การจัดการเรียนรู้ เรื่อง การเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรม กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้วิธีการสอน Active Learning

ผู้แต่ง

  • ชฬีกานต์ แสงกิจพิพัฒน์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์
  • ธงไชย สุขแสวง คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์
  • อัชราพร สุขทอง คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์

คำสำคัญ:

การจัดการเรียนรู้, การเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรม, การเรียนรู้แบบสืบเสาะ, นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

บทคัดย่อ

     วิทยานิพนธ์เรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการจัดการเรียนรู้ เรื่องการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรม กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้ Active Learning 2) ศึกษาผลการจัดการเรียนรู้ 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียน เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวนนักเรียน 38 คน วิธีการคัดเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) แบบทดสอบ 2) แผนการจัดการเรียนรู้ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจ ข้อมูลเชิงคุณภาพทำการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา ข้อมูลเชิงปริมาณทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
     ผลการวิจัยพบว่า 1) การจัดการเรียนรู้ เรื่อง การเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรม กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ผู้วิจัยได้ใช้วิธีการสอนแบบสืบเสาะ ประสบความสำเร็จโดยการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนเน้นให้ผู้เรียนได้รวมกลุ่ม เพื่อทำงานร่วมกันและช่วยเหลือกัน ช่วยกันสอนและหาคำตอบไปพร้อมกัน ส่งผลให้ผู้เรียนมีความเอาใจใส่รับผิดชอบตัวเองและกลุ่มร่วมกับสมาชิกอื่น ผู้เรียนที่มีความสามารถต่างกันได้เรียนรู้ร่วมกัน ผลัดเปลี่ยนกันเป็นผู้นำ ผู้เรียนได้ฝึกและเรียนรู้ทักษะทางสังคม และผู้เรียนมีความตื่นตัว สนุกสนานกับการเรียนรู้ 2) ผลการจัดการเรียนรู้ เรื่องการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรม ผลทดสอบก่อนเรียนเฉลี่ย 22.97 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 57.43 และผลทดสอบหลังเรียนมีค่าเฉลี่ย 28.16 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 70.39 ซึ่งผลทดสอบหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และ 3) ความพึงพอใจของนักเรียนต่อการจัดการเรียนรู้ เรื่องการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมในภาพรวม อยู่ในระดับมาก ( gif.latex?\bar{x} = 4.36) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า มีความพึงพอใจมากที่สุด คือ ด้านการวัดและประเมินผลการเรียน ( gif.latex?\bar{x} = 4.46) รองลงมา ได้แก่ ด้านสื่อและสิ่งสนับสนุนการเรียนการสอน ( gif.latex?\bar{x} = 4.41) ด้านผู้สอน ( gif.latex?\bar{x} = 4.31) ด้านกระบวนการเรียนรู้ ( gif.latex?\bar{x} = 4.20) ด้านเนื้อหา ( gif.latex?\bar{x} = 4.18) ตามลำดับ

Downloads

Download data is not yet available.

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลางกลุ่มสาระสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม. กรุงเทพฯ : กระทรวงศึกษาธิการ.

ชลาทิพย์ ชัยโคตร และเชิดชัย หมื่นภักดี. (2562). “การพัฒนาผลการเรียนรู้และพฤติกรรมการกล้าแสดงออกโดยการจัดการเรียนรู้แบบบทบาทสมมติ“เรื่องการมีส่วนร่วมทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตย.” วารสาร“ศึกษาศาสตร์มมร”คณะศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัย มหามกุฏราชวิทยาลัย. 7(2) : 15-26.

ปุญญิศา วงษ์เสมา. (2561). “ผลการจัดการเรียนรู้ระบบการเรียนแบบสองภาษา ด้วยวิธีสอนแบบบทบาทสมมติ เรื่อง เศรษฐศาสตร์น่ารู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ของนักเรียนชั้น ประถมศึกษาปีที่ 4.” วารสารลวะศรี. 2(2) : 112-118.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2553). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไข เพิ่มเติม (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2553. กรุงเทพฯ : สำนักนายกรัฐมนตรี.

รังสิยา นรินทร์. (2561). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้านโดยการใช้กิจกรรมเป็นฐานในการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างความมุ่งมั่นแน่วแน่ของนักเรียน ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ. 19 : 57-70.

รัชนี เกษศิริ และคนอื่น ๆ. (2560). “ศึกษาผลการจัดการเรียนรู้แบบปัญหาเป็นฐาน วิชาสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรมที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ด้านใฝ่เรียนรู้ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนศึกษานารีวิทยา.” Veridian E-Journal, Silpakorn University. 10 : 1908-1925.

โรงเรียนอนุบาลศรีขรภูมิ. (2565). รายงานการประกันคุณภาพการศึกษา ปี 2565. สุรินทร์ : ฝ่ายวิชาการ โรงเรียนอนุบาลศรีขรภูมิ.

Bonwell, Charles C. and Eison, James A. (1991). Active Learning : Creating Excitement in the Classroom. Washington, DC. : ERIC Clearinghouse on Higher Education, George Washington University.

Meyers and Jones (1993). Promoting Active Learning: Strategies for the collage Classroom. San Francisco : Jossey -Bass.

Freud, Sigmund. (1920). A General Introduction to Psychoanalysis. New York : Boni and Liveright.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-29

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research Articles)