รูปแบบการขัดเกลาทางสังคมเพื่อพัฒนาจิตพฤติกรรมเด็กและเยาวชนในจังหวัดชัยภูมิ

ผู้แต่ง

  • จินตกานด์ สุธรรมดี
  • ฉัตรณรงค์ศักดิ์ สุธรรมดี
  • เสกสรรค์ สนวา

คำสำคัญ:

การขัดเกลาทางสังคม, การพัฒนาจิตพฤติกรรม, เด็กและเยาวชน

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัญหาพฤติกรรมเด็กและเยาวชน และนำเสนอรูปแบบการพัฒนาจิตพฤติกรรมเด็กและเยาวชนในจังหวัดชัยภูมิ โดยใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพ สุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เพื่อสัมภาษณ์เชิงลึกตัวแทนองค์กรชุมชน องค์กรศาสนา องค์กรการศึกษา และเด็กและเยาวชนที่อาศัยในพื้นที่จังหวัดชัยภูมิ รวมจำนวน 9 คนโดยมี เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ทั้งชนิดมีโครงสร้างและไม่มีโครงสร้าง และแบบบันทึกการสนทนากลุ่ม ผลการวิจัย พบว่า

  1. 1. สภาพปัญหาเด็กและเยาวชนในจังหวัดชัยภูมิที่พบมากที่สุดคือ ปัญหาการใช้ยาเสพติดโดยมีการใช้สารเสพติดตั้งแต่ประเภทที่ถูกกฎหมาย เช่น เหล้า บุหรี่ จนกระทั่งประเภทที่ผิดกฎหมาย เช่น สารระเหย และยาบ้า เป็นต้น ขณะที่ปัญหาด้านการเรียน ความยากจนเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ครอบครัวไม่สามารถส่งลูกเรียนได้ ส่วนพฤติกรรมการใช้เวลาว่างของเด็กและเยาวชนคือ การเล่นดนตรี ร้องเพลง การออกกำลังกาย และสังสรรค์กับเพื่อนๆ
  2. 2. รูปแบบการพัฒนาพฤติกรรมเด็กและเยาวชนในจังหวัดชัยภูมิจะดำเนินงานตามหลัก “เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา”ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวโดยมี ขั้นตอนการดำเนินงานประกอบด้วยขั้นตอนหลักๆ 6 ขั้นตอน ได้แก่ 1) การสร้างความเข้าใจ สร้างแนวคิดแนวทางการดำเนินชีวิต และการสร้างค่านิยมที่พึงประสงค์ 2) การวางแผน กำหนดทิศทางในการทำงานโดยเด็กและเยาวชนในจังหวัดชัยภูมิโดยเน้นความร่วมมือ 3) การประชาสัมพันธ์ แจ้งให้ผู้ที่เกี่ยวข้องทราบอย่างทั่วถึง 4) การดำเนินงาน ได้แก่ การให้ความรู้ในการป้องกันโรคต่างๆ เป็นต้น 5) การประเมินผล เป็นการประเมินผลการดำเนินงานโดยใช้กระบวนการมีส่วนร่วมของผู้ที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ผู้ดำเนินงานเด็กและเยาวชนในจังหวัดชัยภูมิ รวมถึงบุคคลทั่วไป และ 6) การปรับปรุง/พัฒนาเมื่อประเมินเสร็จสิ้นให้มีการปรับปรุงในข้อบกพร่องที่เกิดจากการสะท้อนของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เพื่อนำไปสู่ขั้นตอนการสร้างความเข้าใจอีกครั้ง

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-06-20

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research Articles)