ความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพชีวิตการทำงาน พฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์กร และความผูกพันต่อองค์กรของพนักงานสายสนับสนุน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพชีวิตการทำงาน พฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์กร และความผูกพันต่อองค์กรของพนักงานสายสนับสนุนมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ซึ่งเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ พนักงานสายสนับสนุนมหาวิทยาลัยมหาสารคาม จำนวน 276 คน โดยใช้เกณฑ์การกำหนดขนาดตัวอย่างตามสูตรทาโร่ ยามาเน่ จำแนกตามหน่วยงานที่สังกัด และใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การวิเคราะห์สหสัมพันธ์พหุคูณ ผลการวิจัย พบว่า 1) คุณภาพชีวิตการทำงาน ด้านค่าตอบแทนที่เพียงพอและยุติธรรม ด้านสิ่งแวดล้อมที่ปลอดภัยและส่งเสริมสุขภาพ ด้านโอกาสที่ได้รับการพัฒนาและใช้ความสามารถของบุคคล และด้านโอกาสก้าวหน้าและความมั่นคงในการทำงาน มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับความผูกพันต่อองค์กรโดยรวม 2) คุณภาพชีวิตการทำงาน ด้านค่าตอบแทนที่เพียงพอและยุติธรรม ด้านสิ่งแวดล้อมที่ปลอดภัยและส่งเสริมสุขภาพ ด้านโอกาสที่ได้รับการพัฒนาและใช้ความสามารถของบุคคล และด้านโอกาสก้าวหน้าและความมั่นคงในการทำงาน มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์กรโดยรวม และ 3) พฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์กร ด้านพฤติกรรมการให้ความช่วยเหลือ ด้านพฤติกรรมการคำนึงถึงผู้อื่น ด้านพฤติกรรมความอดทนอดกลั้น ด้านพฤติกรรมความสำนึกในหน้าที่ และด้านพฤติกรรมการให้ความร่วมมือ มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับความผูกพันต่อองค์กรโดยรวม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01
Downloads
References
กมลพร ดีประทีป และธีระดา ภิญโญ. (2561, พฤษภาคม-สิงหาคม). “ปัจจัยที่ส่งผลต่อความผูกพันองค์กรของข้าราชการครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1.” วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม. 17(2) : 179-187.
กองการเจ้าหน้าที่ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. (2566). “ค้นหาบุคลากร.” [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.pd.msu.ac.th/pd4/hr-สถิติบุคลากร สืบค้น 20 กุมภาพันธ์ 2566.
กองคลังและพัสดุ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. (2565). “นโยบายการบริหาร.” [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : http://fin.msu.ac.th/th/ page=news_form.php&news_type สืบค้น 20 มกราคม 2565.
คมกริช นันทะโรจพงศ์. (2564, เมษายน-มิถุนายน). “คุณภาพชีวิตในการทำงานและพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การของบุคลากรในอุตสาหกรรมโลหะและวัสดุ : การวิเคราะห์สหสัมพันธ์คาโนนิคอล.” วารสารการบัญชีและการจัดการ. 13(2) : 109-129.
ทิพสุคนธ์ สืบสายอ่อน และวงศ์ธีรา สุวรรณิน. (2565, มกราคม-มิถุนายน). “บุพปัจจัยต่อการรับรู้การสนับสนุนขององค์การและพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การที่มีผลต่อการคงอยู่ของผู้แทนยากลุ่มอุตสาหกรรมยาในประเทศไทย.” วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎนครปฐม. 9(1) : 365-379.
ปฏิมา ถนิมกาญจน์, เสาวลักษณ์ จิตต์น้อม และเพ็ญพร ปุกหุต. (2564, กันยายน-ธันวาคม). “รูปแบบเชิงสาเหตุของคุณภาพชีวิตในการทำงานพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดี และประสิทธิภาพการทำงานของพนักงานในภาคอุตสาหกรรมการบริการ.” วารสารปาริชาต. 34(3) : 72-86.
มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. (2565). “ข้อมูลทั่วไปของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม.” [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : http://www.web.msu.ac.th/msucont. php?mn=mhistory สืบค้น 20 มกราคม 2565.
ลักขณา ศิรถิรกุล, บุญพิชชา จิตต์ภักดี และจารุวรรณ สนองญาติ. (2564, มกราคม-มิถุนายน). “องค์กรแห่งความสุข : คุณภาพชีวิตการทำงานของพยาบาลจบใหม่.” วารสารสุขภาพและการศึกษาพยาบาล. 27(1) : 182-192.
ลัดดาวัลย์ เพชรโรจน์ และอัจฉรา ชำนิประศาสน์. (2547). ระเบียบวิธีวิจัย. กรุงเทพฯ : พิมพ์ดีการพิมพ์.
วัชรพงษ์ แสนมาโนช และพนายุทธ เชยบาล. (2564, พฤษภาคม-สิงหาคม). “คุณภาพชีวิตการทำงานที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์การของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในจังหวัดสกลนคร.” วารสาร มจร อุบลปริทรรศน์. 6(2) : 663-678.
วิชชุดา สุขก้อน และระบิล พ้นภัย. (2562, มกราคม-เมษายน). “ผลกระทบของคุณภาพชีวิตในการทำงานและความผูกพันต่อองค์กรต่อพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์กรของบุคลากรฝ่ายขายบริษัทประกันชีวิตในเขตจังหวัดนครราชสีมา.” วารสารชุมชนวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา. 13(1) : 191-200.
ศักดิ์ชัย จันทะแสง. (2564, มกราคม-มิถุนายน). “โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของความพึงพอใจในการทำงานและความผูกพันต่อองค์กรที่ส่งผลต่อผลการปฏิบัติงานของบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ.” วารสารสังคมศาสตร์วิจัย. 12(1) : 95-109.
สถาบันส่งเสริมความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน. (2562). “คุณภาพชีวิตในการทำงาน.” [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : https://www.tosh.or.th/index.php/blog/item/475-quality-of-working-life สืบค้น 15 กุมภาพันธ์ 2566.
สุกัญญา สายลอด. (2564). ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหาร และพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์กรของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์.
สุทธินันทน์ พรหมสุวรรณ และศริญญา ไล้สวัสดิ์สุทธรัตนกุล. (2565, มกราคม-มิถุนายน). “ปัจจัยส่วนบุคคลและคุณภาพชีวิตในการทำงานที่มีผลต่อความผูกพันต่อองค์การ : ศึกษากรณีบริษัทประกันชีวิตแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร.” วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา. 15(1) : 1-17.
เอกรัฐ อิสโร, ภมร ขันธะหัตถ์ และธนิศร ยืนยง. (2565, พฤษภาคม-สิงหาคม). “คุณภาพชีวิตการทำงานที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์การของบุคลากรองค์การบริหารส่วนตำบล ในอำเภอเมืองพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา.” วารสารวิทยาลัยนครราชสีมา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. 16(2) : 253-268.
อัครินทร์ คุณแสน และชวน ภารังกูล. (2565, มกราคม-มิถุนายน). “ความสัมพันธ์ระหว่างความผูกพันกับพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีต่อองค์การของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบุรี เขต 1.” วารสารวิชาการสิรินธรปริทรรศน์. 23(1) : 213-225.
อามีนุดดีน จะปะเกีย. (2561). ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีต่อองค์การของบุคลากรในศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.). วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.
Allen, N. J. & Meyer, J. P. (1997). Commitment in the workplace theory: Research and application. California : SAGE Publications.
Nunnally, J. C. (1978). Psychometric theory. New York : McGraw-Hill.
Organ, D. W. (1991). The applied psychology of work behavior: A book of reading. Illinois : Richard D. Irwin.
Walton, R. E. (1973). “Quality of Working Life : What Is It?.” Sloan Management Review. 15(1) : 11-21.
Yamane, T. (1973). Statistics: an introductory analysis. New York : Harper & Row.