การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง ผู้ผลิตที่มีความรับผิดชอบและผู้บริโภคที่รู้เท่าทัน กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้รูปแบบซิปปาโมเดล

ผู้แต่ง

  • อำนาจ ศรทอง คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์
  • อัชราพร สุขทอง คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์
  • ธงไชย สุขแสวง คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์

คำสำคัญ:

ชุดกิจกรรมการเรียนรู้, ผู้ผลิตที่มีความรับผิดชอบและผู้บริโภคที่รู้เท่าทัน, ซิปปาโมเดล

บทคัดย่อ

     งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาองค์ความรู้การสร้างชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง
ผู้ผลิตที่มีความรับผิดชอบและผู้บริโภคที่รู้เท่าทัน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 2) พัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 และ 3) ศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน จากการเรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ โดยใช้รูปแบบซิปปาโมเดล กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/1 โรงเรียนราษฎร์พัฒนา จำนวน 19 คน โดยเลือกแบบเจาะจง เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ เครื่องมือที่ใช้การเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบวิเคราะห์เอกสาร ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ แผนการจัดการเรียนรู้แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ ข้อมูลจากการวิจัยเชิงคุณภาพทำการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา ส่วนการวิจัยเชิงปริมาณวิเคราะห์ข้อมูลโดยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า
     1. ผลการศึกษาเกี่ยวกับชุดกิจกรรมการเรียนรู้ ได้นำแนวคิดที่ได้จากการวิเคราะห์องค์ประกอบโดยยึดหลักการสร้างตามทฤษฎีสื่อประสม และนำองค์ประกอบที่ได้ไปสร้างชุดกิจกรรมการเรียนรู้ จำนวน 3 ชุด ผลการประเมินองค์ประกอบและค่าความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก โดยพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้มีองค์ประกอบสำคัญ 1) ด้านเนื้อหาเรียงลำดับจากง่ายไปหายาก มีเนื้อหาที่น่าสนใจ ไม่ซับซ้อน มีตัวอย่างที่ชัดเจนและเหมาะสมกับการศึกษาด้วยตนเอง 2) ด้านสื่อการเรียนรู้ ได้แก่ คู่มือสำหรับครู ใบความรู้ ใบงาน สื่อบุคคล 3) ด้านการนำชุดกิจกรรมการเรียนรู้ไปใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ควรใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ร่วมกับวิธีสอนแบบใหม่ๆ หลากหลายวิธีการ ทำให้รู้สึกสนุกสนานกับการเรียน ซึ่งจะทำให้ผู้เรียนสามารถจดจำและนำไปประยุกต์ใช้ได้อย่างเหมาะสม และ 4) ด้านการวัดผลประเมินผล โดยการประเมินผลหลายๆ แบบผสมผสานกัน เช่น การสังเกต การทดสอบ การประเมินผลตามสภาพจริงและประเมินให้ครอบคลุมทุกด้าน
     2. ผลการพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบวิเคราะห์เอกสาร และผลการนำชุดกิจกรรมไปใช้ในการเรียนรู้กับผู้เรียน พบว่า ชุดกิจกรรมมีค่าประสิทธิภาพ 83.33/83.11 ซึ่งมีประสิทธิภาพของกระบวนการและประสิทธิภาพของผลลัพธ์ (E1/ E2) สูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่กำหนดไว้
     3. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบซิปปาโมเดล มีคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Downloads

Download data is not yet available.

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์คุรุสภา ลาดพร้าว.

กันตินันท์ ถนอมวงษ์. (2565). การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้แนวคิดเกมมิฟิเคชัน เพื่อส่งเสริมทักษะคิดวิเคราะห์ และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง หน่วยพื้นฐานของสิ่งมีชีวิต สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.

กุลิสรา จิตรชญาวณิช. (2562). การจัดการเรียนรู้. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เกริก ท่วมกลาง และจินตนา ท่วมกลาง. (2555). การพัฒนาสื่อนวัตกรรมทางการศึกษา. กรุงเทพฯ : เยลโล่การพิมพ์.

กรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. (2542). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 และการวิเคราะห์สาระสำคัญ. กรุงเทพฯ : คุรุสภาลาดพร้าว.

กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธการ. (2551). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรแกนกลางกลมสาระการเรียนรู้ภาษาไทยตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ : กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ.

จิรชพรรณ ชาญช่าง. (2562). “ผลของการใช้ชุดการเรียนรู้ผ่านแท็บเล็ตร่วมกับแนวคิดเกมมิฟิเคชันเพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่มีความสามารถทางการเรียนแตกต่างกัน.” วารสารครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 47(2) : 18 - 30.

ถนัดกิจ บุตรวงค์ และคณะ. (2564). “การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิชาสังคมศึกษา เรื่อง ภูมิปัญญาท้องถิ่น โดยใช้แนวคิดการสอนแบบสร้างสรรค์เป็นฐาน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5.” วารสารบัณฑิตศึกษา. 18(80) : 135 - 144.

ทิศนา แขมมณี. (2558). ศาสตร์การสอน : องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 19. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

______. (2555). ศาสตร์การสอน : องค์ความรู้เพื่อจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ประกิต ทวนธง และสุดากาญจน์ ปัทมดิลก. (2564). “การพัฒนาชุดกิจกรรมการสอนภาษาอังกฤษด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้สมอง เป็นฐานเรื่องไวยากรณ์พื้นฐาน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5.” วารสารพุทธศึกษาและวิจัย : JBER. 7(3) : 263 - 276.

รมย์ธีรา ยอดโพธิ์. (2566, มิถุนายน 8). สัมภาษณ์.

สุวธิดา ล้านสา. (2558). “การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์และจิตวิทยาศาสตร์สำหรับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4.” วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร สาขามนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์ และศิลปะ. 9(2) : 1134 - 1348.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560). แผนพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ.2560 - 2564). กรุงเทพฯ : สำนักนายกรัฐมนตรี.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 - 2579. กรุงเทพฯ : พริกหวานกราฟฟิค.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-04-20

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research Articles)