คุณภาพชีวิตการทำงานและความผูกพันที่มีความสัมพันธ์กับผลการปฏิบัติงานของพนักงานในกลุ่มอุตสาหกรรมพลังงาน

ผู้แต่ง

  • ปิยะฉัตร เกตุแก้ว คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต

คำสำคัญ:

คุณภาพชีวิตการทำงาน, ความผูกพันต่อองค์การ, ผลการปฏิบัติงาน, อุตสาหกรรมพลังงาน

บทคัดย่อ

         การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคลที่มีผลต่อผลการปฏิบัติงาน 2) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพชีวิตการทำงานกับผลการปฏิบัติงาน และ 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความผูกพันธ์ต่อองค์การกับผลการปฏิบัติงาน ประชากรในการวิจัย คือ พนักงานในกลุ่มอุตสาหกรรมพลังงานของบริษัท พีทีจี เอ็นเนอยี จำกัด (มหาชน) จำนวน 1,318 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 310 คน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ

         ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความคิดเห็นเกี่ยวกับคุณภาพชีวิตการทำงานในภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด ความผูกพันต่อองค์การในภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด ผลการปฏิบัติงานในภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด และผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า เพศ และอายุการปฏิบัติงาน ที่แตกต่างกัน ส่งผลต่อผลการปฏิบัติงานของพนักงานในกลุ่มอุตสาหกรรมพลังงานแตกต่างกัน และคุณภาพชีวิตการทำงาน ประกอบด้วย ด้านค่าตอบแทนและสวัสดิการที่ได้รับ ด้านสภาพการทำงานที่มีความปลอดภัยและส่งเสริมสุขภาพ ด้านความก้าวหน้า ด้านการพัฒนาสมรรถภาพของบุคคล ด้านการบูรณาการทางสังคม ด้านสิทธิส่วนบุคคล ด้านความสมดุลในชีวิตการทำงานและชีวิตด้านอื่น ๆ และด้านการเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับสังคม พบว่า ด้านความก้าวหน้า ด้านสิทธิส่วนบุคคล และด้านการเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับสังคม และความผูกพันต่อองค์การ ประกอบด้วย ความผูกพันด้านจิตใจ ความผูกพัน ด้านการคงอยู่ และความผูกพันด้านบรรทัดฐาน ทั้ง 3 ด้าน เป็นปัจจัยที่มีผลต่อผลการปฏิบัติงานของพนักงานในกลุ่มอุตสาหกรรมพลังงานมีผลต่อผลการปฏิบัติงานของพนักงานในกลุ่มอุตสาหกรรมพลังงานภาพรวม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-03-10

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research Articles)