รูปแบบการมีส่วนร่วมทางการเมืองระดับท้องถิ่นของภาคประชาชนในเขตพื้นที่ 17 จังหวัดภาคเหนือ

ผู้แต่ง

  • โชติ บดีรัฐ

คำสำคัญ:

การมีส่วนร่วมทางการเมืองระดับท้องถิ่น, เขตพื้นที่ 17 จังหวัดภาคเหนือ

บทคัดย่อ

งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อรูปแบบการมีส่วนร่วมทางการเมืองระดับท้องถิ่น 2) เพื่อศึกษาปัญหาการมีส่วนร่วมทางการเมืองระดับท้องถิ่นของประชาชนในเขตพื้นที่ 17 จังหวัดภาคเหนือ และ 3) เพื่อนำเสนอแนวทางแก้ไขปัญหาการมีส่วนร่วมทางการเมืองระดับท้องถิ่นของประชาชนในเขตพื้นที่ 17 จังหวัดภาคเหนือ โดยเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 1,024 คน เครื่องมือที่ใช้สำหรับการเก็บรวบรวมข้อมูลได้แก่ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา นำมาแจกแจงความถี่ หาค่าร้อยละ และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า

  1. การสำรวจความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อรูปแบบการมีส่วนร่วมทางการเมืองระดับท้องถิ่น ทั้งหมด 10 ด้าน พบว่า ด้านที่กลุ่มตัวอย่างให้ความสำคัญเป็นอันดับต้นๆ คือ ด้านการมีส่วนร่วมลงคะแนนเลือกตั้งผู้แทนระดับท้องถิ่น รองลงมาคือ ด้านการมีส่วนร่วมในการพัฒนาเปลี่ยนแปลงแผนการปฏิบัติงานให้สอดคล้องกับเหตุการณ์และความจำเป็น ด้านแรงจูงใจในการเลือกบุคคลเป็นผู้แทนระดับท้องถิ่น ด้านความเชื่อมั่นในผู้แทนท้องถิ่นที่เลือกเข้ามาในสภาฯ ว่าสามารถแก้ไขปัญหา และนำพาให้ท้องถิ่นเจริญได้ ด้านการติดตามข้อมูลข่าวสารการเมืองระดับท้องถิ่น ด้านการมีส่วนร่วมการจัดทำแผนพัฒนา 3 ปี ของท้องถิ่น ด้านการมีส่วนร่วมฟังประชาคม/ประชาวิจารณ์ เกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาในระดับท้องถิ่น ด้านการมีส่วนร่วมการติดตามตรวจสอบโครงการ / การดำเนินการ / งบประมาณตามแผนของท้องถิ่น ด้านการมีส่วนร่วมฟังการประชุมสภาท้องถิ่น และด้านการมีส่วนร่วมตรวจสอบแผนพัฒนา 3 ปี หลังสภาท้องถิ่นมีการอนุมัติ
  2. ปัญหาการมีส่วนร่วมทางการเมืองระดับท้องถิ่นของภาคประชาชน พบว่า ปัญหาในเรื่องของกลุ่มอิทธิพลในพื้นที่ ปัญหาความโปร่งใส ปัญหาระบบอุปถัมภ์ การทุจริตคอร์รัปชั่น รองลงมาคือ ปัญหาด้านการให้ข้อมูลข่าวสาร การประชาสัมพันธ์ในเรื่องของความพร้อมการเลือกตั้ง การตรวจสอบรายชื่อ สถานที่ จุดบริการประชาชนไม่ครอบคลุมในพื้นที่ และปัญหานักการเมืองท้องถิ่นบางแห่งยังขาดคุณธรรมจริยธรรมทางการเมือง ไม่มีความเสียสละต่อประโยชน์ส่วนรวม ยังเห็นแก่ประโยชน์ส่วนตนและพวกพ้องเป็นสำคัญ
  3. แนวทางแก้ไขปัญหาการมีส่วนร่วมทางการเมืองระดับท้องถิ่นของภาคประชาชน พบว่า ควรมีการส่งเสริมให้ประชาชนเข้ามีส่วนร่วมในทุกกิจกรรมทางการเมืองระดับท้องถิ่นบนพื้นฐานของหลักธรรมาภิบาล ทั้งนี้เพื่อป้องกันการทุจริตคอร์รัปชั่น ฯลฯ รองลงมาคือ ควรมีการปลูกฝังให้ประชาชนเกิดการตระหนักความเป็นประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม โดยเฉพาะการออกไปใช้สิทธิเลือกตั้งที่เฟ้นหาคนดี คนเก่ง มีคุณธรรมจริยธรรม ทำงานเสียสละเพื่อสังคม ควรมีการประชาสัมพันธ์เตรียมความพร้อมในการเลือกตั้ง มีจุดให้บริการประชาชน การตรวจสอบรายชื่อที่ชัดเจน และนักการเมืองท้องถิ่นควรมีจิตวิญญาณของความเป็นผู้นำที่จะเสียสละเพื่อส่วนรวมและประเทศชาติอย่างแท้จริง

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-07-07

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research Articles)