แนวทางการพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานีเขต 4

ผู้แต่ง

  • ศศิวรรณ ธานีพูน นักศึกษาหลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์
  • วสันต์ชัย กากแก้ว คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์
  • ประภาพร บุญปลอด คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์

คำสำคัญ:

แนวทางการพัฒนา, เครือข่ายความร่วมมือ, งานวิชาการ

บทคัดย่อ

       การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1)เพื่อศึกษาองค์ประกอบของเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 4 2) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันของเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 4 3) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 4 โดยดำเนินการวิจัยเป็น 3 ระยะคือ ระยะที่ 1 ศึกษาองค์ประกอบ โดยการศึกษาแนวคิด ทฤษฎี และสังเคราะห์องค์ประกอบ และประเมินความเหมาะสมขององค์ประกอบโดยผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 คน ระยะที่ 2 ศึกษาสภาพปัจจุบัน จากแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ เก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 165 คน และวิเคราะห์ข้อมูลสภาพปัจจุบัน จัดลำดับความสำคัญของแต่ละองค์ประกอบโดยการเรียงตามค่าเฉลี่ยของแต่ละองค์ประกอบ ระยะที่ 3 ศึกษาแนวทางการพัฒนาโดยการร่างแนวทางโดยผู้วิจัย สัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 5 คน ปรับปรุงแนวทางการพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการ และประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของแนวทางโดยผู้เชี่ยวชาญจำนวน 5 คน
       ผลการวิจัยพบว่า 1) องค์ประกอบของเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการของโรงเรียน ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานีเขต 4 ประกอบด้วย เครือข่าย ความร่วมมือมี 4 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) การมีวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายร่วมกัน 2) การปฏิบัติกิจกรรมร่วมกัน 3) การปฏิสัมพันธ์เชิงแลกเปลี่ยน และ 4) การมีส่วนร่วม และงานวิชาการมี 5 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) การพัฒนาหลักสูตร 2) การพัฒนากระบวนการเรียนรู้ 3) การวัดและประเมินผลการศึกษา 4) การวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา และ 5) การนิเทศการศึกษา รวมทั้งหมด 9 องค์ประกอบ โดยรวมทุกองค์ประกอบมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด 2) สภาพปัจจุบันของเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 4 โดยรวมทั้งหมดอยู่ในระดับมาก เครือข่ายความร่วมมือโดยรวมอยู่ในระดับมาก และงานวิชาการโดยรวมอยู่ในระดับมาก 3) แนวทางการพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 4 ได้แนวทางจำนวน 38 แนวทาง ซึ่งพบว่า โดยรวมทั้งหมดมีความเหมาะสมและความเป็นไปได้โดยรวมทั้งหมดอยู่ในระดับมากที่สุด

Downloads

Download data is not yet available.

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2546). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่2) พ.ศ. 2545. กรุงเทพฯ : กระทรวงศึกษาธิการ.

จิระศักดิ์ สร้อยคำ. (2561). การพัฒนารูปแบบการจัดการเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการของโรงเรียนเอกชนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริม การศึกษาเอกชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารและพัฒนาการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

พรชัย ทองเจือ. (2550). การพัฒนารูปแบบความร่วมมือระหว่างสถาบันอุดมศึกษากับโรงเรียน ในการเปลี่ยนผ่านด้านการเรียนการสอนในโรงเรียน. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษา ดุษฎีบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วาลิกา อัครนิตย์. (2562). กลยุทธ์การสร้างเครือข่ายความร่วมมือเพื่อพัฒนาโรงเรียนในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตร ดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษาและภาวะผู้นำ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานีเขต 4. (2565). รายงานผลการดำเนินงานประจำปีงบประมาณ 2565. อุบลราชธานี : สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานีเขต 4.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2550). แนวทางการกระจายอำนาจการบริหารและการบริหารจัดการศึกษาให้คณะกรรมการ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษาตามกฎกระทรวง กำหนดหลักเกณฑ์ และวิธีการกระจายอำนาจการบริหารและการจัดการศึกษา พ.ศ. 2550. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

สุนัย วงศ์สุวคันธ. (2555). “การพัฒนารูปแบบความร่วมมือในการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.” วารสารวิชาการบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.

หน่วยศึกษานิเทศก์. (2547). การพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาระบบเครือข่ายโรงเรียน. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมชนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทยจำกัด.

เอกจิรภัทร มหาวงค์. (2558). การพัฒนารูปแบบการบริหารเครือข่ายความร่วมมือทางวิชากาของโรงเรียนในถิ่นทุรกันดารบนเขตพื้นที่สูง. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษา ดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยนเรศวร.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-21

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research Articles)