วรรณกรรมเพลงพื้นบ้านกันตรึม: กรณีศึกษาการเปลี่ยนแปลงที่สัมพันธ์กับสังคมและวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ไทยเขมรตามแนวบริเวณชายแดนไทย-กัมพูชา

ผู้แต่ง

  • คนึงนิตย์ ไสยโสภณ
  • ประทีป แขรัมย์

คำสำคัญ:

วรรณกรรมเพลงพื้นบ้านกันตรึม, การเปลี่ยนแปลง, สังคมและวัฒนธรรม, กลุ่มชาติพันธุ์ไทยเขมร

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงคุณภาพครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพวรรณกรรมของเพลงพื้นบ้านกันตรึม และ 2) เพื่อศึกษาสภาพการณ์ทางสังคมวัฒนธรรมที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงเพลงพื้นบ้านกันตรึมเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการศึกษาเอกสาร และการศึกษาภาคสนาม วิเคราะห์ข้อมูลตามหลักการทางคติชนวิทยา ผลการวิจัยพบว่า

  1. วรรณกรรมเพลงพื้นบ้านกันตรึมได้รับอิทธิพลมาจากกัมพูชานำมาใช้เล่นประกอบพิธีกรรมโจลมะม็วดและใช้เล่นมาเพื่อความบันเทิงมีการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ จากกันตรึมโบราณเป็นกันตรึมประยุกต์หรือกันตรึมร็อค โดยผสมผสานการใช้ภาษาถิ่นไทยเขมรกับภาษาถิ่นไทยอื่น ภาษาไทยมาตรฐานและภาษาต่างประเทศเข้าด้วยกัน รูปแบบฉันทลักษณ์ มีการใช้กลอนแบบเพลงลูกทุ่ง หมอลำและสตริง เนื้อหาสะท้อนวิถีชีวิต สังคมวัฒนธรรมและเทคโนโลยีที่นิยมตามยุคสมัย ทำนองเพลงผสมผสานทำนองลูกทุ่ง หมอลำและสตริง เครื่องดนตรี มีการผสมผสานเครื่องดนตรีสากลกับเครื่องดนตรีพื้นบ้านโดยยังคงใช้ซอกันตรึมเป็นหลัก ผู้เล่นมีนักดนตรีนักร้องและนักเต้น แต่งกายแบบพื้นบ้านประเพณีนิยม ชุดสากลชุดราตรีสั้นยาวคล้ายนักร้องลูกทุ่ง ส่วนนักเต้นแต่งตัวแบบแดนเซอร์ของวงดนตรีลูกทุ่งหรือหมอลำซิ่งเวทีเป็นโครงเหล็กสำเร็จรูปสามารถถอดประกอบได้
  2. ปัจจัยทางสังคมและวัฒนธรรมที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงของวรรณกรรมเพลงพื้นบ้านกันตรึมคือการปฏิสัมพันธ์ข้ามสังคม การเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยีและการสื่อสารการไหลบ่าทางวัฒนธรรม และการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจซึ่งผลที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงสามารถเข้าถึงผู้ชมได้หลากหลายระดับ ช่วยเพิ่มรายได้ให้กับศิลปินและกลุ่มนักธุรกิจค่ายเพลงทำให้เกิดการรวมกลุ่มทางสังคมของเหล่าศิลปินและนักธุรกิจค่ายเพลงเพื่อช่วยเหลือดูแลกัน และที่สำคัญทำให้วรรณกรรมเพลงพื้นบ้านกันตรึมได้รับการอนุรักษ์ สืบสาน ฟื้นฟู และพัฒนาให้เหมาะสมกับยุคสมัย อันจะส่งผลให้เกิดความคงอยู่ได้อย่างยั่งยืนสืบไป

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-06-22

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research Articles)