การเรียนรู้ เรื่อง ประวัติศาสตร์ชุมชนบ้านแตล นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 รูปแบบโครงงาน
คำสำคัญ:
การจัดการเรียนรู้, ประวัติศาสตร์ชุมชน, รูปแบบโครงงานบทคัดย่อ
วิทยานิพนธ์เรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการจัดการเรียนรู้ 2) ศึกษาผลการจัดการเรียนรู้ 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยรูปแบบโครงงาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/1 ที่กำลังศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 30 คน ซึ่งได้มาจากการเลือกแบบเฉพาะเจาะจง เครื่องที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลวิจัย คือ แผนการจัดการเรียนรู้ แบบวัดผลการจัดการเรียนรู้ จำนวน 30 ข้อ และแบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัย พบว่า 1) การจัดการเรียนรู้ เรื่อง ประวัติศาสตร์ชุมชนบ้านแตล ผู้วิจัยใช้วิธีการสอนรูปแบบโครงงาน ประสบความสำเร็จโดยการจัดกิจกรรมที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ซึ่งให้ผู้เรียนได้ค้นคว้าเกี่ยวกับสิ่งที่ตนสนใจ ฝึกปฏิบัติจริงด้วยตนเองตามความสามารถ ความถนัดและสนใจ
โดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ซึ่งเป็นกระบวนการที่เป็นขั้นตอน มีการศึกษาอย่างเป็นระบบ มีการวางแผนอย่างละเอียดและลงมือปฏิบัติตามแผนที่ได้วางไว้เป็นขั้นตอน โดยมีครูเป็นผู้คอยกระตุ้น ให้คำแนะนำและคำปรึกษา ตลอดการเรียนรู้อย่างใกล้ชิด จนผู้เรียนเป็นผู้ค้นพบคำตอบนั้นและเผยแพร่องค์ความรู้ที่ได้ค้นพบแก่สาธารณชน 2) ผลการจัดการเรียนรู้จากการจัดกิจกรรมการเรียนโดยรูปแบบโครงงาน นักเรียนมีผลคะแนนทดสอบเฉลี่ยก่อนเรียน 12.87 คะแนน (ค่าเฉลี่ยร้อยละ 42.89) ส่วนผลคะแนนทดสอบเฉลี่ยหลังเรียน 16.32 (ค่าเฉลี่ยร้อยละ 79.33) ผลต่างคะแนนเฉลี่ยระหว่างการทำแบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียนเท่ากับ 10.93 คะแนนคิดเป็นค่าเฉลี่ยร้อยละ 36.44 ซึ่งนักเรียนมีคะแนนสอบหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3) นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้อยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.10
Downloads
References
จินตนา ครองยุทธ และศิริพจน์ พรมหล่อ. (2561). การพัฒนาการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานวิชาประวัติศาสตร์ โดยใช้หลักฐานทางประวัติศาสตร์เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านแสงน้อย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานีเขต 1. กรุงเทพฯ : กระทรวงศึกษาธิการ.
จุฑาภรณ์ หวังกุหลำ. (2557). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาประวัติศาสตร์ เรื่องเหตุการณ์สำคัญทางประวัติศาสตร์สากลของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ระหว่างวิธีการสอนแบบโครงงานกับวิธีการสอนแบบปกติ. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.
เฉลิม มลิลา นิติเขตต์ปรีชา. (2559). เทคนิควิธีการสอนประวัติศาสตร์. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ทิศนา แขมมณี. (2561). ศาสตร์การสอน : องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 22. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
เทพกัญญา พรหมขัติแก้ว. (2557, พฤษภาคม-มิถุนายน). “ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน.” นิตยสาร สสวท. 42(118) : 14 - 17.
พระปลัดลือชา อาทโร. (2566, มิถุนายน 20). เจ้าอาวาสวัดพรหมศิลาแตล. สัมภาษณ์.
พิมพันธ์ เดชะคุปต์ และพยาว์ ยินดีสุข. (2558). การจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ศศิธร อินตุ่น (2564, มกราคม-มีนาคม). “การจัดการเรียนรู้แบบโครงงานที่ใช้โรงเรียนและชุมชนเป็นฐานโดยเน้นการแก้ปัญหาย่างสร้างสรรค์ของนักศึกษาสาขาการประถมศึกษา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.” วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 15(1) : 145 - 158.
ศศิพัชร จำปา. (2559, พฤษภาคม-สิงหาคม). “การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นโดยใช้แหล่งเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์เพื่อส่งเสริมกระบวนการคิดทางประวัติศาสตร์.” วารสารวิชาการ Veridian E – Journal, Silpakorn University ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ. 9(2) : 1158 - 1171.
ศิริพร พุทไธสงค์ และชมพูนุช วุ่นสุวรรณ. (2561). “การจัดการเรียนรูแบบบูรณาการ โดยใชโครงงานเปนฐานเพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนทักษะการคิดวิเคราะห์ และทักษะการทำงานเป็นทีมของผู้เรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปที่ 1.” วารสารวิจัยเพื่อการปฏิรูปการศึกษา. 1(2) : 1 - 8.
สุนทรชัย ชอบยศ. (2562, พฤษภาคม-สิงหาคม). “ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นเพื่อการพัฒนารากฐานท้องถิ่นที่เข้มแข็งและยั่งยืน.” วารสารสถาบันพระปกเกล้า. 17(2) : 115 - 138.