การพัฒนาหลักสูตรและแนวทางการบริหารจัดการวิชาศึกษาทั่วไป มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์
คำสำคัญ:
การพัฒนาหลักสูตรวิชาศึกษาทั่วไป, แนวทางการบริหารจัดการหมวดวิชาศึกษาทั่วไป, มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์, วิชาศึกษาทั่วไปบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาพัฒนาการของวิชาศึกษาทั่วไปที่จัดการเรียนการสอนในมหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ 2) ศึกษาสภาพการจัดการเรียนการสอนวิชาศึกษาทั่วไป3) พัฒนาหมวดวิชาศึกษาทั่วไป และ 4) ศึกษาแนวทางการบริหารจัดการหมวดวิชาศึกษาทั่วไปเป็นการวิจัยแบบผสานวิธี ได้แก่ วิธีวิจัยเชิงปริมาณ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามจากอาจารย์ จำนวน 160 คน และนักศึกษาชั้นปีที่ 1 – 4 จำนวน 390 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ เป็นการวิเคราะห์เอกสารการสัมภาษณ์และการประชุมสนทนากลุ่มย่อย ผลการวิจัยพบว่า
1. พัฒนาการวิชาศึกษาทั่วไปมหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ แบ่งเป็น 3 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 ช่วงเป็นวิทยาลัยครูสุรินทร์ เรียกว่า วิชาสามัญ แบ่งเป็น 5 กลุ่มวิชา จำนวน 33 หน่วยกิต ระยะที่ 2 ช่วงสถาบันราชภัฏสุรินทร์ เรียกว่า หมวดวิชาศึกษาทั่วไป แบ่งเป็น 4 กลุ่มวิชา จำนวน 33 หน่วยกิต และระยะที่ 3 มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ เรียกว่า หมวดวิชาศึกษาทั่วไป แบ่งเป็น 4 กลุ่มวิชา จำนวน 30 หน่วยกิต
2. สภาพปัญหาการจัดการเรียนการสอนหมวดวิชาศึกษาทั่วไป พบว่า โดยรวมมีความคิดเห็นต่อหมวดวิชาศึกษาทั่วไปในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด คือ ด้านจุดมุ่งหมายหมวดวิชาศึกษาทั่วไป ด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุดได้แก่ ด้านการจัดการเรียนรู้ หมวดวิชาศึกษาทั่วไป โดยมีข้อเสนอแนะเพิ่มเติมที่มีความถี่มากที่สุด คือ วิชาเน้นเนื้อหาทันสมัยและสามารถนำความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวันได้
3. ผลการพัฒนาหมวดวิชาศึกษาทั่วไป ประกอบด้วย 4 กลุ่มวิชา ได้แก่ กลุ่มวิชาสังคมศาสตร์ กลุ่มวิชามนุษยศาสตร์ กลุ่มวิชาภาษา กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์กับคณิตศาสตร์ แบ่งสัดส่วนจำนวนหน่วยกิต เท่ากับ 6 : 6 : 9 : 9 ทั้งนี้กลุ่มวิชาภาษา บังคับเรียนวิชาภาษาอังกฤษ 3 รายวิชา
4. แนวทางการบริหารจัดการวิชาศึกษาทั่วไป มี 2 แนวทาง คือ ระยะที่ 1 บริหารจัดการโดยคณะกรรมการ และระยะที่ 2 ตั้งเป็นหน่วยงานอิสระที่รับผิดชอบวิชาศึกษาทั่วไปโดยตรง
Downloads
References
กรมการฝึกหัดครู. (2536). หลักสูตรวิทยาลัยครูฉบับปรับปรุง 2536 สาขาวิทยาศาสตร์. กรุงเทพฯ : หน่วยศึกษานิเทศก์ กรมการฝึกหัดครู กระทรวงศึกษาธิการ.
______. (2536). หลักสูตรวิทยาลัยครูฉบับปรับปรุง 2536 สาขาศิลปศาสตร์. กรุงเทพฯ : หน่วยศึกษานิเทศก์ กรมการฝึกหัดครู กระทรวงศึกษาธิการ.
กฤษฎา กุณฑล. (2556). การพัฒนาหลักสูตรวิชาศึกษาทั่วไปที่เหมาะสมกับบริบทมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา. ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (หลักสูตรและการสอน) สาขาหลักสูตรและการสอน ภาควิชาการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ปนัดดา เจียรกุล. (2541). แนวโน้มหลักสูตรวิชาศึกษาทั่วไปของสถาบันอุดมศึกษาสังกัดทบวงมหาวิทยาลัยในทศวรรษหน้า. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานิเทศการศึกษาและพัฒนาหลักสูตร ภาควิชาบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
“ประกาศกระทรวงศึกษาธิการเรื่อง กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา พ.ศ. 2552.” (2557). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : https://www.spu.ac.th สืบค้น 10 มีนาคม 2561.
“ประกาศกระทรวงศึกษาธิการเรื่องแนวทางการบริหารเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับอุดมศึกษา พ.ศ. 2558 เล่ม 132 ตอนพิเศษ 259ง วันที่ 13 พฤศจิกายน 2558 หน้า 25 – 30” (2563). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : http://acrd.ac.th สืบค้น 20 มีนาคม 2561.
“พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏ พุทธศักราช 2547.” (25637). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : https://www.mhesi.go.th สืบค้น 10 มีนาคม 2563.
พิศิษฐ ตัณฑวณิช. (2553). สถิติเพื่องานวิจัยทางการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ : บุ๊คพอยท์.
พัชราภา ตันติชูเวช. (2553). การศึกษารูปแบบและลักษณะการจัดการศึกษาในรายวิชาศึกษาทั่วไปของสหรัฐอเมริกาและประเทศในเอเชีย. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต.
ไพฑูรย์ สินลารัตน์. (2549). รายงานการวิจัยเรื่องสภาพปัจจุบันและแนวโน้มของวิชาศึกษาทั่วไปในมหาวิทยาลัย ไทย. กรุงเทพฯ : คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
______. (2550). หลักสูตรวิชาศึกษาทั่วไปหลักการแลวิธีดำเนินการ. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. (2554). จดหมายเหตุ ศูนย์วิชาบูรณาการ หมวดวิชาศึกษาทั่วไป : จากอดีตปัจจุบันและก้าวต่อไป. กรุงเทพฯ : ศูนย์วิชาบูรณาการ หมวดวิชาศึกษาทั่วไป มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์. (2555). หมวดวิชาศึกษาทั่วไป พ.ศ. 2555. สุรินทร์ : สำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์.
มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์. (2558). คู่มือนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ปีการศึกษา 2558. สุรินทร์ : สำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์.
วิทยาลัยครูสุรินทร์. (2519). คู่มือนักศึกษาและอาจารย์วิยาลัยครูสุรินทร์. สุรินทร์ : วิทยาลัยครูสุรินทร์.
ศิริชัย กาญจนวาสี, ทวีวัฒน์ ปิตยานนท์และดิเรก ศรีสุข. (2537). การเลือกใช้สถิติที่เหมาะสมสำหรับการวิจัย. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สนอง แก้วเกิด. (2544). การประเมินหลักสูตรหมวดวิชาการศึกษาทั่วไป สถาบันราชภัฏในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. อุบลราชธานี : คณะครุศาสตร์ สถาบันราชภัฏอุบลราชธานี
สหวิทยาลัยอีสานใต้ สุรินทร์. (ม.ป.ป). คู่มือนักศึกษาสหวิทยาลัยอีสานใต้สุรินทร์. สุรินทร์ : สหวิทยาลัยอีสานใต้สุรินทร์.
สุนิสา อ่อนตา. (2557). การบริหารจัดการสำนักวิชาศึกษาทั่วไป มหาวิทยาลัยขอนแก่นในทศวรรษหน้า. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.