ผลการใช้แบบฝึกทักษะการเรียนรู้ รายวิชา ภูมิศาสตร์ประเทศไทย สำหรับนักศึกษาสาขาวิชาสังคมศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์

ผู้แต่ง

  • วนมพร พาหะนิชย์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์
  • ภูมิ สาทสินธุ์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์

คำสำคัญ:

แบบฝึกทักษะ, ภูมิศาสตร์ประเทศไทย, สังคมศึกษา, มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์

บทคัดย่อ

     การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนาแบบฝึกทักษะการเรียนรู้รายวิชาภูมิศาสตร์ประเทศไทย ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนรู้ด้วยแบบฝึกทักษะรายวิชาภูมิศาสตร์ประเทศไทย 3). เพื่อหาดัชนีประสิทธิผลของฝึกทักษะการเรียนรู้รายวิชาภูมิศาสตร์ประเทศไทย  ประชากร ได้แก่นักศึกษาหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต ชั้นปีที่ 2 ที่ลงทะเบียนเรียนรายวิชาภูมิศาสตร์ประเทศไทย 2 หมู่เรียน ประกอบด้วยหมู่เรียนที่ 1 จำนวน 27 คนและหมู่เรียนที่ 2 จำนวน 28 คน ในภาคเรียนที่ 2/2564 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่นักศึกษาหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต ชั้นปีที่ 2 หมู่เรียนที่ 2 จำนวน 28 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้ แบบฝึกทักษะ และแบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่า t-test

ผลการวิจัย พบว่า 1) การพัฒนาแบบฝึกทักษะการเรียนรู้ มีประสิทธิภาพ 80.24/84.15 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน โดยใช้แบบฝึกทักษะการเรียนรู้รายวิชาภูมิศาสตร์ประเทศไทยมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) การวิเคราะห์ดัชนีประสิทธิผลของแบบฝึกทักษะการเรียนรู้รายวิชาภูมิศาสตร์ประเทศไทยนักศึกษามีพัฒนาการเพิ่มขึ้นร้อยละ 67.21

Downloads

Download data is not yet available.

References

กันตภณ พลิ้วไธสงการ. (2559, พฤษภาคม – สิงหาคม). “การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาปริญญาตรี สาขาวิชาวิศวกรรม เมคคาทรอนิกส์ผ่านบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ออนไลน์ในรายวิชาฟัซซีลอจิก.” วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยธนบุรี. 10(2) : 21 - 27.

ครรชิต มาลัยวงศ์. (2540). นวัตกรรมทางเทคโนโลยีในทศวรรษ 2000. กรุงเทพฯ : ซีเอ็ดยูเคชั่น.

ชวนิดา สุวานิช. (2548). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และความคงทนในการเรียนรูวิชาเทคโนโลยีการศึกษา ชุดเทคโนโลยีสื่อสารการศึกษา โดยใชบทเรียนออนไลน 3 รูปแบบสําหรับนักศึกษาปริญญาตรีสาขาการศึกษา ที่มีระดับความสามารถทางการเรียนตางกัน. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ชวลิต ชูกำแพง. (2550). การประเมินการเรียนรู้. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์. (2553). เทคนิคการใช้คำถามพัฒนาการคิด. นนทบุรี : สหมิตรพริ้นติ้งแอนด์พับลิสชิ่ง.

ชูศรี วงศ์รัตนะ. (2546). เทคนิคการใช้สถิติเพื่อการวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 12. กรุงเทพฯ : ไทเนรมิตกิจอินเตอร์ โปรเกรสซิฟ จำกัด.

ถวัลย์ มาศจรัล. (2546). นวัตกรรมการศึกษาชุดแบบฝึกหัด-แบบฝึกเสริมทักษะ. กรุงเทพฯ : ธารอักษร.

ถวัลย์ มาศจรัส. (2550). นวัตกรรมทางการศึกษา. กรุงเทพฯ : ธารอักษร.

ธัชพล ทีดี. (2561, กรกฎาคม – ธันวาคม). “ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังจากใช้วิธีการเรียนรู้แบบเพื่อนช่วยเพื่อน รายวิชาการวิเคราะห์โครงการและการบริหารโครงการ เรื่อง การศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ โดยใช้วิธีการเรียนรู้แบบเพื่อนช่วยเพื่อน.” วารสารวิชาการ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. 9(2) : 11-22.

บุญชม ศรีสะอาด. (2553). การวิจัยสำหรับครู. กรุงเทพฯ : สวีริยาสาส์น.

ประพันธ์ศิรี สุเสารัจ. (2552). คู่มือการใช้แบบฝึกทักษะการคิดวิเคราะห์ เล่ม 2. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ห้างหุ้นส่วนจำกัด 9119 เทคนิคพริ้นติ้ง.

เผชิญ กิจระการ. (2544, กรกฎาคม-ธันวาคม). “การวิเคราะห์ประสิทธิภาพสื่อและเทคโนโลยี (E1/E2).” วารสารการวัดผล การศึกษามหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 7(2) : 44 – 51.

เมษา นวลศรี. (2564, มกราคม –มิถุนายน). “การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาในรายวิชาการวิจัยทางการศึกษา ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสาน.” วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย. 13(1) : 77 - 81.

ยุทธนา กาเด็ม. (2562). แนวทางการปรับปรุงการเรียนการสอนที่สอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียนแบบมีส่วนร่วม. ยะลา : หลักสูตรการพัฒนาชุมชน คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา.

รัชฎาภรณ์ ขนานแข็ง สุทธิพงศ์ หกสุวรรณ และ อัชชา เขตบำรุง. (2558, มกราคม-มิถุนายน). “การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะด้านฐานสมรรถนะวิชาชีพ ในรายวิชา คอมพิวเตอร์เพื่องานอาชีพ เรื่อง การใช้งานโปรแกรม Microsoft Office Excel 2007 สำหรับนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 2 สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ ที่เรียนด้วยบทเรียนบนเครือข่ายแบบ T5 Model กับการเรียนแบบปกติ.” วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม. 5(1) : 80 - 95.

รัชดาภรณ์ ตันติกำธน. (2562, มกราคม-มิถุนายน). “การหาประสิทธิภาพแบบฝึกทักษะการเขียนคำศัพท์ สำหรับงานแม่บ้านโรงแรมในส่วนงาน การทำความสะอาดห้องพักสำหรับนักศึกษาระดับชั้น ปวส. 1 สาขาวิชาการโรงแรม วิทยาลัยอาชีวศึกษาสุพรรณบุรี.” วารสารการอาชีวศึกษาภาคกลาง สถาบันการอาชีวศึกษาภาคกลาง. 3(1) : 43 - 50.

ล้วน สายยศ และ อังคณา สายยศ. (2536). เทคนิคการวัดผลการเรียนรู้. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ : ศูนย์ส่งเสริมวิชาการ.

วีระ ไทยพานิช. (2528). โสตทัศนศึกษาเบื้องต้น. กรุงเทพฯ : ภาควิชาเทคโนโลยีทางการศึกษา.คณะศึกษาศาตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

สมนึก ภัททิยธนี. (2548). การวัดผลการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 3. กาฬสินธุ์ : ประสานการพิมพ์.

ฮิวจ์ เดลานี. (2564). “การศึกษาสำหรับศตวรรษที่ 21 การพัฒนาทักษะคือหัวใจสำคัญของการศึกษา.” [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : https://www.unicef.org/thailand/th/ stories. สืบค้น 12 พฤศจิกายน 2565.

Panich, V. (2014). 21st Century Learning Management Framework the Lecture Notes on the 21st Century Teaching Development Program. Chiangmai : Chiangmai University.

Petty, T. W. (1963). Developing Language Skills in Elementary Schools. (4 th ed). Boston : Allyn and Bacon.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-16

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research Articles)