ปัญหาและอุปสรรคเกี่ยวกับความรับผิดทางละเมิดของของพนักงานรัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • เจษฎาภรณ์ เชื้อแก้ว

คำสำคัญ:

พนักงานรัฐวิสาหกิจ, กฎหมาย, การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย

บทคัดย่อ

วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประวัติ วิวัฒนาการ ความเป็นมา แนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับความรับผิดทางละเมิดของพนักงานบริษัทการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย จำกัด (มหาชน) และมาตรการทางกฎหมายที่บัญญัติเกี่ยวกับความรับผิดทางละเมิดของพนักงานบริษัทการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย จำกัด (มหาชน) ตามกฎหมายของกฎหมายของประเทศไทย และกฎหมายต่างประเทศ เพื่อนำไปสู่การวิเคราะห์ปัญหาและเสนอแนะแนวทางในการแก้ไขปัญหาและอุปสรรคเกี่ยวกับความรับผิดทางละเมิดของพนักงานบริษัทการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย จำกัด (มหาชน) ให้มีประสิทธิภาพและเป็นธรรมมากยิ่งขึ้น   ผลการศึกษาพบว่า

  1. กระบวนการการแปลงสภาพรัฐวิสาหกิจตามพระราชบัญญัติทุนรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2542 เป็นกระบวนการที่เปลี่ยนสภาพรัฐวิสาหกิจจากรูปแบบรัฐวิสาหกิจที่เป็นองค์กรของรัฐบาลมาเป็นรัฐวิสาหกิจในรูปแบบบริษัทจำกัดหรือบริษัทจำกัด (มหาชน) แล้วแต่กรณีทั้งนี้ ตามความเหมาะสมของรัฐวิสาหกิจแต่ละแห่ง
  2. สืบเนื่องการแปลงสภาพบริษัทการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย จำกัด (มหาชน) ซึ่งมีฐานะเป็นรัฐวิสาหกิจตามพระราชบัญญัติจัดตั้งไปสู่รูปแบบการบริหารงานแบบเอกชนโดยจัดตั้งตามพระราชบัญญัติบริษัทมหาชนจำกัด พ.ศ. 2535 มีผลทำให้บริษัทการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย จำกัด (มหาชน) ไม่อยู่ในความหมาย “หน่วยงานของรัฐ” ตามพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 ตามข้อหารือของคณะกรรมการกฤษฎีกาและทำให้ความรับผิดทางแพ่งของพนักงานบริษัทการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย จำกัด (มหาชน) ต้องเปลี่ยนแปลงไปจากต้องรับผิดในการกระทำทางแพ่ง เมื่อได้กระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงมาเป็นต้องรับผิดทางแพ่ง เมื่อได้กระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อธรรมดาตามหลักประมวลกฎหมายแพ่งพาณิชย์
  3. มีข้อเสนอแนะว่าเห็นควร (1) มีการปรับปรุงข้อบังคับของบริษัทการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย จำกัด (มหาชน) โดยนำหลักเกณฑ์เรื่องความรับผิดในกระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง รวมทั้งความรับผิดามสัดส่วนมาใช้บังคับกับพนักงานตามหลักการพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของ เจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 ให้เกิดความชัดเจน และ (2) บริษัทการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย จำกัด (มหาชน) มีฐานะเป็นรัฐวิสาหกิจหนึ่งที่รัฐเป็นผู้ถือหุ้นและมีลักษณะการดำเนินงานเป็นการบริการสาธารณะ ฐานะของพนักงานจึงเป็นพนักงานรัฐวิสาหกิจและควรได้รับความคุ้มครองในการปฏิบัติหน้าที่เช่นเดียวกับพนักงานรัฐวิสาหกิจอื่นด้วยความเสมอภาคกันภายใต้หลักเกณฑ์พระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-07-07

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research Articles)