วัชรี ดวงมณี การพัฒนาสื่อดิจิทัลสำหรับห้องเรียนกลับด้านรายวิชาแอมิชั่น 1 เรื่องการสร้างภาพเคลื่อนไหว สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
คำสำคัญ:
สื่อดิจิทัล, สื่อดิจิทัลสำหรับห้องเรียนกลับด้านบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาและทดสอบประสิทธิภาพของสื่อดิจิทัลสำหรับห้องเรียนกลับด้าน รายวิชาแอนิเมชั่น 1 เรื่อง การสร้างภาพเคลื่อนไหว สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ E1/E2 เท่ากับ 80/80 2) ศึกษาดัชนีประสิทธิผลของนักเรียนที่เรียนด้วยสื่อดิจิทัลสำหรับห้องเรียนกลับด้านรายวิชาแอนิเมชั่น1 เรื่อง การสร้างภาพเคลื่อนไหว สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 3) ศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนต่อสื่อดิจิทัลสำหรับห้องเรียนกลับด้านรายวิชาแอนิเมชั่น 1 เรื่อง การสร้างภาพเคลื่อนไหว สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 วิธีการดำเนินการวิจัยครั้งนี้ ใช้กลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนพนัสพิทยาคาร ที่เรียนรายวิชาแอนิเมชั่น 1 จำนวนนักเรียน 43 คน โดยการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม (Cluster sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ 1) สื่อดิจิทัลสำหรับห้องเรียนกลับด้าน 2) แบบทดสอบ
ก่อนเรียน – หลังเรียน 3) แบบศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนที่เรียนด้วยสื่อดิจิทัลสำหรับห้องเรียนกลับด้าน
สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบประสิทธิภาพ (E1/E2) ค่าดัชนีประสิทธิผล (E.I.)
ผลการวิจัยพบว่า
- ผลการทดสอบประสิทธิภาพของสื่อดิจิทัลสำหรับห้องเรียนกลับด้านรายวิชาแอนิเมชั่น 1 เรื่อง การสร้างภาพเคลื่อนไหว สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีประสิทธิภาพ E1/E2 เท่ากับ 84.96/83.26 เป็นไปตามเกณฑ์ E1/E2 เท่ากับ 80/80 ที่กำหนดไว้
- ผลการทดสอบดัชนีประสิทธิผลของสื่อดิจิทัลสำหรับห้องเรียนกลับด้านรายวิชาแอนิเมชั่น 1 เรื่อง การสร้างภาพเคลื่อนไหว สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีค่าดัชนีประสิทธิผลเท่ากับ 0.7490 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ประสิทธิผลที่ยอมรับได้ (.50 ขึ้นไป)
- ผลการศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อสื่อดิจิทัลสำหรับห้องเรียนกลับด้านรายวิชาแอนิเมชั่น 1 เรื่องการสร้างภาพเคลื่อนไหว สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.29