ปัญหาที่พบจากการเป็นตัวแทนนำเข้า-ส่งออกสินค้าชายแดนไทย-กัมพูชา ในเขตตำบลด่าน อำเภอกาบเชิง จังหวัดสุรินทร์ กรณีศึกษาบริษัท เคเอ็มที อิมพอร์ต เอ็กซ์พอร์ต 888 จำกัด

ผู้แต่ง

  • พรรณราย พรรณราย เพราะคำ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์
  • กฤตกนก พาบุ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์

คำสำคัญ:

ตัวแทนขนส่งสินค้า, พิธีการศุลกากรนำเข้า-ส่งออก, ปัญหาการนำเข้า-ส่งออกสินค้า, ปัญหาการนำเข้า-ส่งออก, ด่านชายแดนไทย-กัมพูชา จังหวัดสุรินทร์

บทคัดย่อ

     การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาขั้นตอนพิธีการศุลกากรนำเข้า–ส่งออก รวมถึงปัญหาที่พบจากการเป็นตัวแทนนำเข้า-ส่งออกสินค้าชายแดนไทย–กัมพูชา ในเขตตำบลด่าน อำเภอกาบเชิง จังหวัดสุรินทร์ กรณีศึกษา บริษัท เคเอ็มที อิมพอร์ต เอ็กซ์พอร์ต 888 จำกัด การวิจัยนี้ใช้รูปแบบวิธีการวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บรวบรวมข้อมูลจากพื้นที่ในจังหวัดสุรินทร์ ซึ่งเป็นพื้นที่ตั้งของบริษัทตัวแทนนำเข้า-ส่งออก ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ พนักงานในบริษัท เคเอ็มที อิมพอร์ต เอ็กพอร์ต 888 จำกัด ทั้งหมดจำนวน 8 คน และผู้ให้การสัมภาษณ์ จำนวน 13 ราย แยกเป็นลูกค้า 10 คน และเจ้าหน้าที่ด่าน 3 คน ใช้วิธีการคัดเลือกแบบเจาะจง ซึ่งเป็นผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key Informant) โดยขั้นตอนวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพนั้น จะเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้สัมภาษณ์เชิงลึก และมีจุดดี คือ มีความน่าเชื่อถือของข้อมูลสูง ซึ่งผู้ให้การสัมภาษณ์สามารถให้ข้อมูลเพิ่มเติมได้ การวิจัยเชิงปริมาณใช้เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูปและสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยประชากร (gif.latex?\mu ) และค่าส่วนเบี่ยงเบนประชากร (gif.latex?\sigma) ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อตามประเด็นการศึกษา
     ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็น เพศหญิง มีอายุระหว่าง 20 – 40 ปี มีระดับการศึกษา ปวส./ปวช. ประสบการณ์ด้านตำแหน่งที่ปฏิบัติงานอยู่ระหว่าง 3 – 7 ปีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 10,001 -25,000 บาท ผู้ประกอบการมีการปฏิบัติเกี่ยวกับพิธีการศุลกากรนำเข้า – ส่งออก มีทั้งหมด 3 ด้าน โดยมีระดับความคิดเห็นมากที่สุดอยู่ 1 ด้านคือ ด้านกฎระเบียบ มีระดับความคิดเห็นมาก 2 ด้าน คือ ด้านการปฏิบัติพิธีศุลกากร และด้านการแก้ปัญหา และมีระดับความคิดเห็น โดยรวมอยู่ในระดับความคิดเห็นมาก มีการปฏิบัติเกี่ยวกับการขนส่ง มีทั้งหมด 8 ด้าน โดยมีระดับความคิดเห็นโดยรวมอยู่ในระดับความคิดเห็นมาก สามารถเรียงลำดับจากมากไปน้อยได้ดังนี้ ความรวดเร็ว รองลงมา คือ การตรงต่อเวลาในการขนส่งสินค้า การเตรียมพร้อมสิ่งอำนวยความสะดวก ความสะดวกสบาย ความปลอดภัยและค่าใช้จ่าย ยานพาหนะและอุปกรณ์การขนส่ง ความปลอดภัยของการขนส่ง และการติดตามสินค้า

       

 

Downloads

Download data is not yet available.

References

เจ้าหน้าที่ด่านคนที่ 1. (2566, สิงหาคม 12). สัมภาษณ์.

เจ้าหน้าที่ด่านคนที่ 2. (2566, สิงหาคม 12). สัมภาษณ์.

เจ้าหน้าที่ด่านคนที่ 3. (2566, สิงหาคม 12). สัมภาษณ์.

ฐาปนี สุขสมประสงค์ และคณะ. (2561). กระบวนการทำงานเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการให้บริการด้านการปฏิบัติพิธีการนำเข้าสินค้า ของสำนักงานศุลกากรตรวจสินค้าลาดกระบัง. วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาการจัดการ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ประภากร สุขเจริญ. (2562). การเพิ่มประสิทธิภาพการขนส่งสินค้าภายในเขตชลบุรีและระยอง กรณีศึกษา บริษัทหทัยจิตร ทรานสปอร์ต จํากัด. การค้นคว้าอิสระปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ประภากร อุ่นอินทร์ และฌานนพ สืบพิลา. (2562). “ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการเพิ่มประสิทธิภาพการขนส่งสินค้า.” ใน การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาลัยนครราชสีมา ครั้งที่ 6. วันที่ 30 มีนาคม 2562. หน้า 227-232. นครราชสีมา : วิทยาลัยนครราชสีมา.

พัชรา ศรีพระบุ และเชฎฐา ชํานาญหล่อ. (2563). “การศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกใช้ผู้ประกอบการขนส่งสินค้า ในจังหวัดชลบุรี.” วารสารวิศวกรรมศาสตร์ราชมงคลธัญบุรี. 19(1) : 55-66.

มัลลิกา โตอนันต์ และสุรภา ไถ้บ้านกวย. (2562). “การศึกษาประสิทธิภาพการขนส่งของศูนย์กระจายสินค้าขนาดใหญ่ ในเขตจังหวัดนนทบุรี.” บทความวิชาการค้นคว้าอิสระ โครงการพิเศษ หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง. 1-13.

เมทินี สุขสวัสดิ์ และอาทร จิตสุนทรชัยกุล. (2562). “เปรียบเทียบการให้ บริการขนส่งพัสดุระหว่างบริษัท ไปรษณีย์ไทยจำกัด กับ บริษัทเคอรี่เอ็กซ์ เพรส (ประเทศไทย) จำกัด ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี.” วารสารบัณฑิตวิทยาลัย มหาบัณฑิตมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์. 8(1) : 244-260.

รัฐฉัตร สุนทราฉาย. (2557). การศึกษาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและลดต้นทุน การขนส่งสินค้า กรณีศึกษา บริษัท สยาม นิสทรานส์ จำกัด. การศึกษาค้นคว้าอิสระปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.

ลูกค้าคนที่ 1. (2566, สิงหาคม 12). สัมภาษณ์.

ลูกค้าคนที่ 2. (2566, สิงหาคม 12). สัมภาษณ์.

ลูกค้าคนที่ 3. (2566, สิงหาคม 12). สัมภาษณ์.

ลูกค้าคนที่ 4. (2566, สิงหาคม 12). สัมภาษณ์.

ลูกค้าคนที่ 5. (2566, สิงหาคม 12). สัมภาษณ์.

ลูกค้าคนที่ 6. (2566, สิงหาคม 12). สัมภาษณ์.

ลูกค้าคนที่ 7. (2566, สิงหาคม 12). สัมภาษณ์.

วิณารัตน์ ภูวพัฒน์ชัยกิจ. (2559). คุณภาพการให้บริการของท่าอากาศยานสุวรรณภูมิที่ส่งผลต่อความพึงพอใจต่อผู้ใช้บริการชาวไทย. การศึกษาค้นคว้าอิสระปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

ศศิธร ใจมุก. (2559). ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการพัฒนาระบบโลจิสติกส์ด้านการขนส่งสินค้าทางถนนในจังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์ปริญญาเศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ประยุกต์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้.

ศิริอร สนองค์. (2562). “ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเลือกใช้ผู้ให้บริการขนส่งสินค้าของบริษัทส่งออกปลาสวยงามของไทย.” วารสารปัญญาภิวัฒน์. 11(1) : 79-90.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-23

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research Articles)