การศึกษารวบรวมตำรับยาหอมในตำราการแพทย์แผนไทย
คำสำคัญ:
ตำรับยาหอม, สรรพคุณ, แพทย์แผนไทยบทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อรวบรวมและจัดหมวดหมู่ตำรับยาหอมจากตำราทางการแพทย์แผนไทยให้สอดคล้องกับลักษณะอาการเจ็บป่วย เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยมีการวิจัยเอกสารและสนทนากลุ่มจากอาจารย์แพทย์แผนไทย จำนวน 10 คน เครื่องมือวิจัย คือ แบบบันทึกข้อมูลจากการประมวลความรู้ในเอกสารตำราที่เกี่ยวข้องกับตำรับยาหอมและแบบบันทึกการสนทนากลุ่ม ตรวจสอบเครื่องมือมีค่า IOC เท่ากับ 0.77 ซึ่งเก็บข้อมูลจากการสนทนากลุ่มและการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบตำรับยาที่มีชื่อว่ายาหอม จำนวน 51 ตำรับ เมื่อตรวจสอบความซ้ำซ้อนคงเหลือ จำนวน 34 ตำรับ โดยสามารถจำแนกตำรับยาหอมตามสรรพคุณในการรักษาออกเป็น 3 กลุ่ม คือ 1) ยาหอมแก้ลม จำนวน 21 ตำรับ ซึ่งมีองค์ประกอบของตำรับที่ช่วยปรับการทำงานของลมในร่างกาย และช่วยรักษาอาการที่เฉพาะเจาะจง เช่น บรรเทาอาการวิงเวียนศีรษะ บำรุงกำลัง เป็นต้น 2) ยาหอมแก้ไข้ จำนวน 11 ตำรับ ซึ่งมีองค์ประกอบของตำรับที่ช่วยลดไข้และช่วยบำรุงร่างกาย 3) ยาหอมที่ไม่ระบุสรรพคุณ จำนวน 2 ตำรับ เห็นได้ว่าตำรับยาหอมที่มีการบันทึกไว้ในตำราการแพทย์แผนไทยมีสรรพคุณหลากหลาย ดังนั้นการเลือกใช้ยาหอมให้ได้ประสิทธิผลจึงควรพิจารณาสรรพคุณให้สอดคล้องกับอาการเจ็บป่วย
Downloads
References
กนกอร เพียรสูงเนิน. (2562). การศึกษาเส้นประธานสิบ กรณีศึกษาเส้นกาลทารี. วิทยานิพนธ์การแพทย์แผนไทยมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.
กรมศิลปากร. (2526). ตำราพระโอสถพระนารยณ์. มปพ.
ชนะกันต์ มากศิริ. (2562). ประสิทธิผลของยาหอมเทพจิตรร่วมกับการรักษาตามปกติในการช่วยลดความถี่ของการเกิดอาการปวดศีรษะไมเกรน. การค้นคว้าอิสระวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง.
ธิดารัตน์ แอนิ่ม, ประภาส สงบุตร, ณัฏฐากร พงศ์เศรษฐ์กุล, สุทธินัย จิรสุวรรณประภา และ อุบลรัตน์ รัตนอุไร. (2563). “ประสิทธิผลของยาหอมเทพจิตรต่อการลดความดันโลหิตในประชากรอายุ 35 ปี ขึ้นไปที่มีค่าความดันโลหิตอยู่ในกลุ่ม High normal สูงปกติ.” วารสารการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก. 18(2) : 21-22.
นพมาศ สุนทรเจริญนนท์ และนงลักษณ์ เรืองวิเศษ. (2551). คุณภาพเครื่องยาไทยจากงานวิจัยสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน. กรุงเทพฯ : บริษัทคอนเซ็พท์เมดิคัสจำกัด.
“บัญชียาหลักแห่งชาติด้านสมุนไพร.” (2566, มิถุนายน 2). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 140 ตอนพิเศษ 130ง. ภาคผนวกหน้า 1.
บุษบา ประภาสพงศ์ และคนอื่น ๆ. (บรรณาธิการ). (2542). แพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ ภูมิปัญญาทางการแพทย์และมรดกทางวรรณกรรมของชาติ. กรุงเทพฯ : คุรุสภาลาดพร้าว.
“ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขของผลิตภัณฑ์สมุนไพรขายทั่วไป.” (2564, เมษายน 30). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 138 ตอนพิเศษ 93ง. หน้า 8-61.
“ยาสามัญประจำบ้านแผนโบราณ.” (2556, กุมภาพันธ์ 14). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 130 ตอนพิเศษ 21ง. หน้า 45-46.
วรินท์ โอนอ่อน ฉัตรชนก นุกูลกิจ ทัณฑิกา แก้วสูงเนิน นัฐธิฌา เพิ่มผล และ ยลดา ศรีเศรษฐ์. (2565). “ผลของวิธีการสกัดต่อปริมาณสารประกอบฟีนอลิกรวมและฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของตำรับจันทน์ทั้งห้า.” วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. 24(3) : 88-96.
วิสุดา สุวิทยาวัฒน์ จรุงจันทร์ กิจผาติ นันทวัน บุณยะประภัศร และ สุวรรณ ธีระวรพันธ์. (2548). “ผลของยาหอมต่อการทำงานของระบบหัวใจและหลอดเลือดของคน.” วารสารสมุนไพร. 12(2) : 1-10.
อำพล บุญเพียร, สนั่น ศุภธีรสกุล และ ธัญญลักษณ์ ศิริยงค์. (2561). “ภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยในการรักษาโรคความดันโลหิตสูง.” วารสารชุมชนวิจัยมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา. 16(3) : 207-221.