ความต้องการการพัฒนาผู้ต้องขังหญิงก่อนปล่อยเรือนจำจังหวัดบึงกาฬ

ผู้แต่ง

  • นัฐพงษ์ พินทา นักศึกษาหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี
  • ธนวิทย์ บุตรอุดม คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี

คำสำคัญ:

ความต้องการ, ผู้ต้องขังหญิงก่อนปล่อย, เรือนจำจังหวัด

บทคัดย่อ

     การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความต้องการการพัฒนาผู้ต้องขังหญิงก่อนปล่อยเรือนจำจังหวัดบึงกาฬ และ 2) เพื่อหาแนวทางการพัฒนาผู้ต้องขังหญิงก่อนปล่อยเรือนจำจังหวัดบึงกาฬ เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน โดยใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ ประชากรเชิงปริมาณ คือ ผู้ต้องขังหญิงในเรือนจำจังหวัดบึงกาฬ จำนวน 130 คน การคัดเลือกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.98 วิเคราะห์ข้อมูลโดยวิธีหาสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค (Alpha’s coefficient- α) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  และดำเนินการวิเคราะห์ความต้องการจำเป็นในการพัฒนาผู้ต้องขังหญิงก่อนปล่อย จังหวัดบึงกาฬ โดยวิธี Modified Priority Needs Index (PNI modified) ผู้ให้ข้อมูลสำคัญเชิงคุณภาพประกอบด้วย ผู้บัญชาการเรือนจำจังหวัดบึงกาฬ พยาบาลวิชาชีพ นักจิตวิทยา เจ้าหน้าที่แดนหญิง และผู้อำนวยการสำนักงานคุมประพฤติจังหวัดบึงกาฬ รวมจำนวน 5 คน โดยพิจารณาจากหน้าที่รับผิดชอบตามตำแหน่งงานที่เกี่ยวข้องกับประเด็นศึกษา อายุงาน และประสบการณ์การทำงานเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสัมภาษณ์ เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก และนำผลศึกษามาทำการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา
     ผลการวิจัยพบว่า 1) ความต้องการการพัฒนาผู้ต้องขังหญิงก่อนปล่อยเรือนจำจังหวัดบึงกาฬ มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุดคือ การเตรียมความพร้อมด้านการประกอบอาชีพ รองลงมาคือ การพัฒนาด้านร่างกาย 2) แนวทางในการพัฒนาผู้ต้องขังหญิงก่อนปล่อยเรือนจำจังหวัดบึงกาฬ คือ ควรจัดให้มีการฝึกทางพลศึกษาและการบันเทิงรื่นเริง สร้างแหล่งการเรียนรู้ให้เอื้อต่อการพัฒนาจริยธรรมความมีวินัยในตนเองให้เหมาะสมกับผู้ต้องขังทุกช่วงวัย ควรจัดผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ด้านจิตเวชเข้ามาทำการประเมินความเข้มแข็งสภาพจิตใจของผู้ต้องขังเป็นประจำทุกปี ส่งเสริมและพัฒนาการตระหนักรู้และเห็นคุณค่าในตนเองให้แก่ผู้ต้องขัง จัดกิจกรรมสัมพันธ์ระหว่างครอบครัวกับผู้ต้องขังอย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง จัดอบรมเพื่อพัฒนาทักษะทางอาชีพให้มีความหลากหลาย และเปิดโอกาสให้ผู้ต้องขังได้ทดลองปฏิบัติงานจริงเพื่อเพิ่มความเชี่ยวชาญในทักษะวิชาชีพนั้น ๆ

Downloads

Download data is not yet available.

References

กนกเรขา สุวรรณกิจ. (2545). ความคาดหวังในการดำเนินชีวิตภายหลังการพ้นโทษของผู้ต้องขังหญิง : ศึกษาเฉพาะกรณีทัณฑสถานหญิงกลาง. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

กองพัฒนาพฤตินิสัย. (2563). คู่มือการจัดโปรแกรมการแก้ไขฟื้นฟูผู้ต้องขังตามลักษณะแห่งคดีและพฤติการณ์การกระทำผิด. กรุงเทพฯ : บริษัท พีเค.เค. พริ้นติ้ง จำกัด.

กองทรัพย์ ผางแพ่ง. (2563). การเตรียมความพร้อมก่อนปล่อยผู้ต้องขังพ้นโทษ กรณีศึกษา เรือนจำกลางชลบุรี. การค้นคว้าอิสระปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

จิรวุฒิ ปุญญาสวัสดิ์. (2564). การเตรียมความพร้อมของผู้ต้องขังก่อนปล่อยและหลังปล่อย. วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.

พรวิไล อุ้ยดำรงธรรม. (2564). “การเตรียมความพร้อมผู้ต้องขังก่อนปล่อยตัวสู่สังคมในประเทศไทย.” วารสารกฎหมายและสังคมรังสิต. 3(2) : 34-47.

เพ็ชรนคร ผาดนอก. (2565). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความพร้อมก่อนปล่อยตัวของผู้ต้องขังเรือนจำ จังหวัดมหาสารคาม. วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

เพียรชัยรัตน์ เงินงาม, วันชัย พลเมืองดี, พระชยานันทมุนี และชูชาติ สุทธะ. (2565). “รูปแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้ต้องขังเรือนจำจังหวัดน่านเชิงพุทธบูรณาการ.” วารสารวิจัยวิชาการ. 5(5) : 171-185.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-27

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research Articles)