สมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษาในยุคการศึกษาพลิกผัน (Disruptive Education) ตามการรับรู้ของครูมัธยมศึกษาที่สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในจังหวัดชลบุรี
คำสำคัญ:
ยุคการศึกษาพลิกผัน, สมรรถนะผู้บริหาร, การศึกษาขั้นพื้นฐานบทคัดย่อ
ในขณะที่โลกเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วโดยเฉพาะ Digital Disruption อันส่งผลกระทบต่อวิธีการทำงานที่ต้องเปลี่ยนไป การเปลี่ยนแปลงแบบฉับพลันหรือนี้เราเรียกว่า Disruption เป็นการเปลี่ยนแปลงที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ โดยสะท้อนไปถึงภาพรวมโดยเฉพาะระบบการศึกษาที่จะต้องปรับตัวให้ก้าวทันต่อการเปลี่ยนแปลง และเป็นสิ่งสำคัญที่ผู้บริหารจำเป็นจะต้องมีสมรรถนะที่เตรียมพร้อมรับต่อการพลิกผันนี้อีกด้วย การวิจัยในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษาในยุคการศึกษาพลิกผัน (Disruptive Education) ตามการรับรู้ของครูมัธยมศึกษาที่สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในจังหวัดชลบุรี และเปรียบเทียบสมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษาในยุคการศึกษาพลิกผัน (Disruptive Education) ตามการรับรู้ของครูมัธยมศึกษาที่สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในจังหวัดชลบุรี จำแนกตามระดับการศึกษาประสบการณ์การทำงาน และขนาดสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ข้าราชการครูสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในจังหวัดชลบุรี ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 31 โรงเรียน จำนวน 320 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที
การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการวิเคราะห์เปรียบเทียบรายคู่ด้วยวิธีการของเชฟเฟ่
ผลการวิจัยพบว่า 1) สมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษาในยุคการศึกษาพลิกผัน (Disruptive Education) ตามการรับรู้ของครูมัธยมศึกษาที่สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในจังหวัดชลบุรี โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก 2) ผลการเปรียบเทียบสมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษาในยุคการศึกษาพลิกผัน ตามการรับรู้ของครูมัธยมศึกษาที่สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในจังหวัดชลบุรี พบว่า ครูที่มีระดับการศึกษาต่างกันโดยภาพรวมและรายด้าน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ยกเว้นด้านการให้บริการข้อมูลสารสนเทศและการประชาสัมพันธ์ ครูที่มีประสบการณ์ในการทำงานที่ต่างกันโดยภาพรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน และครูที่ปฏิบัติการสอน ในขนาดสถานศึกษาต่างกัน โดยภาพรวมและรายด้านแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ยกเว้นด้านการพัฒนาตนเองและความแข็งแกร่งของอารมณ์ ด้านการรู้เท่าทันต่อการเปลี่ยนแปลง
Downloads
References
กัญญานิษฐ์ ขุนประดิษฐ์. (2562). การศึกษาสมรรถนะหลักสูตรของผู้บริหารที่ส่งผลต่อคุณภาพการจัดการศึกษาในโรงเรียนตามความคิดเห็นของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 11 ในจังหวัดสุราษฎร์ธานี. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี.
กองบริหารงานวิจัยและประกันคุณภาพการศึกษา. (2560). Thailand 4.0 โมเดลขับเคลื่อนประเทศไทยสู่ความมั่งคั่ง มั่นคง และยั่งยืน. เอกสารอัดสำเนา.
กุลธิดา รุ่งเรืองเกียรติ. (2564). “สร้างทักษะด้านอารมณ์และสังคม.” [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : https://www.eef.or.th/article-empathy-compassion-271221 สืบค้น 20 มีนาคม 2566.
เจริญ ภูวิจิตร์. (2565). “ภาวะผู้นำทางการศึกษาโลกยุคผันผวน.” [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : http://www.nidtep.go.th/2017/publish/doc/20220906-1 สืบค้น 20 มีนาคม 2566.
ปณิฎฐา เกลียวสัมพันธ์ใจ. (2565, ตุลาคม-ธันวาคม). “ภาวะผู้นำใฝ่บริการ: ทักษะที่จำเป็นสำหรับผู้เรียนในรูปแบบใหม่.” วารสารสมาคมพัฒนาวิชาชีพการบริหารการศึกษาแห่งประเทศไทย. 4 (4) : 65-69.
ปวริศา มีศรี. (2561). สมรรถนะในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 1. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี.
พร้อมพิไล บัวสุวรรณ. (2565, พฤษภาคม-สิงหาคม). “ความต้องการจำเป็นในการพัฒนาสมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาปทุมธานี เพื่อตอบสนองต่อการศึกษาที่พลิกผัน.” วารสาร มจร. อุบลปริทรรศน์. 7(2) : 1045-1049.
พิมพ์ประไพ ดวงบุบผา และเตือนใจ ดลประสิทธิ์. (2566). การบริหารการศึกษาในยุค Digital Disruption. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.
มณฑาทิพย์ นามนุ. (2561). ทักษะของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 2. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญเจริญ.
ยุพา มั่นเขตกิจ, พร้อมพิไล บัวสุวรรณ และวรรณวิศา สืบนุสรณ์ คล้ายจำแลง. (2565, พฤษภาคม-สิงหาคม). “สมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษาในยุคการศึกษาที่พลิกผัน ตามการรับรู้ของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบูรณ์เขต 1.” วารสาร มจร. อุบลปริทรรศน์. 7(2) : 1031-1034.
ละเอียด พุ่มพู. (2564). การทำงานเป็นทีม. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : http://www.acn.ac.th/articles/mod/forum/discuss.php?d=413 สืบค้น 20 มีนาคม 2566.
วรากรณ์ สามโกเศศ. (2021). “ต้องรู้เท่าทันอะไรในยุคใหม่.” [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : https://thaipublica.org/ 2018/11/varakorn-273/ สืบค้น 20 มีนาคม 2566.
วัฒนาพร ระงับทุกข์. (2542). การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง. กรุงเทพฯ : เลิฟ แอนด์เลิฟเพรส.
วลัยพานิช. (2543). การสอนด้วยวิธี Storyline. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สตรีรัตน์ ตั้งมีลาภ. (2558). การศึกษาสมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษาการบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 2. การศึกษาค้นคว้าอิสระ ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยนเรศวร.
สมศักดิ์ ดลประสิทธิ์. (2564). “แนวทางการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนากำลังคนในศตวรรษที่ 21.” วารสารคุรุสภาวิทยาจารย์. 2(1) : 1-16.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2560). นโยบายสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ : อุษาการพิมพ์.
สุกฤตา ประจง. (2565, ตุลาคม-ธันวาคม). “สมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสกลนคร.” วารสารการบริหารการศึกษาและภาวะผู้นำ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร. 11(41) : 31-36.
AECT. (1994). “ขอบข่ายเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา.” สมาคมสื่อสารและเทคโนโลยีการศึกษาแห่งสหรัฐอเมริกา [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : https://thaiaect.org/ สืบค้น 15 มีนาคม 2566.
Nibedita Saha, Tomas Saha, and Petr Saha. (2020). “Entrepreneurial Universities' Strategic Role in Accelerated Innovation for Regional Growth.” In Examining the role of entrepreneurial universities in regional development. pp. 51-65. IGI Global.
Kiel, B. (2014). “Companies' Demand for Competencies to Overcome Disruptive Change.” Managing Disruption and Destabilisation. pp. 91-108.