An analysis of complex sentence structures containing noun clauses in Thai grammar textbooks

ผู้แต่ง

  • Nuengruethai Chavanalikikorn faculty of Education, Phranakorn Si Ayutthaya Rajabhat University

คำสำคัญ:

หนังสือหลักภาษาไทย, ประโยคความซ้อน, นามานุประโยค

บทคัดย่อ

บทความวิจัยฉบับนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อวิเคราะห์โครงสร้างประโยคความซ้อนแบบนามานุประโยคที่ปรากฏในตัวอย่างประโยคความซ้อนแบบนามานุประโยคของหนังสือหลักภาษาไทย จำนวน 17 เล่ม ผู้วิจัยจะประยุกต์ใช้แนวคิดเรื่องประโยคความซ้อนแบบนามานุประโยคของพระยาอุปกิตศิลปสาร (2548)               ในการวิเคราะห์ประโยค

          ผลการศึกษาพบว่า  โครงสร้างประโยคความซ้อนแบบนามานุประโยคที่พบในตัวอย่างของ       หนังสือหลักภาษาไทย มีจำนวนทั้งหมด 100 ประโยค  แบ่งได้เป็น 7 รูปแบบ ได้แก่ 1. แบบบทประธาน + บทกริยา + บทกรรมเป็นประโยคย่อย พบจำนวน 44 ประโยค คิดเป็นร้อยละ 44  2. แบบบทประธานเป็นประโยคย่อย + บทกริยา + (บทกรรม) พบจำนวน 15 ประโยค คิดเป็นร้อยละ 15  3.  แบบบทประธานเป็นประโยคย่อย + บทกริยา (วิกตรรถกริยา) + บทขยาย พบจำนวน 15 ประโยค คิดเป็นร้อยละ 15  4. แบบบทประธาน +   บทกริยา (วิกตรรถกริยา) + บทขยายเป็นประโยคย่อย พบจำนวน 12 ประโยค คิดเป็นร้อยละ 12   5. แบบบทประธาน +   บทขยายประธานเป็นประโยคย่อย + บทกริยา  พบจำนวน 11 ประโยค คิดเป็นร้อยละ 11  6. แบบบทประธาน +     บทกริยา + บทกรรม + บทกรรมเป็นประโยคย่อย พบจำนวน 2 ประโยค คิดเป็นร้อยละ 2  7.  แบบบทประธาน + บทกริยา + บทกรรม + บทขยายกรรมเป็นประโยคย่อย  พบจำนวน 1 ประโยค คิดเป็นร้อยละ 1 

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-11-26

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research Articles)