ประสิทธิผลการบริหารศูนย์การศึกษาพิเศษ เครือข่ายส่งเสริมประสิทธิภาพการจัดการศึกษา กลุ่มเครือข่ายที่ 11 สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ
คำสำคัญ:
องค์ประกอบการบริหาร, การบริหารที่มีประสิทธิผลบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาองค์ประกอบการบริหารศูนย์การศึกษาพิเศษที่มีประสิทธิผล 2) เพื่อศึกษาระดับของการบริหารศูนย์การศึกษาพิเศษที่มีประสิทธิผล และ 3) เพื่อศึกษาองค์ประกอบเชิงยืนยันขององค์ประกอบการบริหารศูนย์การศึกษาพิเศษที่มีประสิทธิผล กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการในการวิจัยในครั้งนี้ ได้แก่ ผู้บริหาร ครู และบุคลากรในศูนย์การศึกษาพิเศษที่เครือข่ายส่งเสริมประสิทธิภาพการจัดการศึกษาศูนย์การศึกษาพิเศษ เขตการศึกษา 11 สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ จำนวน 234 คน และผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้ทรงคุณวุฒิ และผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (Confirmatory Factor Analysis : CFA)
ผลการวิจัยพบว่า
1. องค์ประกอบการบริหารศูนย์การศึกษาพิเศษที่มีประสิทธิ ประกอบด้วย ด้านภาวะผู้นำของผู้บริหาร ด้านการพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา ด้านการบริหารจัดการ ด้านบรรยากาศและวัฒนธรรมองค์กร และด้านหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอน
2. ระดับของระดับของการบริหารศูนย์การศึกษาพิเศษที่มีประสิทธิผล โดยภาพรวม ให้ความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก ( = 3.84) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอน ให้ความคิดเห็นอยู่ในระดับสูงสุดเป็นอันดับแรก โดยให้ความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก ( = 4.06) รองลงมา คือ ด้านการบริหารจัดการ ( = 3.89) ด้านการพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา ( = 3.87) ด้านบรรยากาศและวัฒนธรรมองค์กร ( = 3.76) และด้านภาวะผู้นำของผู้บริหาร ( = 3.61) ให้ความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก ตามลำดับ
3. การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันของโมเดลการบริหารศูนย์การศึกษาพิเศษที่มีประสิทธิผล เครือข่ายส่งเสริมประสิทธิภาพการจัดการศึกษา กลุ่มเครือข่ายที่ 11 สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ พบว่า องค์ประกอบทั้ง 5 ตัวเป็นองค์ประกอบที่สำคัญในการบริหารศูนย์การศึกษาพิเศษที่มีประสิทธิผล เครือข่ายส่งเสริมประสิทธิภาพการจัดการศึกษา กลุ่มเครือข่ายที่ 11 สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ โดยมีค่าน้ำหนักองค์ประกอบเป็นบวก หมายถึง องค์ประกอบทั้ง 5 มีความสัมพันธ์ในการบริหารศูนย์การศึกษาพิเศษที่มีประสิทธิผล เครือข่ายส่งเสริมประสิทธิภาพการจัดการศึกษา กลุ่มเครือข่ายที่ 11
Downloads
References
ทวีศักดิ์ สมนอก. (2562). การพัฒนารูปแบบการบริหารสถานศึกษาที่มีประสิทธิผลโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 25. ปริญญาครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
บุญชม ศรีสะอาด. (2556). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาสน.
บทิม แสงอินทร์. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560. ราชกิจจานุเบกษา, 134(40ก) : 1 – 90.
สมพร ยอดดำเนิน. (2561). “การบริหารงานที่มีประสิทธิผลของโรงเรียนอนุบาลฤทธิยะวรรณาลัย.” วารสารบัณฑิตศาส์น. 16(1) : 193 – 203.
สำนักทดสอบการศึกษา. (2561). “มาตรฐานการศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ศูนย์การศึกษาพิเศษ.” [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : http://www.newonetresult. niets.or.th สืบค้น 19 มีนาคม 2566.
สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ. (2558). “หลักสูตรสำหรับเด็กที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษระยะแรกเริ่มของศูนย์การศึกษาพิเศษฉบับปรับปรุง.” [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : http://www.lampangsec.go.th/images/pdf/Course/manualEI.pdf?fbclid=IwAR1jxKQTqK6K9KxQtMcxhnSki43NvjJncjBph1e3Cos_cD6xelTFHlVX0RI สืบค้น 19 มีนาคม 2566.
สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ. (2565). หลักการพื้นฐานการศึกษาพิเศษ. กรุงเทพฯ : สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.
Robbins, S. P. (2002). Organization Theory : The Structure and Design of Qrganizations. New Jerscy : Prcnticc-Hall, Inc.