รูปแบบปัจจัยการบริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
คำสำคัญ:
ปัจจัยการบริหาร, ประสิทธิผลศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาความสัมพันธ์และสร้างรูปแบบปัจจัยการบริหารศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่ส่งผลต่อประสิทธิผล สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยมีวิธีการวิจัย ดังนี้ การสังเคราะห์แนวคิด ทฤษฎี ปัจจัยการบริหารและประสิทธิผลการบริหารศูนย์เด็กเล็ก ตรวจสอบความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงเส้นระหว่างปัจจัยการบริหารกับประสิทธิผลการบริหารศูนย์เด็กเล็ก ประชากร จำนวน 2,905 แห่ง กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 341 แห่ง สร้างแบบสอบถามมาตราประมาณค่า 5 ระดับ เพื่อให้ผู้บริหารและหัวหน้าศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก เป็นผู้ตอบแบบสอบถาม ได้รับตอบกลับคืนมาจำนวน 489 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 71.70 ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมลิสเรล เพื่อทดสอบสมมติฐานกับข้อมูลเชิงประจักษ์ และ สร้างรูปแบบจำลองให้ผู้เชี่ยวชาญจำนวน 9 ท่าน เพื่อประเมินความเหมาะสม
ผลการวิจัย พบว่า
1. ปัจจัยการบริหารศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ประกอบด้วย ด้านการบริหารงานบุคคล ด้านการบริหารพัสดุ ด้านการบริหารงบประมาณและการเงิน และ ด้านการบริหารจัดการ มีความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงเส้นกับประสิทธิผลของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์อยู่ในระดับยอมรับได้ ด้วย 3 เกณฑ์ ดังต่อไปนี้ 1) ค่าสถิติไค-สแควร์ (x2 ) ที่ระดับ .05 2). สัดส่วนค่าไค-สแควร์ หารด้วยค่าชั้นความเป็นอิสระ มีค่าเท่ากับ 1.97 และ 3) ค่าประมาณความคาดเคลื่อนของรากกำลังสองเฉลี่ย มีค่าน้อยกว่า 0.05
2. ปัจจัยการบริหารศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก มีอิทธิพลทางตรงต่อประสิทธิผลด้านคุณภาพการบริหาร (0.88) และด้านการจัดประสบการณ์ (0.16) และมีอิทธิพลทางอ้อมต่อด้านคุณลักษณะที่พึงประสงค์ (0.76) ประสิทธิผลด้านคุณภาพการบริหาร มีอิทธิพลทางตรงต่อด้านการจัดประสบการณ์ (0.78) และมีอิทธิพลทางตรง (0.27) และอิทธิพลทางอ้อม (0.48) ต่อด้านคุณลักษณะที่พึงประสงค์ โดยมีอิทธิพลโดยรวมเท่ากับ 0.76 และประสิทธิผลด้านการจัดประสบการณ์ มีอิทธิพลทางตรง (0.62) ต่อด้านคุณลักษณะที่พึงประสงค์
3. รูปแบบปัจจัยการบริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารศูนย์เด็กเล็ก ผ่านการประเมินความเหมาะสมจากผู้เชี่ยวชาญ
Downloads
References
กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น (2547) มาตรฐานการดำเนินงานศูนย์พัฒนาเด็กเล็กขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. ส่วนการศึกษานอกระบบและพัฒนากิจกรรมเยาวชน.
ธวัชชัย งามสันติวงศ์. (2545). SPSS for Windows : หลักการและวิธีใช้คอมพิวเตอร์ในงานสถิติเพื่อการวิจัย ฉบับพื้นฐาน. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ 21 เซ็นจูรี่.
นพดล คล้ายใจตรง. (2563, พฤษภาคม – สิงหาคม). การศึกษาประสิทธิผลการจัดการศึกษาเด็กปฐมวัยของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กองค์การบริหารส่วนตำบลศรีเทพ อำเภอศรีเทพ จังหวัดเพชรบูรณ์. พัฒนาทักษะทางวิชาการอย่างยั่งยืน.
บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.
_______. (2540). การวิจัยทางการวัดผลและประเมินผล. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาสน.
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542. ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 116 ตอนที่ 74 ก ลงวันที่ 19 สิงหาคม 2542.
พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542. ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 116 ตอนที่ 74 ก ลงวันที่ 17 พฤศจิกายน 2542.
ศิรินนภา นามมณี, อนุศักดิ์ เกตุสิริ, จิณณวัตร ปะโคทัง. (2557, กรกฎาคม-ธันวาคม.). รูปแบบการบริหารศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่มีประสิทธิผล สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. วิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.
สมนึก ภัททิยธนี. (2544). การวัดผลการศึกษา. กาฬสินธุ์ : ประสานการพิมพ์.
สำนักงานคณะกรรมการการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. (2545). คู่มือการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. กรุงเทพฯ : คุรุสภาลาดพร้าว.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (2548) แนวดำเนินงานศูนย์เด็กปฐมวัยต้นแบบ. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ (ร.ส.พ.).
สำนักเลขาธิการสภาการศึกษาแห่งชาติ. (2553). ยุทธศาสตร์การพัฒนาคุณภาพการศึกษา (พ.ศ. 2551-2555). กรุงเทพฯ : พริกหวานกราฟฟิค.
สุภมาส อังศุโชติ, สมถวิล วิจิตรวรรณา และ รัชนีกูล ภิญโญภานุวัฒน์. (มปป.) เอกสารประกอบ การอบรมหลักสูตร การใช้โปรแกรมลิสเรล. สำนักทะเบียนและวัดผล มหาวิทยาลัย สุโขทัยธรรมาธิราช.
Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). “Determining Sample Size for Research Activities.” Educational and Psychological Measurement, 30(3) : 607 – 610.