ความสุขในการทำงานของบุคลากรสายวิชาการ สาขาการท่องเที่ยวในมหาวิทยาลัยเขตกรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • นิธิกิตติกานต์ เหมสุวรรณ์ คณะการท่องเที่ยวและอุตสาหกรรมบริการ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
  • รัศมี อัจฉริยไพศาลกุล คณะการท่องเที่ยวและอุตสาหกรรมบริการ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
  • พาฝัน รัตนะ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยหาดใหญ่
  • ธนาวุฒิ เกลี้งเกิด นักวิจัยอิสระ

คำสำคัญ:

ความสุข, การทำงาน, บุคลากร, มหาวิทยาลัย

บทคัดย่อ

     การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพแบบปรากฏการณ์วิทยาเชิงตีความ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสุขในการทำงานของบุคลากรสายวิชาการ สาขาการท่องเที่ยวในมหาวิทยาลัยเขตกรุงเทพมหานครโดยใช้วิธีการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลแบบเรื่องเล่า ผู้วิจัยได้ทำการตรวจสอบความน่าเชื่อถือของข้อมูลในการศึกษา ผู้ให้ข้อมูลหลักเป็นบุคลากรสายวิชาการ สาขาการท่องเที่ยวในมหาวิทยาลัยเขตกรุงเทพมหานครจำนวน 25 ราย ผู้วิจัยเลือกการศึกษาแบบเรื่องเล่าและค้นคว้าข้อมูลโดยรวบรวมจากเอกสาร ทำการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหาตามวิธีของ แวน มาเนน (van Manen) พบว่า ความสุขในการทำงาน คือ การทำงานในสังคมที่ดี อบอุ่น และเป็นมิตร ทำงานอยู่ร่วมกันเหมือนพี่น้อง การช่วยเหลือซึ่งกันและกัน มีสภาพแวดล้อมการทำงานที่ดี และการมีความรู้สึกพึงพอใจ ภาคภูมิใจ ในงานที่ได้รับมอบหมาย การวางตัวในการทำงาน มีการเปิดกว้างในการแสดงความคิดเห็นและตัวตนของบุคลากร ซึ่งช่วยให้มีความเพลิดเพลินและสามารถรับมือกับการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ อีกทั้งความสุขส่วนหนึ่งเกิดจากผู้บังคับบัญชาได้ส่งเสริมให้บุคลากรมีการพัฒนาความรู้ความสามารถ และทักษะการปฏิบัติงาน

Downloads

Download data is not yet available.

References

กมลชนก พิชญรัศมีมาน และคณะ. (2566, กรกฎาคม-ธันวาคม) “ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความสุขในการทำงานของบุคลากรสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดกาญจนบุรี.” วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี. 12(2) : 129-133.

ขจรศักดิ์ สุขเปรม. (2565). คุณภาพชีวิต ความสุขในการทำงานต่อความผูกพันองค์กรของบุคลากรกรมอนามัย. กรุงเทพฯ : กรมอนามัย กองการเจ้าหน้าที่กลุ่มพัฒนาทรัพยากรบุคคล.

ธวัชชัย สร้อยสนธิ์. (2560). ความผูกพันต่อองค์กรของบุคลากร บริษัทยูนิค เอ็นจิเนียริ่งแอนด์คอนสตรัคชัน จำกัด (มหาชน). วิทยานิพนธ์ปริญญาวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารงานก่อสร้างและสาธารณูปโภค มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.

ธิดารักษ์ ลือชา และ กฤษฎากรณ์ ยูงทอง. (2560). “ความสุขในการทำงาน : ความหมายและการวัด.” วารสารราชภัฎเพชรบูรณ์สาร. 19(2) : 9–18.

นูร์ปาซียะห์ กูนา. (2562). ความสุขในการทำงานของบุคลากรองค์การบริหารส่วนตำบล ในอำเภอเมืองปัตตานี จังหวัดปัตตานี. สารนิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

ปัญญา สกุลโชติ. (2560). ปัจจัยคุณภาพชีวิตในการทำงานที่มีผลต่อความผูกพันต่อองค์กรของแรงงานพม่าที่ทำงานในพื้นที่อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยนานาชาติสแตมฟอร์ด.

โพสต์ทูเดย์. (2563). “Burnout in the City งานวิจัยชี้ชาวกรุงวัยทำงานเกินครึ่งเสี่ยงหมดไฟ.” [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : https://www.posttoday.com/lifestyle/613654 สืบค้น 21 ธันวาคม 2566.

อรชพร ทัพพ์วรา. (2565). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความสุขในการทำงานของกลุ่มคนทำงานในพื้นที่กรุงเทพมหานคร. กรุงเทพฯ : คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

Dobre, O. (2013). “Employee motivation and organizational performance.” Review of Applied Socio- Economic Research. 5(1) : 53-60.

Ertas, N. (2015). “Turnover Intentions and Work Motivations of Millennial Employees in Federal Service.” Public Personnel Management. 44(3) : 401-423.

Fisher, C. D. (2010). “Happiness at work.” [Online]. Available : http://epublications. bond.edu.au/cgi/viewcontent.cgi?article=1307&content=business-pubs Retrieved January 3, 2024.

Manion, J. (2003). “Joy at work : Creating a positive workplace.” Journal of Nursing Administration. 33(12) : 652-659.

Wangphaicharoensuk, W. & Utsahajit, W. (2015). “Creating and Promoting Work Happiness : A Case Study of Happy Workplace.” Panyapiwat Journal. 7(3) : 191-201.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-05-27

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research Articles)