ความสัมพันธ์ของวัฒนธรรมองค์การกับความผูกพันของบุคลากรในเทศบาลตำบลช่องลม อำเภอลานกระบือ จังหวัดกำแพงเพชร
คำสำคัญ:
วัฒนธรรมองค์การ, ความผูกพัน, องค์การบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับปัจจัยวัฒนธรรมองค์การและความผูกพันต่อเทศบาลตำบลช่องลม 2) ศึกษาเปรียบเทียบความผูกพันต่อองค์การของบุคลากรในเทศบาลตำบลช่องลม จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และ 3) ศึกษาความสัมพันธ์ของวัฒนธรรมองค์การกับความผูกพันต่อองค์การของบุคลากรในเทศบาลตำบลช่องลม ประชากรคือ บุคลากรในเทศบาลตำบลช่องลม จำนวน 149 คน กลุ่มตัวอย่างจำนวนทั้งสิ้น 110 คน โดยใช้สูตรคำนวณของทาโรยามาเน่ เครื่องมือที่ใช้คือแบบสอบถาม สถิติที่ใช้คือความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และสหสัมพันธ์ของเพียร์สัน
ผลวิจัยพบว่า 1) ปัจจัยวัฒนธรรมองค์การของเทศบาลตำบลช่องลม ในภาพรวมเห็นด้วยอยู่ในระดับมาก และความผูกพันต่อองค์การของบุคลากรในเทศบาลตำบลช่องลมในภาพรวมมีความผูกพันอยู่ในระดับมาก 2) ปัจจัยส่วนบุคคลของบุคลากรที่มีระดับการศึกษาต่างกันมีความผูกพันต่อองค์การแตกต่างกัน ส่วน อายุงาน และหน่วยงานต่างกันมีความผูกพันต่อองค์การแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ และ 3) ปัจจัยด้านสัญลักษณ์มีความสัมพันธ์เชิงบวกในระดับปานกลางกับความผูกพันต่อองค์การของบุคลากรในเทศบาลตำบลช่องลม ส่วนวีรบุรุษ ธรรมเนียมปฏิบัติและค่านิยมมีความสัมพันธ์เชิงบวก ในระดับสูงมีความผูกพันต่อองค์การของบุคลากรใน เทศบาลตำบลข่องลม ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.01
Downloads
References
ไกรฤทธิ์ บุณยเกียรติ. (2553). วัฒนธรรมองค์การ. กรุงเทพฯ : นิตยสารการท่าเรือ.
จุตติมาพร ช่วยบำรุง. (2562). การศึกษาปัจจัยด้านความผูกพันต่อหัวหน้า ปัจจัยด้านวัฒนธรรมองค์กร และปัจจัย ด้านแรงจูงใจที่มีผลต่อความผูกพันต่อองค์กร ของพนักงานธนาคารพาณิชย์ เขตบางรัก. การค้นคว้าอิสระ ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
เทศบาลตำบลช่องลม. (2567). “ข้อมูลเทศบาล.” [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : https://www.chonglom.go.th/ สืบค้น 3 เมษายน 2567.
นภัสสร พรหมเขียว. (2565). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความผูกพันองค์กรของข้าราชการส่วนภูมิภาค สังกัดกระทรวงมหาดไทย จังหวัดกระบี่. สารนิพนธ์ ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
รมิตา ประวัติ. (2564). ปัจจัยที่มีผลต่อความผูกพันต่อองคก์รของบุคลากรโรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชเทวี ณ ศรีราชา. สารนิพนธ์ ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต คณะการจัดการและการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยบูรพา.
วัฒนชัย ไชยอำพร. (2562). การศึกษาวัฒนธรรมองค์กร แรงจูงใจในการทำงาน และสภาพแวดล้อมในการทำงาน ที่มีผลต่อความผูกพันต่อองค์กรของพนักงานในระดับปฏิบัติการ ของอุตสาหกรรมบริการในกรุงเทพมหานคร. การค้นคว้าอิสระ ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
หทัยภัทร สีใส. (2563). ปัจจัยส่วนบุคคลและคุณภาพชีวิตในการทำงานที่ผลผูกพันต่อพนักงานในองค์กร กรณีศึกษาบริษัทบิ๊กซีซูเปอร์เซ็นเตอร์ จำกัด (มหาชน) สำนักงานใหญ่. สารนิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการ วิทยาลัยบริหารธุรกิจนวัตกรรมและการบัญชี มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
Becker, Howard S. (1960). “Notes on the Concept of Commitment.” American Journal of Sociology. 66 (1) : 34-42.
Becker, B. E., & Huselid, M. A. (1998). “High Performance Work Systems and Firm Performance : A Synthesis of Research and Managerial Implications.” Research in Personnel and Human Resources Management. 16 : 53-101.
Deal, T. E., & Kennedy, A. A. (1982). Corporate cultures : The rites and rituals of corporate life. Reading, MA : Addison-Wesley.
Douglas, M. (1973). Natural Symbols : Explorations in Cosmology. New York, NY : Vintage Books.
Gok, O. N., & Balta, S. (2020). “The Relationship between Personal Characteristics and Employee Engagement : A Study in the Logistics Sector.” International Journal of Productivity and Performance Management. 69(8) : 1879-1895.
Guest, D. E. (1997). “Human Resource Management and Performance: A Review and Research Agenda. International.” Journal of Human Resource Management. 8(3) : 263-276.
Harter, J. K., Schmidt, F. L., & Hayes, T. L. (2002). “Business-Unit-Level Relationship Between Employee Satisfaction, Employee Engagement, and Business Outcomes: A Meta-Analysis.” Journal of Applied Psychology. 87(2) : 268-279.
Hofstede, G., et al. (1990). “Measuring Organizational Cultures : A Qualitative and Quantitative Study across Twenty Cases.” Administrative Science Quarterly. 35 : 286-316.
Judge, T. A., & Bono, J. E. (2001). “Relationship of Core Self-Evaluations Traits--Self-Esteem, Generalized Self-Efficacy, Locus of Control, and Emotional Stability--With Job Satisfaction and Job Performance : A Meta-Analysis.” Journal of Applied Psychology. 86(1) : 80-92.
Kahn, W. A. (1990). “Psychological Conditions of Personal Engagement and Disengagement at Work.” Academy of Management Journal. 33(4) : 692-724.
Meyer, J. P., & Allen, N. J. (1991). “A Three-Component Conceptualization of Organizational Commitment.” Human Resource Management Review. 1(1) : 61-89.
Navarro, J., Real, J. C., & Leal, A. (2021). “Organizational Culture and Employee Engagement : The Moderating Role of Organizational Size.” Personnel Review. 50(7) : 2031-2050.
O'Reilly, C. A., III, Chatman, J., & Caldwell, D. F. (1991). “People and Organizational Culture : A Profile Comparison Approach to Assessing Person-Organization Fit.” Academy of Management Journal. 34(3) : 487-516.
Saks, A. M. (2006). “Antecedents and Consequences of Employee Engagement.” Journal of Managerial Psychology. 21(7) : 600-619.
Sarfraz, M., Qun, W., Abdullah, M. I., & Khalid, B. (2020). “The Role of Personal Characteristics in Employee Engagement : A Conceptual Framework. Asia Pacific” Management Review. 25(1) : 47-56.
Wang, H., Han, J., & Wang, Y. (2021). “The Relationship Between Organizational Culture and Employee Engagement : A Moderated Mediation Model.” Frontiers in Psychology. 12 : 752-972.