การออกแบบและพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้จากประสบการณ์ เพื่อส่งเสริมความฉลาดรู้คณิตศาสตร์สำหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาตอนต้น
คำสำคัญ:
การออกแบบและพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้, ชุดกิจกรรมการเรียนรู้, ความฉลาดรู้คณิตศาสตร์, การเรียนรู้จากประสบการณ์, ประถมศึกษาตอนต้นบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ออกแบบและพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้จากประสบการณ์เพื่อส่งเสริมความฉลาดรู้คณิตศาสตร์ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาตอนต้น 2) ศึกษาผลการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้จากประสบการณ์เพื่อส่งเสริมความฉลาดรู้คณิตศาสตร์ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาตอนต้น กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูที่สอนวิชาคณิตศาสตร์สังกัดคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในจังหวัดมุกดาหาร จำนวน 5 คน นักออกแบบ จำนวน 3 คน และ นักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนต้น จำนวน 98 คน ได้มาจากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Muti-stage Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบสัมภาษณ์ ประกอบด้วยแบบตั้งคำถามสู่โอกาส แบบระดมสมอง แบบใบแสดงความคิด แบบสังเคราะห์ข้อมูล แบบต้นแบบแสดงแนวคิด 2) ชุดกิจกรรมการเรียนรู้จากประสบการณ์ 3) แบบทดสอบความฉลาดรู้คณิตศาสตร์ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาตอนต้น มีค่าความยากง่ายของแบบทดสอบแต่ละข้อมีค่า ตั้งแต่ 0.27-0.77 ค่าอำนาจจำแนกมีค่าตั้งแต่ 0.22-1.00 และค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับของ แบบทดสอบเท่ากับ 0.88 และ 4) แบบประเมินสะท้อนคิด การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์เนื้อหาและการตีความ การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ สถิติที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และร้อยละ
ผลการวิจัยพบว่า 1) การพัฒนาหลักการออกแบบซึ่งมีคุณลักษณะสำคัญสำหรับใช้การออกแบบต้นแบบชุดกิจกรรมการเรียนรู้จากประสบการณ์เพื่อส่งเสริมความฉลาดรู้คณิตศาสตร์ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาตอนต้น โดยกำหนดองค์ประกอบของชุดกิจกรรมการเรียนรู้จากประสบการณ์เพื่อส่งเสริมความฉลาดรู้คณิตศาสตร์ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาตอนต้น ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้จากประสบการณ์ บทบาทของครูผู้สอน บทบาทของผู้เรียน การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ผลงานและภาระงานของผู้เรียน 2) ผลการทดสอบใช้ชุดกิจกรรมอยู่ในระดับคุณภาพระดับดีและดีเยี่ยม ผลจากการสัมภาษณ์ครูผู้สอนพบว่า ชุดกิจกรรมการจัดการเรียนรู้นี้ ทำให้ผู้เรียนมีความสนใจและสนุกสนานกับการเรียนมากขึ้น โดยเฉพาะเมื่อมีการใช้กิจกรรมที่ดึงดูดความสนใจและเหมาะสมกับวัยของผู้เรียน ผู้เรียนมีความเข้าใจในเนื้อหาบทเรียนง่ายขึ้นและสามารถรับรู้ความรู้ได้ดีขึ้นความพร้อมในการเรียนรู้ แสดงความพร้อมในการเรียนรู้มากขึ้น การประเมินและสะท้อนคิดจากการทดลองในบริบทจริงพบว่าการสะท้อนคิดและประเมินยืนยันถึงความสำเร็จของชุดกิจกรรมในการส่งเสริมความฉลาดรู้คณิตศาสตร์สำหรับนักเรียนในระดับชั้นประถมศึกษาตอนต้น
Downloads
References
ชรินรัตน์ ด้วงธรรม และวนินทร พูนไพบูลย์พิพัฒน์. (2565). “การพัฒนาความฉลาดรู้ด้านคณิตศาสตร์ด้วยการจัดการเรียนรู้ออนไลน์ ตามกระบวนการคิดให้เป็นคณิตศาสตร์ เรื่อง ความน่าจะเป็นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5.” Journal of Roi Kaensarn Academi. 7(11) : 372–89.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามุกดาหาร. (2565). ผลการประเมิน (NT) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : https://mdh.go.th/ สืบค้น 25 พฤษภาคม 2566.
สุธารัตน์ บุญเลิศ และธัญญา กาศรุณ. (2566). “การพัฒนางานทางคณิตศาสตร์ที่สอดคล้องกับกรอบการประเมินของ PISA เพื่อส่งเสริมความฉลาดรู้ด้านคณิตศาสตร์ของนักเรียน.” Journal of Roi Kaensarn Academi. 8(6) : 381–92.
สมชาย โพธิจาทุม. (2564). การศึกษาความฉลาดรู้ด้านคณิตศาสตร์เรื่องปริมาณปริภูมิและรูปทรงของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ตามกระบวนการคิดให้เป็นคณิตศาสตร์. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาคณิตศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
อภิสิทธิ์ ไล่ศัตรูไกล. (2557). คู่มือการออกแบบบริการ = SERVICE DESIGN WORKBOOK. กรุงเทพฯ : ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (TCDC).
Chan, C. K. Y. (2023). Assessment for experiential learning. Taylor & Francis.
Genc, M., & Erbas, A. K. (2019). “Secondary Mathematics Teachers' Conceptions of Mathematical Literacy.” International Journal of Education in Mathematics, Science and Technology. 7(3) : 222-237.
Hardianti, S., & Zulkardi, Z. (2019, October). “Students mathematical literacy abilities in solving PISA type math problem with LRT context.” Journal of Physic s : Conference Series.” 1315(1) : 012016.
Kolb, D. A. (2014). Experiential learning : Experience as the source of learning and development. United Kingdom : Pearson Education.
Rahmawati, W. A., Usodo, B., & Fitriana, D. L. (2021). “Mathematical Literacy Skills Students of the Junior High School in Solving PISA-Like Mathematical Problems. IOP Conference Series : Earth and Environmental Science. ” Journal of Physics: Conference Series (JPCS). 1808(1): 1-10.
OECD. (2018). “PISA 2022 Mathematics Framework (draft).” [Online}. Available : https://pisa2022-maths.oecd.org Retrieved August 4, 2021.
Utari, T. S. G., Kartasasmita, B. G., & Julika, C. (2019). “The application of situation-based learning strategy to improve literacy skills, mathematical problem-solving ability and mathematical self-efficacy at senior high school students.” International Journal of Innovation, Creativity and Change. 6(1) : 89-102.