ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการติดตามชมการแข่งขันสโมสรฟุตบอลไทยของประชาชนในกรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • นพวิทย์ พันธประวัติ วิทยาลัยนวัตกรรมและการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
  • อนุชิต กุลวานิช วิทยาลัยนวัตกรรมและการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
  • มารดี ศิริพัฒน์ วิทยาลัยนวัตกรรมและการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
  • อาทิตย์ษณีย์ เจริญรัตน์ วิทยาลัยนวัตกรรมและการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
  • สุภกร ตันวราวุฒิชัย วิทยาลัยนวัตกรรมและการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

คำสำคัญ:

ปัจจัย, พฤติกรรม,, การติดตาม, การแข่งขัน, สโมสรฟุตบอลไทย

บทคัดย่อ

                การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการติดตามชมการแข่งขันสโมสรฟุตบอลไทยของประชาชนในกรุงเทพมหานคร โดยมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยทางประชากรศาสตร์ที่มีผลต่อพฤติกรรมการติดตามชมการแข่งขันสโมสรฟุตบอลไทยของประชาชนในกรุงเทพมหานคร 2) เปรียบเทียบความแตกต่างของปัจจัยทางประชากรศาสตร์ที่มีผลต่อพฤติกรรมการติดตามชมการแข่งขัสโมสรฟุตบอลไทยของประชาชนในกรุงเทพมหานคร   การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) กลุ่มตัวอย่างคือประชาชนที่ชื่นชอบและเล่นกีฬาฟุตบอล ที่พักอาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานคร จำนวน 400 คน สุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive sampling) โดยใช้แบบสอบถามออนไลน์เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล นำผลที่ได้มาวิเคราะห์สถิติ โดยหาค่าความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) หาค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และเปรียบเทียบความแตกต่างของปัจจัยทางประชากรศาสตร์ที่มีผลต่อพฤติกรรมการติดตามชมการแข่งขันสโมสรฟุตบอลไทยของประชาชนในกรุงเทพมหานคร โดยการวิเคราะห์ด้วย Independent Samples T-test และ One-way ANOVA ในกรณีที่พบความแตกต่าง จะวิเคราะห์ความแตกต่างเป็นรายคู่ด้วยวิธี LSD ผลการวิจัยพบว่า 1) ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีอายุในช่วง 31 – 40 ปี ระดับการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี สถานภาพโสด อาชีพนักเรียนนักศึกษา พักอาศัยอยู่บ้าน และรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 10,001 – 20,000 บาท 2) พฤติกรรมการติดตามชมการแข่งขันสโมสรฟุตบอลไทยของประชาชนในกรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีความคิดเห็นในภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด 3) การเปรียบเทียบความแตกต่างของปัจจัยทางประชากรศาสตร์ที่มีผลต่อพฤติกรรมการติดตามชมการแข่งขันสโมสรฟุตบอลไทยของประชาชนในกรุงเทพมหานคร พบว่า ปัจจัยทางประชากรศาสตร์ ได้แก่ อายุ อาชีพ ที่พักอาศัย และรายได้ต่อเดือน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05

Downloads

Download data is not yet available.

References

กมลสิงห์ นิลศรี เครือวัลย์ ชัชกุล และ ณัฐวุฒิ บุญศรี. (2562). “ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเข้าชมการแข่งขันฟุตบอลอาชีพในประเทศไทย กรณีศึกษา สโมสรฟุตบอลบุรีรัมย์ ยูไนเต็ด.” ใน การประชุมวิชาการด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ระดับชาติ ครั้งที่ 2. วันที่ 5 – 6 สิงหาคม 2562. (หน้า 1253 - 1266). สงขลา : มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา.

ชัยวัฒน์ ชลานันต์. (2558). อิทธิพลภาพลักษณ์สโมสรฟุตบอลและความนิยมในภาพลักษณ์นักกีฬาฟุตบอลที่มีชื่อเสียง ส่งผลต่อพฤติกรรมการติดตามรับชมการแข่งขันฟุตบอลไทย. วิทยานิพนธ์ระดับ(มหาบัณฑิต) มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

ณัฐวัฒน์ วิวัฒนาวรารมย์. (2559). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเข้าชมฟุตบอลในสนามฟุตบอลของแฟนบอลไทย. วิทยานิพนธ์ระดับ(มหาบัณฑิต) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ธงชัย สันติวงษ์. (2540). องค์การและการจัดการทันสมัยยุคโลกาภิวัตน์. กรุงเทพฯ : ไทยวัฒนาพานิช

นฤนาถ ไกรนรา และเนติพล เพชรสีนวล. (2562). “พฤติกรรมการชมและปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเข้าชมการแข่งขันฟุตบอลพรีเมียร์ลีกไทยแลนด์ (T1) ของแฟนบอลสโมสรแบงค็อก ยูไนเต็ด.” ใน งานประชุมวิชาการระดับชาติ มหาวิทยาลัยรังสิต ประจำปี 2562. วันที่ 26 เมษายน 2562. (หน้า 1546 - 1554). กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยรังสิต.

เนตรนภา ประกอบกิจ. (2545). พัฒนาการของวัฒนธรรมฟุตบอลต่างประเทศในสังคมไทย พ.ศ. 2509 - 2544. วิทยานิพนธ์ระดับ (มหาบัณฑิต) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

พงษ์พิทยา สมุทรกลิน และอาชวิทธิ์ เจิงกลิ่นจันทน์. (2563). พฤติกรรมการเข้าชมการแข่งขันฟุตบอลไทยลีก กรณีศึกษาสโมสรทรู แบงค็อก ยูไนเต็ด. วิทยานิพนธ์ระดับ (มหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา.

พรพิณ ประกายสันติสุข. (2550). ลักษณะส่วนบุคคล ค่านิยม ทรัพยากรการท่องเที่ยว และพฤติกรรมการท่องเที่ยวในประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีนของนักท่องเที่ยวชาวไทยในกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ระดับ (มหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

พันธ์ลพ รัตนพงศ์พันธ์ และชัยพัฒน์ หล่อศิริรัตน์. (2559). “ความสัมพันธ์ระหว่างความถี่ในการเล่นกีฬา/การออกกำลังกายและความถี่ในการชมฟุตบอลไทยพรีเมียร์ลีกในสนาม.” วารสารวิทยาศาสตร์การกีฬาและสุขภาพ. 17(1) : 73 - 86.

วชิรวัรช งามละม่อม. (2558). “แนวคิด และทฤษฎีที่เกี่ยวกับลักษณะทางประชากรศาสตร์.” [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : https://learningofpublic.blogspot.com/ สืบค้น 20 มกราคม 2565.

ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และคณะ. (2538). พฤติกรรมผู้บริโภค. กรุงเทพฯ : พัฒนาศึกษา

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2563). “จำนวนประชากรจากการทะเบียน จำแนกตามอายุ เพศ และจังหวัด พ.ศ. 2563.” [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : http://statbbi.nso.go.th/ staticreport/Page/sector/TH/report/sector_01_11101_TH_.xlsx สืบค้น 10 มกราคม 2565.

สุรภพ จิตรงาม. (2560). การศึกษาแรงจูงใจและพฤติกรรมการรับชมการถ่ายทอดสดฟุตบอลไทยลีกของผู้ชม. วิทยานิพนธ์ระดับ (มหาบัณฑิต) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

Goldhaber, Wilo and Yates. (2002). Organization Communication Research: Time for Reflection. USA : Communication Yearbook.

Yamane. (1967). Statistic : An Introductory Analysis. New York : Harper & row.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-26

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research Articles)