แรงจูงใจในการพัฒนาความก้าวหน้าในสายอาชีพที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์กรของบุคลากรสายสนับสนุน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

ผู้แต่ง

  • ธีรวดี ยิ่งมี กองบริหารงานบุคคล มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

คำสำคัญ:

แรงจูงใจในการพัฒนาความก้าวหน้า, สายอาชีพ, ความผูกพันต่อองค์กร, บุคลากรสายสนับสนุน

บทคัดย่อ

    การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) แรงจูงใจในการพัฒนาความก้าวหน้าในสายอาชีพของบุคลากรสายสนับสนุนมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี และ 2) แรงจูงใจในการพัฒนาความก้าวหน้าในสายอาชีพของบุคลากรสายสนับสนุนที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ คือ บุคลากรสายสนับสนุน จำนวน 340 ตัวอย่าง ใช้สถิติเชิงพรรณนาในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมานที่ใช้ทดสอบสมมติฐาน คือ การวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุคูณ (Multiple Regression Analysis)

    ผลการวิจัย พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงมีอายุ 31-35 ปี มีการศึกษาระดับปริญญาตรี มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 25,001–35,000 บาท และมีประสบการณ์ในการทำงานมากกว่า 9 ปี โดยมีแรงจูงใจในการพัฒนาความก้าวหน้าในสายอาชีพ ด้านการประเมินตนเอง ด้านการเสาะแสวงหาข้อมูลที่เกี่ยวกับความก้าวหน้าในอาชีพ ด้านการกำหนดเป้าหมาย และด้านการวางแผนความก้าวหน้าของอาชีพและการดำเนินการตามแผน ภาพรวมอยู่ในระดับมาก และผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า แรงจูงใจในการพัฒนาความก้าวหน้าในสายอาชีพอาชีพ สามารถพยากรณ์ความผูกพันต่อองค์กรของบุคลากรสายสนับสนุน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ได้ร้อยละ 24.30 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Downloads

Download data is not yet available.

References

ธนัญพร สุวรรณคาม. (2559). ปัจจัยด้านแรงจูงใจในการทำงาน ความพึงพอใจในการทำงานที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์การของพนักงานธนาคารพาณิชย์แห่งหนึ่ง. ศิลปศาสตร์ มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2552). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพฯ : บิสซิเนสอาร์แอนด์ดี.

ประสิทธชัย เดชขา. (2557). “เส้นทางความก้าวหน้าในสายอาชีพของอาจารย์ในสถาบันอุดมศึกษาเอกชน.” วารสารสุทธิปริทัศน์. 28(85) : 186 - 203.

ปิยาพร ห้องแซง. (2555). การบริหารทรัพยากรมนุษย์ที่มีผลต่อความผูกพันในองค์กรของพนักงานสาขาธนาคารออมสินในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

วรางคนา ชูเชิดรัตนา. (2557). แรงจูงใจในการพัฒนาความก้าวหน้าในสายอาชีพ การรับรู้ ความยุติธรรม และความสามารถในการฟันฝ่าอุปสรรคที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์กรของพนักงานบริษัทเอกชนในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วิลาวรรณ รพีพิศาล. (2554). ความรู้พื้นฐานในการบริหารทรัพยากรมนุษย์ ในการบริหารทรัพยากรมนุษย์. กรุงเทพฯ : วิจิตรหัตถกร.

ศิริชัย กาญจนวาสี. (2550). สถิติประยุกต์ สำหรับการวิจัย. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ศิริชัย พงษ์วิชัย. (2550). การวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วยคอมพิวเตอร์. พิมพ์ครั้งที่ 18. กรุงเทพฯ : สุพีเรีย พริ้นติ้งเฮ้าส์.

ศิริทิพย์ ทิพย์ธรรมคุณ. (2554). “ปัจจัยที่ส่งผลต่อการพัฒนาตนเองของพนักงานโรงแรมห้าดาวจังหวัดประจวบคีรีขันธ์.” [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : http://proceedings.bu.ac.th/ index.php/comphocadownload-controlpanel/apc?download=150.

สัมมนา สีหมุ่ย. (2553). การศึกษาประสิทธิภาพการทำงานเป็นทีมของบุคลากร องค์การบริหารส่วนตำบลในเขตอาเภอโนนไทย จังหวัดนครราชศรีมา. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิตมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี

อุไรวรรณ จันทร์สกุลถาวร. (2540). การพัฒนาความก้าวหน้าในสายอาชีพในอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

Allison, K.R., Dwyer, J.M., & Makin, S. (1999). “Self-Efficacy and Participation in Vigorous Physical Activity by High School Students.” Health Educ Behav. 26 : 12 - 23.

Casey Wilson. (2010). “The High Cost of Low Engagement. Management Concepts.” [Online]. Available : http:www.managementconcepts.com.

Jewell, L.N. (1998). Contemporary Industrial/Organizational Psychology. 3rd ed. Pacific Grove, CA : Book/Cole.

Leigh Rivenbark. (2010). Tools of Engagement. Employee Relations. Special Report : HR Magazine February 2010.

London, M & Stumph, S. A. (1982). Managing Career. Massachusetts. Addison Wesley.

Maslow, A. (1970). Motivation and Personnality. New York : Harper and Row.

Yamane, T. (1967). Statistics : An Introductory Analysis. 2nd ed. New York : Harper and Row.

Zikmund, W. G., Babin, B. J., Carr, J. C. & Griffin, M. (2010). Business Research Methods. Moson, Ohio : South Western Cengage Learning.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-28

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research Articles)