovskaya, M.V., & Sazykina, O.A. (2023). “Gender features of developing financial literacy of Russian university students.” Population. 26(2), 176-188.

Sahabuddin, Z. A., & Hadianto, B. (2023). “Gender, financial literacy, and financial behavior among students.” Humanities and Social Sciences Letters. 11(2) : 203-212.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-11-28

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research Articles)