ข้อเสนอเชิงกลยุทธ์เพื่อพัฒนาภาวะผู้นำดิจิทัลสำหรับผู้บริหารโรงเรียน ขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 3
คำสำคัญ:
การวิจัยเชิงนโยบาย, ผู้บริหารสถานศึกษา, ภาวะผู้นำดิจิทัล, โรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างและตรวจสอบข้อเสนอเชิงกลยุทธ์เพื่อพัฒนาภาวะผู้นำดิจิทัลสำหรับผู้บริหารโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 3 เป็นการวิจัยเชิงนโยบาย (Policy Research) โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมผสานวิธี ดำเนินการวิจัยแบ่งออกเป็น 2 ระยะ โดยระยะที่ 1 เป็นการศึกษา เพื่อสร้างข้อเสนอเชิงกลยุทธ์เพื่อพัฒนาภาวะผู้นำดิจิทัลสำหรับผู้บริหารโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา โดยการศึกษาเอกสาร สัมภาษณ์เชิงลึกผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 ท่าน ทำให้ได้ ร่างข้อเสนอเชิงกลยุทธ์เพื่อพัฒนาภาวะผู้นำดิจิทัลสำหรับผู้บริหารโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา และระยะที่ 2 ตรวจสอบข้อเสนอเชิงกลยุทธ์ โดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 ท่าน เพื่อประเมินความเหมาะสม (Propriety) ความเป็นไปได้ (Feasibility) และความเป็นประโยชน์ (Utility) โดยสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าเฉลี่ย (Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation)
ผลการวิจัยพบว่า ข้อเสนอเชิงกลยุทธ์เพื่อพัฒนาภาวะผู้นำดิจิทัลสำหรับผู้บริหารโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 3 ในด้าน วิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าหมาย วัตถุประสงค์ กลยุทธ์ และแนวปฏิบัติ ของกรอบการพัฒนาภาวะผู้นำดิจิทัลสำหรับผู้บริหารโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษามีความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์ อยู่ในระดับมากที่สุด
Downloads
References
กนกอร สมปราชญ์. (2562). ภาวะผู้นำกับคุณภาพการศึกษา. ขอนแก่น : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2564). แผนปฏิบัติการดิจิทัลเพื่อการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2563 – 2565. กรุงเทพฯ : สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ.
จันทนา แสนสุข. (2559). ภาวะผู้นำ Leadership. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ : บริษัททริปเพิ้ลกรุ๊ป จำกัด.
ชูชาติ พุทธลา. (2561). องค์ประกอบของภาวะผู้นำทางดิจิทัลสำหรับผู้บริหารโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจังหวัดหนองบัวลำภู. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา มหาวิยาลัยขอนแก่น.
ชวลิตร เกิดทรัพย์ และคณะ. (2552). “รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำทาเทคโนโลยีการศึกษาสำหรับผู้บริหารโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในภาคใต้.” วารสารสงขลานครินทร์ (ฉบับสังคมศาสตร์และมนุษย์ศาสตร์). 15(1) : 141 - 160.
ดาวรุวรรณ ถวิลการ. (2562). ศาสตร์และศิลป์ทางการบริหารการศึกษา. ขอนแก่น : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ปกรณ์ สีสกุล. (2561). “Leadership in Digital Era: ภาวะผู้นำในโลกดิจิทัล.” [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : https://ajpakornleesakul.medium.com/leadership-in-digital-era สืบค้น 24 มีนาคม 2566.
มณีรัตน์ สุดเต้ และคณะ. (2563). “ภาวะผู้นำทางวิชาการในยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุตรดิตถ์ เขต 2.” วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์. 7(8) : 344 - 362.
วิโรจน์ สารรัตนะ. (2557). ภาวะผู้นำทฤษฎีและนานาทัศนะร่วมสมัยปัจจุบัน. กรุงเทพฯ : ทิพย์วิสุทธิ์.
สุกัญญา แซ่มช้อย. (2561). การบริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
เอกชัย กี่สุขพันธ์. (2559). “การบริหารสถานศึกษายุคดิจิทัล = School Management in Digital Era.” [ออนไลน์]. เข้าถึงจาก : https://www.trueplookpanya.com/dhamma/ content/52232 สืบค้น 24 มีนาคม 2566.
Duckert, S. (2016). Leitbild der digitalen Fuhrungskraft. In Petry, T. (Ed). Digital Leadership Erfolgreiches Fuhren in Zeiten der Digital Economy, Freiburg Et al., 115 - 125.
Elliott, T. (2021). “Digital Leadership: A Six-Step Framework for Transformation.” [Online]. Available : https://grjenkin.com/articles/category/big-data/ 1179608/08/25/2018/digital-leadership-a-six-step-framework-for-transformation. Retrieved June, 1, 2023.
Gerald C. Kane. (2018). “Common Traits of the Best Digital Leaders.”. [Online]. Available : http://sloanreview.mit.edu/article/common-traits-of-the-best-digital-leaders. Retrieved February 17, 2023.
International Society for Technology in Education. (2018). “Iste Standards for Education Leaders”. [Online]. Available : https://www.iste.org/ standards/for-educationleaders. Retrieved February 16, 2023.
Ribble, M. et al. (2004). “Digital citizenship: Addressing appropriate technology behavior ” Learning & Leading with Technology. 32(1) : 6 - 12.
Sheninger, E. C. (2014). Digital Leadership: changing paradigms for changing times. United State of America : Corwin.
Sullivan, L. (2017). “8 Skills Every Digital Leader Needs.” [Online]. Available : https://www.cmswire.com/digital-workplace/8-skills-every-digital-leader- needs. Retrieves June 22, 2023.
Tran, L. (2017). “Digital Transformation: The 5 Must-Have Skills for Digital Leaders.” [Online]. Available : https://www.inloox.com/company/Blog/articles/ digital-transformation-the-5-must-have-skills-for-digital-leaders Retrieved February 16, 2023.
Zhu, P. (2016). “Five Key Elements in Digital Leadership.” [Online]. Available : http://futureofcio.blogspot.com/2015/01/five-key-elements-in-digitalleadership.html Retrieved February 16, 2023.