กลยุทธ์ด้านการจัดการโฮมเสตย์ชุมชนบ้านป่าเหมี้ยง อำเภอเมืองปาน จังหวัดลำปาง ในสภาวะการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019

ผู้แต่ง

  • ปวีณา งามประภาสม คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง

คำสำคัญ:

กลยุทธ์, การจัดการโฮมสเตย์, บ้านป่าเหมี้ยง, ลำปาง, โคโรน่า2019

บทคัดย่อ

       งานวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ปัญหาและผลกระทบด้านการจัดการโฮมสเตย์ชุมชนบ้านป่าเหมี้ยง อำเภอเมืองปาน จังหวัดลำปาง และกำหนดกลยุทธ์ที่เหมาะสมในการจัดการโฮมสเตย์ของชุมชน ในสภาวะการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 ภายใต้ดัชนีชี้วัดมาตรฐานโฮมสเตย์ไทย
       ผลการวิจัยพบว่า การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ก่อให้เกิดปัญหาการจัดการโฮมสเตย์ของชุมชนทุกดัชนีชี้วัด โดยเฉพาะด้านที่พักได้รับผลกระทบโดยตรงจากการที่ไม่มีนักท่องเที่ยวเข้ามาพัก รายรับลดลง ราคาวัตถุดิบเพื่อประกอบอาหารสูงขึ้น ความสงบสุขในชุมชนลดลงเนื่องจากคนในชุมชนบางส่วนถูกเลิกจ้าง ว่างงาน เกิดความเครียด ขาดการปฏิสัมพันธ์ระหว่างชุมชนกับนักท่องเที่ยว กิจกรรมบางอย่างหยุดชะงักและต้องลดจำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรม กระบวนการวางแผนการทำงานของคณะกรรมการมีความยากลำบากจากการเข้าถึงการสื่อสารในรูปแบบออนไลน์ที่ไม่ทั่วถึง ทำให้การสื่อสารผิดพลาดมากขึ้น
       ผลกระทบในการจัดการโฮมสเตย์ชุมชนมีทั้งผลกระทบทางตรงและทางอ้อม ซึ่งผลกระทบทางตรงเกิดกับเจ้าของบ้านพักโฮมสเตย์จากการที่มีนักท่องเที่ยวลดน้อยลง ทำให้ขาดรายได้แต่ในทางกลับกันก่อให้เกิดผลดีคือเจ้าของบ้านมีเวลาดูแลบ้านพักของตนเองมากขึ้น ส่วนผลกระทบด้านอื่น ๆ โดยเฉพาะรายการนำเที่ยวและการแสดงศิลปวัฒนธรรมไม่สามารถจัดการรวมตัวเป็นจำนวนมากได้ ส่วนผลกระทบทางอ้อมกับชุมชนคือการขาดรายได้จากการขายสินค้าของร้านค้าในชุมชน

Downloads

Download data is not yet available.

References

กรวรรณ สังขการ. (2558). “ที่พักแรมแบบโฮมสเตย์และการจัดการ.” [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : https://www.slideshare.net/blackstarshooter99/6-5-37942305.

กองเศรษฐกิจการท่องเที่ยวและกีฬา สำนักงานปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2563). “สถานการณ์การท่องเที่ยวเดือนมิถุนาย 2563.” [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : https://www.mots.go.th/download/ article/article_20200729155418.pdf.

ณัฐชา ธนาภรณ์และคณะ. (2564). กลยุทธ์การจัดการธุรกิจโฮมสเตย์ภายใต้สถานการณ์โควิด 19 กรณีศึกษาหมู่บ้านแม่กำปอง จังหวัดเชียงใหม่. [บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยแม่โจ้.

ทีดีอาร์ไอ. (2564). “วิเคราะห์ผลกระทบของโควิด-19 ต่อธุรกิจท่องเที่ยว.” [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : https://tdri.or.th/2021 /02/covid-112/.

ประมณฑ์ กาญจนพิมลกุล และ กรรณิการ์ ธรรมพานิชวงค์. (2563). “โควิด-19 สร้างทั้งวิกฤตและโอกาสต่อสิ่งแวดล้อม.” [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : https://tdri.or.th/2020/06/ covid-19-turning-crisis-into-an-opportunity-for-natural-tourism/.

มิ่งขวัญ ขาดสะอาด. (2563). “โควิด-19 กับการท่องเที่ยวที่เปลี่ยนไป.” [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : https://www. bangkokbiznews.com/business/875629.

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. (2564). “หนุนพัฒนาท่องเที่ยวชุมชนวิถีใหม่ รับยุคโควิด-19.” [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : https://www.thaihealth.or.th/ Content/54667.

อภิชาต โตดิลกเวชช์. (2565). “”การแก้ไขสถานการณ์โควิด-19 ในระดับพื้นที่และชุมชนของจังหวัด. https://www.posttoday.com/politic/columnist/620362.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-21

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research Articles)