การสร้างสื่อดิจิทัลเพื่อเผยแพร่มรดกทางวัฒนธรรม กรณีศึกษาสิมโบราณ วัดเสมาท่าค้อ อำเภออาจสามารถ จังหวัดร้อยเอ็ด

ผู้แต่ง

  • ณัฐธิดา มณีเรือง คณะวิทยาการสารสนเทศ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • พงษ์พิพัฒน์ สายทอง คณะวิทยาการสารสนเทศ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

คำสำคัญ:

มรดกทางวัฒนธรรม, สื่อดิจิทัล, กรอบแนวคิด, สิมโบราณ

บทคัดย่อ

     การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลมรดกทางวัฒนธรรมสิมโบราณ วัดเสมาท่าค้อ อำเภออาจสามารถ จังหวัดร้อยเอ็ด 2) เพื่อพัฒนาสื่อดิจิทัลการถ่ายทอดมรดกทางวัฒนธรรมสิมโบราณ และ 3) เพื่อประเมินประสิทธิภาพกรอบแนวคิดมรดกทางวัฒนธรรมสิมโบราณ งานวิจัยนี้ได้พัฒนากรอบแนวคิดเพื่อการสร้างสื่อดิจิทัลเพื่อเผยแพร่มรดกทางวัฒนธรรม โดยมีขั้นตอน 1) การหาแรงบันดาลใจ 2) การระดมความคิด และ 3) การนำข้อมูลที่ได้จากการวิเคราะห์ไปออกแบบ ผลการวิจัยพบว่า 1) ข้อมูลสำคัญมรดกทางวัฒนธรรมสิมโบราณ ได้แก่ ประวัติความเป็นมา ความเชื่อทางศาสนาองค์ประกอบทางกายภาพ ของสิมโบราณ วัดเสมาท่าค้อ 2) กรอบแนวคิดการพัฒนาสื่อดิจิทัลมรดกทางวัฒนธรรม ประกอบด้วย การหาแรงบันดาลใจ การระดมความคิด และการนำข้อมูลที่ได้จากการวิเคราะห์ไปออกแบบ และ 3) ผลการประเมินประสิทธิภาพกรอบแนวคิดการถ่ายทอดมรดกทางวัฒนธรรม ได้ผลรวมอยู่ในระดับคุณภาพดี (𝑥̅=4.13, S.D.=0.77)

Downloads

Download data is not yet available.

References

คณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2564). “สดช. ตอกย้ำความสำเร็จ Digital Cultural Heritage เร่งผลักดัน มรดกวัฒนธรรมไทยเป็นซอฟต์พาวเวอร์เปิดประตูสู่สากล.” [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : https://mgronline.com/entertainment/detail/ 9650000048756 สืบค้น 20 กุมภาพันธ์ 2566.

ณัฐกฤตย์ ดิฐวิรุฬ. (2558, กรกฎาคม - ธันวาคม). “การสื่อสารเพื่อการเรียนรู้และถ่ายทอดมรดกภูมิปัญญา.” วารสารวิชาการนวัตกรรมสื่อสารสังคม. 3(2) : 39 - 48.

พระมหาพิสิฐ วิสิฏฐปญฺโญ และคนอื่น ๆ. (2563). แนวคิดทางพระพุทธศาสนาที่มีต่อสถาปัตยกรรมของสิมอีสาน. ขอนแก่น : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตขอนแก่น.

พุทธศิลป์อีสาน. (2556). “วัดเสมาท่าค้อ.” [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : https://cac.kku.ac.th/esanart/19%20Province/101/sematacor/101 sematacor.html สืบค้น 20 มกราคม 2566.

วิโรฒ ศรีสุโร. (2536). สิมอีสาน. กรุงเทพฯ : มูลนิธิโตโยต้าแห่งประเทศญี่ปุ่น.

สำนักงานคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2564). “โครงการ Digital Cultural Heritage Thailand.” [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : https://www.hackulture. com สืบค้น 20 กุมภาพันธ์ 2566.

อุมาภรณ์ เหล็กดี. (2562). การพัฒนาองค์ความรู้เผยแพร่ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อบริการวิชาการสู่ชุมชน. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-11-05

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research Articles)