สภาพการตัดสินใจเลือกสถานประกอบการและด้านข้อมูลสถานประกอบการเพื่อฝึกงานของนักศึกษาประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงสู่การเป็นนักปฏิบัติในศตวรรษที่ 21

ผู้แต่ง

  • ดวงกมล ยังให้ผล วิทยาลัยนวัตกรรมวิชาชีพ สถาบันสหสรรพศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน

คำสำคัญ:

การตัดสินใจ, สถานประกอบการ, ฝึกงาน, นักปฏิบัติ

บทคัดย่อ

     การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการตัดสินใจเลือกสถานประกอบการ และด้านข้อมูลสถานประกอบการเพื่อฝึกงานของนักศึกษาประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงสู่การเป็นนักปฏิบัติในศตวรรษที่ 21 และ 2) ศึกษาสภาพการตัดสินใจส่วนบุคคลมีผลต่อสภาพการตัดสินใจเลือกสถานประกอบการ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่างคือ นักศึกษาระดับหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงวิทยาลัยนวัตกรรมวิชาชีพมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสานจำนวน 400 คน สถิติที่ที่ใช้ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบความแตกต่างด้วย t-test และ การทดสอบความแปรปรวนแบบทางเดียว (One-way ANOVA or F-test) หากพบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ ทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยรายคู่ด้วยวิธี LSD

     ผลการวิจัยพบว่า 1) ศึกษาสภาพการตัดสินใจเลือกสถานประกอบการและด้านข้อมูลสถานประกอบการเพื่อฝึกงานของนักศึกษาประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงสู่การเป็นนักปฏิบัติในศตวรรษที่ 21 ประกอบด้วยปัจจัย 1) ความมีชื่อเสียงของสถานประกอบการ 2) สถานประกอบการ มีผู้เชี่ยวชาญคอยดูแล 3) สถานที่ตั้งของสถานประกอบการอยู่ใกล้ที่พัก 4) สถานประกอบการ มีที่พักอาศัยฟรี 5) สถานประกอบการมีสวัสดิการที่ดีให้นักศึกษา 6) สถานประกอบการ                มีค่าตอบแทนให้นักศึกษา 7) การฝึกงานกับสถานประกอบการภาครัฐ และ 8) การฝึกงานกับสถานประกอบการภาคเอกชน ศึกษาสภาพการตัดสินใจเลือกสถานประกอบการและด้านข้อมูลสถานประกอบการประกอบด้วย 1) เป้าหมาย 2) ความเชื่อ ค่านิยม 3) ความก้าวหน้า และ 4) การรับรู้ และผลการศึกษาสภาพการตัดสินใจส่วนบุคคลมีผลต่อสภาพการตัดสินใจเลือกสถานประกอบการ พบว่า เพศที่แตกต่างกันมีแนวคิดเกี่ยวกับการฝึกงานกับสถานประกอบการภาคเอกชนที่แตกต่างกัน และเกรดที่แตกต่างกันมีแนวคิดเกี่ยวกับสถานประกอบการและด้านข้อมูลสถานประกอบการ มีผู้เชี่ยวชาญที่แตกต่างกัน

Downloads

Download data is not yet available.

References

กาญจนา แก้วเทพ. (2541). การวิเคราะห์สื่อ : แนวคิดและเทคนิค. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร : อินฟินิตี้เพรส.

เกวรินทร์ ฉันทนะสุขศิลป์, พิมลมาศ เนตรมัย และ กิจปฏิภาณ วัฒนประจักษ์. (2558). “การศึกษาปัญหาในการฝึกปฏิบัติงานและปัจจัยซึ่งส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพการฝึกปฏิบัติงานของนักศึกษา สาขาวิชาภาษาจีนธุรกิจ สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์.” วารสารปัญญาภิวัฒน์. 7(1) : 127 - 135.

จักเรศ เมตตะธำรงค์, สมชาติ ดีอุดม และ วรรณิดา สารีคำ. (2564). “ปัจจัยเชิงสาเหตุในการบริหารจัดการกลุ่มวิสาหกิจชุมชนการเกษตรในจังหวัดสกลนครที่ส่งผลต่อการน้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาปรับใช้ในการบริหารจัดการภายในกลุ่มสมาชิก.” วารสารปาริชาต. 34(1) : 25 - 41.

บุญเลิศ จันทร์ไสย์ และ พรรณี เจริญธนวิธ. (2553). “การประเมินประสิทธิภาพการฝึกงานของนักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี.” วารสารวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานรินทร์. 21(1) : 110 - 137.

ปณัสยา พิมพ์กลาง. (2562). “ปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อการเลือกสถานที่ฝึกประสบการณ์วิชาชีพ.” ใน การประชุมวิชาการนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติของนักศึกษาด้านมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ ครั้งที่ 2 วันที่ 19 มกราคม 2562. กรุงเทพฯ : คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

ปริดา จิ๋วปัญญา, ศุทธินี อาชนรากิจ และ อัมพิกา บุญกิจ. (2563). “การประยุกต์ใช้กระบวนการลำดับชั้นเชิงวิเคราะห์เพื่อเลือกสถานประกอบการปฏิบัติสหกิจ ศึกษาของนักศึกษา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนาตาก.” วารสารวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. 15(1) : 62 - 72.

แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13. (2564). พลิกโฉมประเทศไทยสู่สังคมก้าวหน้า เศรษฐกิจสร้างมูลค่าอย่างยั่งยืน. กรุงเทพฯ : สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

ภาวิณี บัญจันดา, ธนาภัสสร์ สนธิรักษ์, ฐิติรัตน์ รักษาศรี, รังสรรค์ หล้าคำจา และ วิมลพร ระเวงวัลย์. (2564). “การศึกษาปัจจัยในการตัดสินใจเลือกสถานประกอบการในการฝึกประสบการณ์วิชาชีพของนักศึกษาสาขาวิชาภาษาอังกฤษคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.” วารสาร มจร มนุษยศาสตร์ปริทรรศน์. 7(2) : 95 - 110.

ยุวัลดา ใฝ่ฝัน. (2552). การจัดสหกิจศึกษากับการพัฒนาศักยภาพบัณฑิตมหาวิทยาลัยหาดใหญ่. วิทยานิพนธ์ (พัฒนามนุษย์และสังคม). สงขลานครินทร์ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

วีรนุช แซ่ฉิน และ สุภาพร ธนะชานันท์. (2557). “ปัจจัยทางจิตสังคมที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการเรียนรู้จากประสบการณ์การฝึกงานในสถานประกอบการของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ชั้นปีที่ 3 วิทยาลัยเทคโนโลยีหมู่บ้านครู.” วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยธนบุรี. 8(17) : 72 - 79.

ศิริพร เจริญศรีวิริยะกุล. (2559). “การศึกษาปัจจัยในการตัดสินใจเลือกสถานประกอบการ.” ใน การฝึกประสบการณ์วิชาชีพของนักศึกษาคณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

ศิริวรรณ เสรีรัตน์และคณะ. (2550). การบริหารการตลาดแนวใหม่. กรุงเทพฯ : ธีระฟิล์มและไซแท๊กซ์.

สมชาติ ดีอุดม และ จักเรศ เมตตะธำรงค์. (2563). “การวิเคราะห์เส้นทางของปัจจัยในการจัดการเรียนการสอนรายวิชาที่เกี่ยวกับกฎหมายคอมพิวเตอร์ของนักศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาจังหวัดนคราชสีมาด้วยวิธีสมการโครงสร้างแบบกำลังสองน้อยที่สุดบางส่วน.” Suranaree Journal of Social Science (SJSS). 14(1) : 79 - 89.

สำนักงานคณะกรรมการการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2559). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่สิบสอง พ.ศ. 2560 - 2564. กรุงเทพฯ : สำนักนายกรัฐมนตรี.

สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). แนวปฏิบัติการดำเนินการฝึกงาน. กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ.

เสฎฐวุฒิ หนุ่มคำ และ สัชฌุเศรษฐ์ เรืองเดชสุวรรณ. (2557). “ปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกงานของบัณฑิตระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น.” วารสารวิชาการมหาวิทยาลัย ฟาร์อีสเทอร์น. 7(2) : 160 - 167.

อำพล เทศดี. (2557). “ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการดำเนินงานสหกิจศึกษาของสถานประกอบการเขตนิคมอุตสาหกรรมนวนคร จังหวัดปทุมธานี.” วารสารวิจัยและพัฒนาวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์. 9(3) : 201 - 208.

Hair, J.F., Black, W.C., Babin, B.J. and Anderson, R.E. (2010). Multivariate Data Analysis. 7th ed. New York : Pearson.

Yamane, T. (1973). Statistics an Introductory analysis. 3rd ed. New York : Harper and Row.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-28

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research Articles)