การจัดการเรียนรู้ เรื่อง ชื่นชมและบอกแบบอย่างการดำเนินชีวิตและ ข้อคิดจากประวัติสาวก ชาดก กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ด้วยการสอนแบบบทบาทสมมติร่วมกับการใช้หนังสือนิทานชาดกประกอบภาพระบายสี

ผู้แต่ง

  • ศศิบุษย์ บุราคร คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์
  • อิทธิวัตร ศรีสมบัติ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์
  • สิริพัฒถ์ ลาภจิตร คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์

คำสำคัญ:

การจัดการเรียนรู้, ประวัติสาวกชาดก, การสอนแบบบทบาทสมมติ, หนังสือนิทานชาดกประกอบภาพระบายสี

บทคัดย่อ

     การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการจัดการเรียนรู้เรื่องชื่นชมและบอกแบบอย่างการดำเนินชีวิตและประวัติจากประวัติสาวกชาดก กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ด้วยการสอนแบบบทบาทสมมติร่วมกับการใช้หนังสือประกอบภาพระบายสี 2) เพื่อศึกษาผลการจัดการเรียนรู้ และ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านหนองหว้าโพธิ์ไทร จำนวน 21 คน โดยเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้การวิจัย ได้แก่ แบบวิเคราะห์เอกสาร แผนการจัดการเรียนรู้ กิจกรรมการเรียนรู้ แบบสังเกต แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนแบบสอบถามความพึงพอใจ ข้อมูลจากการวิจัยเชิงคุณภาพทำการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา ส่วนการวิจัยเชิงปริมาณวิเคราะห์ข้อมูลโดยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบียนมาตรฐาน  ผลการวิจัยพบว่า
     1. การจัดการเรียนการสอนด้วยวิธีการสอนแบบบทบาทสมมติมี 3 วิธี ดังนี้ 1) การแสดงบทละคร 2) การแสดงบทบาทสมมติแบบไม่มีบทเตรียมไว้ 3) การใช้บทบาทสมมติแบบเตรียมบทไว้พร้อม โดยมีขั้นตอนการจัดการเรียนรู้ 2 ขั้นตอน ได้แก่ 1) ขั้นการกำหนดวัตถุประสงค์เฉพาะ และ 2) ขั้นสร้างสถานการณ์บทบาทสมมติ วิธีการสอนดังกล่าวครูผู้สอนเป็นผู้กำหนดหัวข้อเรื่องที่จะศึกษาหรือกำหนดสถานการณ์ขึ้นมา เพื่อให้คล้ายกับสภาพแวดล้อมของผู้เรียนแล้วให้นักเรียนได้เตรียมตัวล่วงหน้า และดำเนินการแสดงบทบาทตามที่ตนเองได้รับมอบหมาย เพื่อเป็นแนวทางในการแก้ปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน
     2. การทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน พบว่านักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 จากการสังเกตพฤติกรรมนักเรียน พบว่า นักเรียนกล้าแสดงออก ผู้เรียนมีโอกาสฝึกสนทนาโต้ตอบและได้ร่วมกิจกรรมเป็นกลุ่ม ทำให้ผู้เรียนเกิดความสนุกสนานกับบทบาทสมมติในสถานการณ์ต่าง ๆ เป็นสิ่งที่เร้าใจสำหรับผู้เรียน ทำให้ผู้เรียนจึงมีความกระตือรือร้นในการเรียนเพิ่มมากขึ้น
     3. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้อยู่ในระดับมาก โดยนักเรียนที่มีความพึงพอใจมากที่สุดในด้านเนื้อหา รองลงมา คือ ด้านการวัดผลและประเมินผล ด้านกระบวนการเรียนรู้ และด้านสื่อและอุปกรณ์การเรียนรู้ ตามลำดับ

Downloads

Download data is not yet available.

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

ฐิตาภา จันปุ่ม. (2554). การจัดกิจกรรมการเล่านิทานประกอบการแสดงบทบาทสมมติที่มีผลต่อพฤติกรรมทางสังคมของเด็กปฐมวัย. การศึกษาค้นคว้าอิสระปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาหลักสูตรและการสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ณฐมน จันทร์เพ็งเพ็ญ. (2560). การพัฒนาทักษะการพูดภาษาจีน โดยใช้กิจกรรมบทบาทสมมติ (ROLE PLAY) สำหรับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5/1 โรงเรียนมูลนิธิบ้านไผ่วิทยา. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

ณัฐรุจา ท่าโทม. (2565). ผลการใช้กิจกรรมบทบาทสมมติเพื่อเสริมสร้างพฤติกรรมทางสังคมของเด็กอนุบาลในห้องเรียนพหุวัฒนธรรม. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.

ทิศนา แขมมณี. (2560). ศาสตร์การสอน : องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 21. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ผุสดี กุฎอินทร์. (2558). เด็กกับการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

พิศิษฐ ตัณฑวณิช. (2558). “แนวคิดการจำแนกพฤติกรรมการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์การจัดการศึกษาด้านพุทธิพิสัย ตามแนวคิดของบลูม และคณะฉบับปรับปรุง.” วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง. 3(2) : 13 - 25.

ยามีละห์ นิเลาะ และสุรัสวดี นราพงศ์เกษม. (2564). “ผลการใช้นิทานอีสปร่วมกับการสอนแบบบทบาทสมมติที่มีต่อการเข้าใจความหมายของคำกริยาสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบ้านเบอเส้ง อำเภอเมืองจังหวัดยะลา.” ใน การประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติและนานาชาติครั้งที่ 12. สงขลา : มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.

โรงเรียนบ้านหนองหว้าโพธิ์ไทร. (2565). รายงานผลการศึกษาของนักเรียนชั้นประถมศึกษา โรงเรียนบ้านหนองหว้าโพธิ์ไทร. สุรินทร์ : ฝ่ายวิชาการโรงเรียนบ้านหนองหว้าโพธิ์ไทร.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-05-20

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research Articles)