รูปแบบการส่งเสริมการค้าชายแดนระหว่างประเทศไทยและกัมพูชาบริเวณช่องสะงำจังหวัดศรีสะเกษ

ผู้แต่ง

  • Bundit Permboon
  • Jittrakorn Po-ngam
  • Kitirat Sihaban

คำสำคัญ:

การส่งเสริมการค้าชายแดน, การค้าระหว่างประเทศ, ช่องสะงำ จังหวัดศรีสะเกษ

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการส่งเสริมการค้าชายแดนระหว่างประเทศไทยและกัมพูชาบริเวณช่องสะงำจังหวัดศรีสะเกษ กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการศึกษาคือผู้ที่เกี่ยวข้องกับการค้าชายแดนบริเวณช่องสะงำ จำนวน 60 คน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถาม แบบบันทึกการสนทนากลุ่มและแบบประเมิน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการวิเคราะห์เนื้อหาผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการส่งเสริมการค้าชายแดนระหว่างประเทศไทยและกัมพูชาบริเวณช่องสะงำ จังหวัดศรีสะเกษ มี 4 องค์ประกอบ ได้แก่ หลักการ วัตถุประสงค์ การดำเนินการและเงื่อนไขความสำเร็จ ดังนี้ 1) หลักการ คือ การดำเนินการแบบมีส่วนร่วมของภาครัฐและเอกชนและผู้ประกอบการ ในการส่งเสริมการค้าชายแดนระหว่างประเทศไทยและกัมพูชาบริเวณช่องสะงำ ในด้านส่งเสริมความสามารถ และการอำนวยความสะดวกผู้ประกอบการ การพัฒนาตลาดการค้าชายแดน และการพัฒนาศักยภาพการค้าชายแดน 2) วัตถุประสงค์ เพื่อการส่งเสริมการค้าชายแดนด้านการส่งเสริมความสามารถและการอำนวยความสะดวกผู้ประกอบการ การพัฒนาตลาดการค้าชายแดน และการพัฒนาศักยภาพการค้าชายแดน 3) การดำเนินการ ประกอบด้วย 3.1) การส่งเสริมความสามารถของผู้ประกอบการ โดยการพัฒนาความรู้ การบริหารจัดการ การพัฒนาศักยภาพการค้าและบริการ การจัดทำบัญชี การทำกำไรและการขยายกิจการ การพึ่งตนเอง การลดความเสี่ยงและการประกันภัย การพัฒนาศักยภาพและแรงจูงใจบุคลากร การจัดหาเงินทุน การส่งเสริมการตลาด และการสร้างเครือข่ายความร่วมมือ 3.2) การอำนวยความสะดวกแก่ผู้ประกอบการ โดยการอำนวยความสะดวกทางธุรกิจ การพัฒนากฎหมายให้สะดวกต่อธุรกิจ การเตรียมพร้อมด้านกฎหมาย การพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐาน คมนาคมและโลจิสติกส์ การลดขั้นตอนการผ่านแดน การรักษาความปลอดภัย และการประสานความร่วมมือของสองประเทศ 3.3) การพัฒนาตลาดการค้าชายแดน โดยการส่งเสริมการคมนาคมและการจราจร การรักษาความสะอาด การรักษาความปลอดภัย การส่งเสริมภูมิทัศน์ การประชาสัมพันธ์ และการส่งเสริมสิ่งอำนวยความสะดวก 3.4) การพัฒนาศักยภาพการค้าชายแดน โดยการส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศ การพัฒนาการค้าโดยหน่วยงานรัฐบาล การพัฒนาด้านการค้าสู่ระดับสากล การกระตุ้นการลงทุนการค้าชายแดน และการส่งเสริมการเข้าไปลงทุนในประเทศกัมพูชา และ 4) เงื่อนไขความสำเร็จ ได้แก่ ผู้ประกอบการต้องให้ความร่วมมือในการปฏิบัติตามรูปแบบอย่างเต็มความสามารถ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีความจริงจังในการส่งเสริมการค้าชายแดนและประสานความร่วมมือระหว่างกัน และภาครัฐต้องให้การสนับสนุนทั้งในด้านนโยบาย งบประมาณ บุคลากร และโครงสร้างพื้นฐาน

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-12-25

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research Articles)