การออกแบบและพัฒนาเครื่องปั้นเดินเผาโดยใ ช้อัตลักษณ์บ้านเชียงเพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาด : กรณีศึกษา ร้านแม็ก – แบงค์แฮนเมด จังหวัดอุดรธานี

ผู้แต่ง

  • ประสิทธิ์ พวงบุตร 098-2357017

คำสำคัญ:

พฤติกรรมผู้บริโภค, ความสอดคล้องทางการตลาด, ผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผาบ้านเชียง

บทคัดย่อ

      บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของการวิจัย การออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ในเขตอีสานตอนบนเพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของการตลาด  โดยศึกษาผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชน ผู้ประกอบการรายเดี่ยว กรณีศึกษา รานแม็ก-แบงค์แฮนเมดจังหวัดอุบลราชธานี โดยมีความมุ่งหมายที่จะศึกษาลวดลาย อัตลักษณ์จากเครื่องปั้นดินเผาบ้านเชียง เพื่อนำมาวิเคราะห์และออกแบบลวดลาย สีสัน รูปร่าง รูปทรงผลิตภัณฑ์ใหม่โดยออกแบบเป็นชุดน้ำชา กาแฟ และโคมไฟเพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาด โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาและวิเคราะห์ลวดลายอัตลักษณ์ของเครื่องปั้นดินเผาบ้านเชียง 2) เพื่อออกแบบและพัฒนาเครื่องปั้นดินเผาและสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับอัตลักษณ์โดยกลุ่มประชากรและกลุ่มตัวอย่างในงานวิจัยนี้เป็นผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม(SMES)ร้านแม็ก-แบงค์แฮนเมด จังหวัดอุดรธานี        

       หลังการพัฒนาได้จัดให้มีการนำเอาผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผาที่ได้รับการออกแบบพัฒนาใหม่ไปทดสอบทางด้านการตลาด (Market test)เพื่อประเมินผลิตภัณฑ์และสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์โดยเน้นการใช้ลวดลาย สีสัน รูปร่าง รูปทรง ที่เป็นอัตลักษณ์พื้นถิ่นของเครื่องปั้นดิน เผาบ้านเชียงในการออกแบบผลิตภัณฑ์ที่พัฒนาขึ้นใหม่ ให้มีความสอดคล้องกับความต้องการ ของตลาดซึ่งประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญและกลุ่มผู้ใช้ผลิตภัณฑ์ผลการประเมินพบว่าด้านสถานภาพของผู้ผลิตตามปริมาณความต้องการของลูกค้าในแต่ละช่วงด้านจุดเด่นของผลิตภัณฑ์มีขนาดและสัดส่วนเหมาะสมมีเอกลักษณ์และความต้องการสะท้อนถึงแหล่งท่องเที่ยวของบ้านเชียง

Downloads

Download data is not yet available.

Author Biography

ประสิทธิ์ พวงบุตร, 098-2357017

อาจารย์ประจำสาขาวิชาการออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ คณะศิลปกรรมศาสตร์และวัฒนธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-31

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research Articles)