การพัฒนาอาหารท้องถิ่นของชุมชนตำบลดอนมดแดง อำเภอดอนมดแดง จังหวัดอุบลราชธานี

ผู้แต่ง

  • ภัทรวดี ห่วงเพชร คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎอุบลราชธานี
  • ปรางค์ทิพย์ จันทร์แดง คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎอุบลราชธานี
  • นฤภรณ์ สุโพภาค คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎอุบลราชธานี
  • จรารุวรรณ วิเศษชลธาร คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎอุบลราชธานี
  • อนิรุตห์ แต้มงาม คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎอุบลราชธานี
  • กิตต์กวินเดชน์ วงศ์หมั่น คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎอุบลราชธานี

คำสำคัญ:

การพัฒนา, อาหารท้องถิ่น, สำรับอาหาร, ชุมชนตำบลดอนมดแดง

บทคัดย่อ

     การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาประเภทอาหารท้องถิ่นของชุมชนตำบลดอนมดแดงอำเภอดอนมดแดง จังหวัดอุบลราชธานี 2) ศึกษาความคิดเห็นเกี่ยวกับอาหารท้องถิ่นของชุมชน ตำบลดอนมดแดง 3) พัฒนาอาหารท้องถิ่นของชุมชนตำบลดอนมดแดง เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์ และสนทนากลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง และประเด็นสนทนากลุ่ม ประชากรที่ใช้ในการศึกษา คือ ผู้ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ของชุมชนตำบลดอนมดแดง อำเภอดอนมดแดง จังหวัดอุบลราชธานี ใช้วิธีการเลือกสุ่มตัวอย่างโดยไม่อาศัยความน่าจะเป็นด้วยเทคนิคการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง ได้แก่ ตัวแทนกลุ่มวิสาหกิจชุมชน ตัวแทนกลุ่มแม่บ้าน ตัวแทนกลุ่มผู้ประกอบการร้านอาหาร ตัวแทนกลุ่มเกษตรกร และตัวแทนผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียทางภาครัฐ รวมจำนวน 30 คน
     ผลการศึกษาพบว่า 1) ประเภทอาหารท้องถิ่นของชุมชนตำบลดอนมดแดง จำนวน 11 ประเภท รวม 44 รายการ ซึ่งเป็นรายการอาหารที่คนในชุมชนรับประทาน และมีวิธีการประกอบอาหารอย่างพิถีพิถันหลากหลายประเภท 2) ความคิดเห็นเกี่ยวกับอาหารท้องถิ่นของชุมชนตำบลดอนมดแดง พบว่า อาหารที่คนในชุมชนรับประทานมากที่สุด ได้แก่ ส้มตำ แกงหน่อไม้ ป่นปลาลวกผัก ขนมจีนน้ำยา กล้วยบวดชี และ 3) การพัฒนาอาหารท้องถิ่นของชุมชน ตำบลดอนมดแดง นำอาหารที่มีอยู่ในชุมชนแต่เดิมมาประยุกต์พัฒนาให้เกิดเป็นสำรับใหม่ โดยผ่านกระบวนการปรุงอย่างพิถีพิถัน และนำวัตถุดิบที่มีในชุมชนมาผสมผสานเข้าด้วยกัน อีกทั้งยังเป็นการคงไว้ซึ่งเอกลักษณ์ของชุมชนตำบลดอนมดแดง โดยนำเสนอผ่านสำรับอาหาร และสามารถสร้างเอกลักษณ์ให้แก่ชุมชน และยังเป็นที่รู้จักสำหรับคนที่ได้รับประทานอาหารเพื่อเป็นการนึกถึงแหล่งที่มาของอาหารเหล่านี้ ได้แก่ ส้มตำกุ้งฝอยทอดกรอบ แกงหน่อไม้หอยเชอรรี่ ป่นปลาลวกผัก ขนมจีนน้ำยาปูนา กล้วยบวดชีมันแซง อีกทั้งยังทำให้คนในชุมชนรู้สึกภาคภูมิใจและอยากที่จะรักษาอาหารท้องถิ่นของชุมชนตำบลดอนมดแดงไว้สืบไป

Downloads

Download data is not yet available.

References

พิมพ์เพ็ญ พรเฉลิมพงศ์. (2558). “อาหารพื้นบ้านไทย.” [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : https://www.foodnetworksolution.com/wiki/word/2258/อาหารพื้นบ้านไทย สืบค้น 10 เดือนตุลาคม 2566.

ยิ่งยง ไพสุขศานติวัฒนา. (2556). “ผักพื้นบ้านภูมิปัญญาและมรดกที่คนไทยหลงลืม.” ใน เอกสารประกอบการสัมมนาวิชาการและอุทยานผักพื้นบ้านในวิถีไทย 19 ธันวาคม 2566. กรุงเทพฯ : สำนักพิพิธภัณฑ์และวัฒนธรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

วรารัตน์ สานนท์ และกมลพร สวนทอง. (2563). “การศึกษาอาหารท้องถิ่นเพื่อสุขภาพในแหล่งท่องเที่ยวชุมชนจากอัตลักษณ์เพื่อการท่องเที่ยว เรียนรู้อาหารเชิงสุขภาพของภูมิภาคตะวันตก กรณีศึกษาชุมชนหนองโรง ตำบลหนองโรง อำเภอพนมทวน จังหวัดกาญจนบุรี.” วารสารมนุษยศาสตร์วิชาการ. 27(1) : 237 - 273.

วิรัชยา อินทะกันฑ์. และกุลชญา สิ่วหงวน. (2564). “การพัฒนาตำรับอาหารพื้นเมืองสู่สำรับอาหารเพื่อการท่องเที่ยว อำเภอบางกระทุ่ม จังหวัดพิษณุโลก.” วารสารราชภัฏเพชรบูรณ์สาร. 23(1) : 33 - 39.

สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอดอนมดแดง จังหวัดอุบลราชธานี. (2566). “ประวัติความเป็นมาของอำเภอดอนมดแดง.” [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : https://district.cdd.go.th สืบค้น 2 สิงหาคม 2566.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุบลราชธานี. (2566). “ประชากรรายตำบล.” [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : http://demo.phoubon.in.th สืบค้น 2 สิงหาคม 2566.

เอกชัย ใยพิมล และดนัย ทายตะคุ. (2561). “บทบาทของสวนบ้านและแหล่งอาหารชุมชนต่อระบบอาหารครัวเรือน กรณีศึกษา บ้านโนนสะอาด จังหวัดขอนแก่น ภาควิชาภูมิสถาปัตยกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.” วารสารสาระศาสตร์. 1(3) : 556 – 570.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-04-17

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research Articles)